เทคนิคการระบายสีน้ำ
สีน้ำ (Water Color) มีกรรมวิธีในการสร้างสรรค์ผลงานหลายวิธี
แต่ในที่นี้ผู้เขียนจะขอกล่าวถึงเฉพาะเทคนิคที่นิยม
ใช้ในการเรียนการสอนกันในโรงเรียนเท่านั้น ดังนี้ี้
1. การระบายแบบเปียกบนแห้ง(Wet into Dry)
เป็นเทคนิคการระบายสีน้ำใน
สภาพที่สีผสมน้ำให้เหลวเปียกชุ่มนำไประบายลงในกระดาษที่แห้งคือ
ไม่ต้องระบายน้ำให้กระดาษเปียกเสียก่อน
หากระบายต่อเนื่องกันจะทำให้เกิดสภาพสีเรียบ
เทคนิคนี้เหมาะสำหรับการระบายรูปทรงเหลี่ยมทั้งหลาย
หรือวัตถุสิ่งของที่มีลักษณะพื้นผิวเรียบ เช่น พื้น หรือผนัง อาคารสิ่งก่อสร้าง เป็นต้น
2. การระบายแบบแห้งบนแห้ง(Dry on Dry)
เป็นเทคนิคการระบายสีน้ำในสภาพสีที่ข้นหนืดผสมน้ำน้อย
ลงบนกระดาษที่แห้งไม่เปียกน้ำ เทคนิควิธีการนี้เหมาะสำหรับการระบายสีที่ต้องการแสดง
ให้เห็นถึงลักษณะผิวของวัตถุที่หยาบ ขรุขระ หรือแข็งกระด้าง
เช่น ผิวของเปลือกไม้ ผิวของดิน หิน ผิงผนังต่างๆ
หรือนำไปใช้ในการเก็บรายละเอียกของภาพในขั้นตอนสุดท้าย
และยังแสดงถึงความรวดเร็วชำนาญในการใช้แปรงพู่กันของผู้วาดอีกด้วย
3. การระบายแบบเปียกบนเปียก (Wet into Wet)
เป็นเทคนิคการระบายสีน้ำที่เหลวเปียกชุ่มลงบนกระดาษที่ลงน้ำให้เปียกชุ่มเตรียมไว้
สภาพสีที่ได้จะไหลซึมรุกรานเข้าหากัน ให้ความรู้สึกว่าสีเปียกชุ่มน้ำอยู่ตลอดเวลา
เทคนิคนี้เหมาะสำหรับการระบายภาพของท้องฟ้า ผืืนน้ำ
ภูเขาและแนวต้นไม้หรือป่าในระยะไกล
4. การระบายแบบใช้เทคนิคต่างๆ (Texture Surface)เป็นเทคนิคการระบายสีน้ำที่มีการเตรียมการพื้นผิวขอ
กระดาษด้วยวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ ก่อนการระบายสี
และหลังการะบายสี เช่น การทากาว การหยดเทียนไข
เพื่อสร้างร่องรอยบนกระดาษก่อนระบายสีน้ำทับลงไป หรือการขูด ขีด
ด้วยของปลายแหลมหรือมีคม การโรยเกลือลงบนสีในขณะที่สียังไม่แห้ง การนำแอลกอฮอล์มาระบายลงบนสีที่ยังไม่แห้ง เป็นต้น
การลงสีน้ำ ของดอกบัว ที่สวยงาม
ภาพ ที่นำมาฝึกนี้มีค่าของน้ำหนักที่หลากหลาย และค่อนข้างชัดเจนทำให้สามารถแยกแสงและเงาได้ง่ายขึ้น แต่อาจจะงงๆกับกลีบดอกที่เยอะ ยังไงลองดูนะครับ
เริ่ม ร่างภาพ โดยการตั้งแกนแนวดิ่งขึ้นมาก่อนเพราะดอกที่เราจะวาดนี้เอียงเล็กน้อย หากไม่ตั้งแกนขึ้นมาเราอาจจะกะองศามากหรือน้อยไม่ถูก แกนต้องตรงนะครับ ถ้าเขียนแกนหลักไม่ตรงจะไม่ช่วยอะไรเลย
ถัดมามองภาพรวมของดอกทั้งหมดเป็นวงรี และตามด้วยกลีบสองข้างที่ยื่นออกมา และก้านของดอก(สีฟ้า)
แบ่งช่วงดอกด้านใน(สีชมพู)
แบ่งครึ่ง(สีน้ำเงิน)
หลังจากขั้นตอนด้านบนจึงค่อยเก็บรายละเอียดด้านในของดอกทั้งหมด
ทำ ไปพร้อมๆกัน ไม่เขียนทีละกลีบ เพราะมีโอกาสพลาดมากและต้องลบบ่อยมาก วิธีร่างภาพแบบนี้เป็นเพียงแค่หลักในมุมมองของผมเท่านั้น สามารถพลิกแพลงได้หลากหลายวิธี อยู่ที่การฝึกและทดลองทำจนเกิดเทคนิคเฉพาะของแต่ละคน
เริ่มลงสีครับ ภาพนี้จะใช้วิธีเปียกบนแห้ง คือรอให้สีที่ลงแต่ละชั้นแห้งก่อน แล้วจึงผสมสีให้เข้มขึ้นลงทับชั้นต่อไปเรื่อยๆ
ใช้สีแดง ผสมน้ำให้อ่อนเป็นสีชั้นแรก
ผสมสีเพิ่มเพื่อลงในชั้นต่อไป ตรงนี้เป็นส่วนสำคัญ กะปริมาณสีและน้ำให้ดี
เพิ่มความเข้มของสี ลงทับชั้นต่อไป ข้อควรระวัง อย่าลงสีในลักษณะกดและย้ำภู่กัน ถูไปมา จะทำให้กระดาษช้ำจนงานเสีย
สีเขียวที่ก้านผมผสม เหลืองไปนิดหน่อย และบวกแดงอีกนิด
เพิ่ม ความเข้มชั้นต่อไป ระหว่างนี้อาจจะมีบางส่วนเป็นรอยด่างบ้าง ถ้าเกิดขึ้นมาแล้ว อย่าไปใส่ใจมันมากควบคุมภาพรวมของงานสำคัญกว่า ส่วนใหญ่มักไม่ยอม เห็นแล้วรู้สึกขัดใจ เลยเอาภู่กันไปเกลี่ยไปถู ยิ่งเละกว่าเดิมนะครับ
เพิ่มน้ำหนักเขียวเข้มในงานโดยใช้เขียวผสมแดง เป็นส่วนของเงา
เก็บ งานรอบสุดท้ายครับ ซึ่งแต่ละคนอาจแบ่งชั้นของน้ำหนักมากกว่าหรือน้อยกว่านี้ก็ได้ไม่มีผิดและ ถูก อยู่ที่ว่าเราสามารถสื่อออกมาให้คนอื่นรับรู้ได้ว่าเรากำลังวาดอะไร
ภาพสุดท้ายเป็นอีกรูปหนึ่งที่ผมลองเขียนแบบเก็บรายละเอียดดู ให้เห็นว่าเขียนแบบอื่นๆเป็นอย่างไร
การ วาดภาพ ขอให้มีความกล้า โดยเฉพาะสีน้ำ เทคนิคที่เราเห็นตามหนังสือต่างๆหรือหน้าเวปไซต์รวมถึงที่อ่านอยู่นี้ เป็นเพียงแนวทางเท่านั้น ทุกๆวิธีการเกิดจากการทดลอง ฝึกฝน ลองผิดลองถูก ผิดเป็นครู เป็นประสบการณ์ให้เราแก้ปัญหาหรือพลิกแพลงได้ตลอด ซึ่งกว่าจะสำเร็จอาจต้องเขียนเป็นร้อยภาพ สิ่งใดผิดพลาดแล้วก็นำไปแก้ในรูปต่อไป
"อย่าให้ความกลัว ทำให้เราไม่กล้าทำอะไรเลย"
[Tips]สีน้ำแบบนุ้งเคีย
posted on 09 Jul 2012 20:22 by kyokazuu in other directory Cartoon, Knowledge, Idea
ไม่ได้คิดว่าจะมาทำฮาวทูอีกแต่ก็อยากเขียนอะไรแบบนี้ดูบ้างแฮะๆ เขียนอะไรที่เกี่ยวกับสีน้ำแล้วกัน เป็นอะไรที่คลุกคลีหมกมุ่นด้วยมากที่สุดแล้ว
เย้
วิธีลงสีน้ำมีเป็นล้าน เหมือนซีจี เหมือนสีอย่างอื่น ต่างกันไปตามความถนัดทั้งนั้น บางคนอาจจะมั่วขึ้นมาเอง(แบบเรา 555) บางคนเรียนมาก็จะมีหลักการแล้วก็มีเซนส์มากกว่าหน่อย (ไม่หน่อยอะ มากๆ แต่มากไปก็ยึดหลักการซะจนอยากปิดหูเวลาเขาสอนเหมือนกัน อะไรจะขนาดนั้น)
สรุปแล้ว เลยไม่ได้จะเขียนฮาวทูหรือสเต็ปสีน้ำ ขอข้ามเรื่องความรู้อย่างทัศนธาตุไปปป แต่เอาทริคเล็กทริคน้อยมาฝาก จากการไปส่องภาพคนอื่นมาแล้วพยายามลองทำตามบ้าง
สำหรับเบสิค เราแนะนำบลอกนี้ค่า สอนดีมากๆ http://ltanatosl.exteen.com/20100523/how-to
อุปกรณ์ที่เราใช้ ก็จะมี
สีแบบตลับ : มี24สี ทำงานนอกสถานที่สะดวก เก็บพู่กันได้ พกเหมือนกล่องดินสอ ของเรายี่ห้อ Winsor& Newton : Cotman ของดีหน่อยเพราะใช้เยอะ แนะนำของดีๆก็อีกหลายยี่ห้อ เช่นแวนโก๊ะ ซากุระ ถ้าเป็นแบบตลับนะคะ แต่ถ้าเป็นหลอดไม่รู้แฮะเพราะไม่เคยใช้ ...แต่ไม่ชอบ pentel
พู่กัน : เมื่อก่อนใช้หัวเดียว โดนว่าชุ่ยไม่เก็บงาน 5555555 ตอนนี้มีหลายหัว แนะนำให้มีหัวโตมากๆสักแท่งไว้ระบายสีพื้นหรือลงน้ำ แล้วก็เล็กหน่อยไว้ระบายละเอียด
มาสกิ้งฟลูอิท : มันคืออะไร เดี๋ยวเราไปดูกันค่ะ <3
สีหมึก : หรือจริงๆคือสีน้ำแบบเหลว (เพราะหมึกจริงๆไม่ละลายน้ำ) อันนี้ซื้อไว้6สี ไว้ลงแบบสดๆสะใจ
ปากกาตัดเส้นกับดินสอ
กระดาษสีน้ำ : จนแกลบ ตอนนี้ใช้มาสเตอร์อาร์ต รวยเมื่อไหร่จะถอยแวนโก๊ะมาอีก
แล้วก็สำคัญมาก ทิชชู่ค่ะ ไม่ชอบใช้ผ้าอย่างแรง เพราะเราซับงานด้วย ไม่ได้ซับแค่พู่กัน
คุมโทนยังไง รู้ได้ยังไงว่าสีไหนจะเข้ากับสีไหน ทำยังไงถึงจะลงแบบหวานๆฝันๆได้?
ไม่รู้จะเอาความรู้อะไรมาตอบ เพราะมั่วเอาหมดเลย อันนี้ขอเล่าถึงเพื่อนตอนม.6ก่อน นางชื่อเมย์ นางมาชวนดิฉันคุยเรื่องสีเมจิกยี่ห้อ มายคั*เล*ร์ ที่นางสะสมไว้ในปริมาณมหาศาล นางบอกว่า .....
พอเราถามว่า ยังไง .... นางก็อธิบายว่า
ฟังดูติงต๊อง 5555555 แต่เราก็เคยคิดแบบนั้นนะ
นั่นเป็นอะไรที่จุดประกายเราหลายอย่าง
สีแต่ละสี มีฟีลของมันเอง /ฟังดูยิ่งใหญ่มากแต่ก็ติงต๊องจริงๆ/ 2สีขึ้นไปที่เริ่มอยู่ด้วยกันก็ให้บรรยากาศแตกต่างกันไป นั่นคือธีมสีน้ำที่เราให้กับภาพ
ลองหลับตาแล้วก็นึกถึงนิยามที่เราให้กับสีต่างๆดู
เพราะต่างคนก็มองฟีลสีที่จะให้กับภาพไม่เหมือนกันค่า แหะ บางทีอาจจะออกมาเป็นธีมสีของตัวละคร หรือขนม หรือผลไม้ หรือเพชรพลอย อะไรก็ได้ทั้งนั้น ส่วนใหญ่ของเราจะออกมาแนวการแต่งตัวค่ะ ถึงจะอยู่บ้านนอกไม่ค่อยได้แต่งตัว แต่ก็ตามแฟชั่นอยู่ตลอดเลยนะ ชอบชุดของผู้หญิงมากๆ
ต่อไป
1.ให้วาดวงกลมขึ้นมาในกระดาษสีน้ำ หลายๆวงก็ได้
2.ผสมสี จะลงแบบเปียกบนแห้งหรือ เปียกบนเปียก ก็ได้ในวงกลมนั้น จะสีเดียวหรือหลายๆสีก็ได้
3.ทำไปให้สีต่างกันในหลายวง
4.ไม่ต้องคิดอะไร ทำไปเรื่อยๆ ให้มันออกมาเรื่อยๆ ทั้งเบาทั้งหนัก (ฟังดูเหมือนเข้าห้องน้ำยังไงไม่รู้)
หลังจากนั้น เราได้แพเล็ตสีจำนวนมา่กแล้ว ตามแต่ความบ้าพลังของแต่ละคน อะฮิๆเราก็ลองมองไปในวง สีต่างๆที่เราเห็น เรารู้สึกถึงอะไรบ้าง เขียนไปเลยค่ะ หลายๆอย่างเลย
เสร็จแล้ว สีที่เราให้ฟีลเอง
ไม่ต้องสนใจว่าคนอื่นมองมันยังไง เราสร้างสารรค์มันไปเรื่อยๆ
แค่ใช้มันไปตามความรู้สึกที่อยากจะสร้างมันขึ้นมา จากสีเป็นภาพ หลับตาลง ร้องเพลงเบาๆ
ให้ทุกอย่างออกมาจากจินตนาการของคุณ สีน้ำจะไม่ยากเลยและทำแล้วมีความสุขด้วยค่ะ
เทคนิคหลายอย่างที่เราใช้จากการมองภาพของคนอื่นมารวมๆกัน
1. เกลือ เบสิคมาก ถ้าถามว่าลงยังไงก็..... ลงสีน้ำไปก่อน เปียกๆนะ
โปรยเกลือลงไป เกลือเม็ดเล็กดูดน้ำเป็นจุด เม็ดใหญ่รัศมีก็ใหญ่ตามค่ะ
เสร็จแล้วเป็นแบบนี้ : D
เป็นการสร้างเท็กเจอร์อย่างนึงให้ภาพจ้ะ
*ห้าม* เด็ดขาดเลย ห้ามปัดเกลือออกตอนยังเปียก ไม่งั้นคุณจะเสียใจ จริงๆ ....มันป่วงมาก
2.เป่า อาศัยอุปกรณ์คือหลอดกาแฟ ให้เป่าง่ายขึ้น แต่ถ้าไม่มี ก็เป่าปากเปล่าได้เลย เหนื่อยนิดนึง (เราปากเปล่า55555)
วิธีเป่าก็ลงสีเปียกไปกองนึงก่อน
แล้วก็เป่าไปด้วย ก่อนจะแห้งก็ลูบสีอื่นลงไปด้วย เป่าต่อไปเลย
วิธีเป่าจะเบลนด์สีให้เราเองโดยอัตโนมัติ
เจ๋งมาก ลงสีใหม่เข้าไป เป่าแล้วสีจะผสมกันเอง แต่ต้องระวังเรื่องสีเน่าด้วย บางสีผสมกันดูแล้วก็ยาขมมากๆ แผ่รัศมีออกมาได้ยาวไกลทีเดียว
เสร็จแล้วค่ะ
3.มาสกิ้งฟลูอิท คือวิธีทำรูปนี้
....มองมาจากงานฝรั่ง ไม่รู้ว่าเขาทำได้ยังไงเรื่องเว้นเป๊ะๆ หลายทีแล้วเลยลองทำเอง มาเริ่มกันเลย
ที่ทำให้ดูเป็นฉากเมืองด้านหลังนะคะ
ลงน้ำก่อน
หยดสีหมึกกับสีน้ำลงไป รอแห้ง อย่าลืมนะ รอแห้ง
และ นี่คือมาสกิ้งฟลูอิท เป็นน้ำยางค่ะ ไม่ทำร้ายผิวกระดาษ
ไม่รู้คนอื่นใช้ยังไง เราใช้ไม้จิ้มฟันเกลี่ยค่ะ วาดลายที่ชอบ
ลงสีดำทับ ฮึบ!รอแห้ง
พอแห้งแล้ว อย่านานไปนัก เอานิ้วถูยางออกมา ดึงออกให้หมด
เย่ะ!
ใช้ลงเป็นลวดลายเสื้อผ้า ฝาผนัง หรืออะไรก็ได้ เป็นการเว้นขาวที่ไม่ทำลายงาน เพราะถ้าเว้นพลาดก็เป่าให้แห้งแล้วใช้นิ้วถูออกค่ะ
นึกออกก็มีอยู่เท่านี้ ส่วนตอนทำเป็นภาพออกมาก็หลับตาจิ้มมั่ว (อ๊าก)
ขอบคุณที่อ่านจนจบนะคะ รูปเยอะโหลดโหดมากแง
เลิฟยอลค่า
เทคนิคการระบายสีน้ำ
การสร้างสรรค์ภาพวาดจากสีน้ำ ควรเข้าใจคุณสมบัติของสีน้ำ และต้องสามารถควบคุมได้ การลงมือทดลองจะเห็นธรรมชาติ และความเป็นไปของมัน การฝึกฝนจะทำให้รู้จังหวะและควบคุมได้ เทคนิคพื้นฐานการระบายสีน้ำ 5 ประการนี้ จะทำให้ผู้เริ่มต้นรู้จักสีน้ำอย่างถ่องแท้และสามารถนำไปสร้างสรรค์ภาพวาดจากสีน้ำที่สมบูรณ์ ได้อย่างแน่นอน
1. การระบายแบบเปียกบนเปียก คือสีเปียก (สีผสมน้ำแล้ว) ระบายบนกระดาษเปียก (กระดาษที่ระบายน้ำหรือน้ำสีไว้แล้ว) วิธีการคือ ใช้พู่กันจุ่มสี (ค่อนข้างข้น) แตะแต้มบนกระดาษที่เปียกอยู่แล้วตามด้วยสีอื่น สีจะไหลซึม รุกรานเข้าหากันอย่างกลมกลืนและมีส่วนที่เกิดเป็นสีใหม่เพิ่มขึ้นมา ถ้าทำบนกระดาษเปียกชุ่ม สีจะรุกรานกันรวดเร็วและนุ่มนวล เทคนิคนี้นำไปใช้ระบายท้องฟ้า หรือน้ำทะเล ได้ถ้าทำบนกระดาษเปียก สีจะรุกรานไม่มากแต่ยังคงผสมผสานกลมกลืนกันดี เทคนิคนี้นำไปใช้ระบายเป็นพวกวัตถุรูปทรงทั่วไปได้ถ้าทำบนกระดาษหมาด สีจะผสมผสานกลมกลืนกันน้อย เห็นการแยกสัดส่วนชัดเจนกว่า เทคนิคนี้นำไปใช้ สร้างพื้นผิวแสดงความแตกต่าง ไม่เรียบ
2. การระบายแบบเปียกบนแห้ง
เป็นลักษณะการระบายเรียบโดยใช้สี (ผสมน้ำแล้ว) ระบายบนกระดาษแห้งมี 3 รูปแบบดังนี้
2.1 ระบายเรียบสีเดียว โดยใช้พู่กันจุ่มสีระบายไปตามแนวนอนบนกระดาษที่เอียงเล็กน้อยให้น้ำสี
ไหลลงไปกองข้างล่างแล้วระบายต่อเนื่องกันลงไปจนจบ การระบายครั้งต่อไปให้ต่อที่ใต้คราบน้ำ
ที่ยังเปียกอยู่ ผลที่ได้คือสีจะใส เรียบสม่ำเสมอ ระวัง อย่านำพู่กันไปจุ่มน้ำ หรือเติมน้ำลงในสี
ระหว่างทำงานเพราะจะทำให้สีที่ได้ไม่เรียบเกิดเป็นขั้นได้
2.2 ระบายเรียบหลายสี ทำเหมือนกับระบายเรียบสีเดียวแต่เมื่อจบสีที่ 1 แล้วให้ระบายสีที่ 2 ต่อที่
ใต้คราบน้ำขณะที่เปียกอยู่ ผลที่ได้คือ สีต่างๆ จะมีการผสมผสานกลมกลืนกันอย่างต่อเนื่อง
หมายเหตุ ทั้งการ ระบายเรียบสีเดียว และ หลายสี เป็นพื้นฐานของงานสีน้ำที่นำไปใช้ระบาย
ให้เกิดภาพแล้วแต่ว่าจะให้เป็นสีเดียว หรือหลายสี เช่น ภาพคนใส่เสื้อผ้า ก็ต้องเป็นระบายเรียบ
หลายสี
2.3 ระบายเรียบอ่อนแก่ เป็นการระบายให้เกิดค่าน้ำหนักของสี จะเริ่มจากอ่อนไปหาแก่ หรือ จากแก่
ไปหาอ่อนก็ได้ ถ้าเริ่มจาก แก่ไปหาอ่อน ก็ผสมสีให้ข้นกว่าปกติ แล้วระบายเรียบได้ช่วงหนึ่งให้
ล้างพู่กันจนสะอาดแล้วจุ่มน้ำมาระบายใต้คราบน้ำเป็นระยะๆให้สีจางลงไปเรื่อยๆ ถ้าเริ่มจากอ่อน
ไปหาแก่ ให้ผสมสีเจือจางแล้วระบายเรียบไปช่วงหนึ่ง ก็เพิ่มสีให้มีความเข้มข้นขึ้น แล้วระบายต่อ
ใต้คราบน้ำลงมา เป็นระยะๆ ให้สีเข้มขึ้นการระบายเรียบอ่อนแก่ เป็นเทคนิคที่นำไปใช้ระบายให้
เกิด มิติ แสงเงา
3. การระบายแบบแห้งบนแห้ง
เป็นการระบายสีข้นๆบนกระดาษแห้งในลักษณะต่างๆเช่น แตะ แต้ม ขีด เขียน ลากเส้น อย่างรวดเร็ว ประกอบกับการใช้ส่วนต่างๆของพู่กันคือปลายบ้าง โคนบ้างเพื่อให้เกิดเป็นลักษณะต่างๆ เทคนิคนี้นำไปใช้เน้นเพื่อเพิ่มรายละเอียดของภาพ เช่น เมื่อเราทำภาพตัวบ้านเสร็จแล้วเราก็มาใส่ประตู หน้าต่าง ด้วยการใช้สีข้นๆ แตะ แต้ม ลงไปเราก็จะได้รายละเอียดของภาพแบบ DRY ON DRY
4. การระบายเคลือบ เป็นการระบายทับซ้ำสีที่แห้งสนิทแล้วด้วยสีเดิมที่เข้มกว่า โดยสีที่ระบายเคลือบนี้ควรต้องเป็นสีโปร่งแสง ผลที่ได้คือ ส่วนที่ระบายเคลือบจะเป็นพื้นและส่วนที่เว้นไว้จะเป็นรูป ซึ่งรูปกับพื้นนี้จะมีความขัดแย้งหรือตัดกันเสมอ คือถ้าพื้นเข้มรูปต้องอ่อน ถ้าพื้นอ่อนรูปต้องเข้ม เทคนิคการระบายเคลือบนี้นำไปใช้ สร้างรูปทรง ผลักระยะให้ลึกตื้น สร้างเงา ลดความจัดจ้านของสีบรรยากาศ
5. การระบายขอบคมชัดและเรือนราง
การระบายสีขอบคมชัด เป็น การระบายให้เกิดการตัดกัน แบ่งขอบเขตระหว่างรูปกับพื้นหรือพื้นกับรูปอย่างชัดเจน หรือให้เกิดเป็นเหลี่ยมเป็นสัน วิธีการ คือระบายเป็นขอบตามที่ต้องการแล้วปล่อยทิ้งไว้ ไม่ทำให้เกิดการกลมกลืน เช่นกรณีเขียนภาพทิวทัศน์ที่มีบ้านในสวน เราให้ส่วนที่เป็นหลังคาเว้นขาวไว้เพราะเป็นส่วนที่รับแสง ถัดจากหลังคาไปเป็นบรรยากาศก็ให้ใช้สีของบรรยากาศเพิ่มความเข้มระบายกดระยะลงไป เพื่อให้ตัวบ้านและบรรยากาศโดยรอบตัดกันเป็นขอบคมชัด แยกสัดส่วนกันเพื่อให้บ้านดูลอยเด่นขึ้นมา การระบายสีขอบเรือนราง คือ การเจือจางขอบเขตระหว่างพื้นกับรูปบางส่วนให้ดูกลมกลืนกัน วิธีการคือใช้น้ำมา ทำให้ตรงเส้นขอบให้เกิดการเจือจาง เทคนิคนี้ใช้ในกรณีที่ต้องการลดความขัดแย้งให้เกิดการกลมกลืน เช่นกรณีระบายภาพคลื่นในทะเล บางจุดของคลื่นจะมีน้ำทะเลตัดกับฟองอย่างชัดเจน และบางจุดที่ต่อเนื่องจะมีความกลมกลืนกัน เพราะฟองคลายตัวลงหรืออาจเป็นส่วนที่รับแสง ตรงส่วนนี้ให้เราSoft edge โดยใช้น้ำมาSoft เพื่อละลายเส้นขอบแสดงความกลมกลืนได้
เทคนิคทั้ง 5 นี้มีความสำคัญที่คนสีน้ำต้องมี เมื่อเข้าใจถึงวิธีการ และประโยชน์การนำไปใช้แล้วจง หมั่นฝึกฝนให้เกิดความชำนาญ เพราะไม่เพียงสำคัญกับผู้เริ่มต้นเท่านั้น ถึงวันที่เป็นศิลปินระดับโลกแล้วก็ยังคงต้องใช้เทคนิคทั้ง 5 นี้
อ้างอิง http://chotima34816.blogspot.com/
|