[x] ปิดหน้าต่างนี้
ยินดีต้อนรับคุณ บุคคลทั่วไป   
English Chinese (Simplified) Chinese (Traditional) French German Italian Japanese Korean Portuguese Russian Spanish Vietnamese Thai     
ค้นหา   
เมนูหลัก
ติดต่อสอบถาม
blog สมาชิก
สถิติผู้เขียน blog 10 อันดับ
wave
[ มือใหม่ ]
2
admin
[ มือใหม่ ]
2
orean
[ มือใหม่ ]
2
KAT
[ มือใหม่ ]
1
yuy
[ มือใหม่ ]
1
aTon
[ มือใหม่ ]
1
fang
[ มือใหม่ ]
1
film
[ มือใหม่ ]
1
mild
[ มือใหม่ ]
1
Donus
[ มือใหม่ ]
1
บทความ blog ล่าสุดโดย
เพลงคริสต์มาสtortae
การดูแลรักษาสุภาพ ให้แข็งแรงaTon
ประเพณีวันเข้าพรรษาmild
พบจุดที่หนาวที่สุดในโลกเเห่งใหม่ !!orean
พบจุดที่หนาวที่สุดในโลกเเห่งใหม่ !!orean
อาเซียนDonus
การวาดภาพสีนำ้lovepop-123456
อาเซียนmikekung02
ลดความอ้วนสูตรนางเอก 5 กิโลกรัมใน 1 สัปดาห์yuy
ปรากฏการณ์ธรรมชาติMin-Mintra
ไลน์ โรงเรียนศรัทธาฯ

ติดต่อ สอบถาม

poll

   คุณคิดว่าเวปนี้เป็นอย่างไร


  1. ดีมาก
  2. ดี
  3. ปานกลาง
  4. แย่
  5. แย่มาก

  

   เว็บบอร์ด >> >>
สิ่งที่คุณควรรู้เกี่ยวกับ การตรวจคอเลสเตอรอล  VIEW : 560    
โดย 1980

UID : ไม่มีข้อมูล
โพสแล้ว : 1
ตอบแล้ว :
เพศ :
ระดับ : 1
Exp : 20%
เข้าระบบ :
ออฟไลน์ :
IP : 125.25.191.xxx

 
เมื่อ : อังคาร ที่ 5 เดือน พฤษภาคม พ.ศ.2563 เวลา 14:46:23   

สิ่งที่คุณควรรู้เกี่ยวกับ การตรวจคอเลสเตอรอล
ทบทวนบทความโดย ทีม Hello คุณหมอ | Written by ปราโมทย์ วงศ์คำ
Published on มิถุนายน 27, 2018 at 7:22 pm
สิ่งที่คุณควรรู้เกี่ยวกับ การตรวจคอเลสเตอรอล
ระดับคอเลสเตอรอลสูง นำไปสู่โรคร้ายแรงหลายอย่าง และอาจไม่แสดงอาการอะไร ดังนั้น การตรวจคอเลสเตอรอล อย่างสม่ำเสมอ จึงเป็นเรื่องที่คุณควรให้ความสำคัญ หากอยากให้สุขภาพดี ลดความเสี่ยงในการเกิดโรคต่างๆ ควรเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ออกกำลังกาย พักผ่อนให้เพียงพอ และตรวจสุขภาพประจำปี เพื่อป้องกันและดูแลตัวเองให้ห่างไกลจากโรคที่มากับ คอเลสเตอรอลที่อาจเกิดขึ้นได้

การตรวจคอเลสเตอรอล คืออะไร
การตรวจคอเลสเตอรอลถูกนำมาใช้ เพื่อวัดคอเลสเตอรอลโดยรวม ไลโปโปรตีนความหนาแน่นสูง (HDL) ซึ่งเป็นโปรตีนดี ไลโปโปรตีนความหนาแน่นต่ำ (LDL) ซึ่งเป็นโปรตีนไม่ดี และระดับไตรกลีเซอไรด์ในเลือด

ร่างกายของคุณต้องการคอเลสเตอรอล เพื่อนำมาใช้งานอย่างเหมาะสม อย่างไรก็ตาม หากร่างกายของคุณได้รับคอเลสเตอรอลมากเกินไป คุณอาจต้องเผชิญกับปัญหาสุขภาพ เช่น

โรคหลอดเลือดสมอง
โรคหัวใจ
โรคหลอดเลือดแดงแข็ง ซึ่งรูปแบบหนึ่งของโรคหัวใจ ที่ทำให้เส้นเลือดถูกบีบให้เล็กลงและขัดขวางการไหลเวียนโลหิต
หัวใจวาย
โดยทั่วไปแล้วผู้ชายตั้งแต่วัย 35 ปีขึ้นไป และผู้หญิงตั้งแต่วัย 45 ปีขึ้นไป ควรเข้ารับการตรวจระดับคอเลสเตอรอลเป็นประจำ แต่ในบางกรณี ผู้ที่อายุน้อยกว่านั้นก็อาจต้องเข้ารับการตรวจคอเลสเตอรอลเช่นกัน การตรวจคอเลสเตอรอลในเลือดจะช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง โรคหลอดเลือดแดงส่วนปลายตีบ ภาวะหัวใจวาย เป็นต้น

เหตุผลอีกหนึ่งข้อที่คุณควรเข้ารับการตรวจระดับคอเลสเตอรอล ก็เพราะระดับคอเลสเตอรอลที่สูงจะไม่แสดงอาการใดๆ ออกมา คนส่วนใหญ่ที่มีระดับคอเลสเตอรอลในเลือดสูงจึงไม่ค่อยรู้ตัว จนทำให้คอเลสเตอรอลสูงเป็นเวลานานหรือเรื้อรัง ซึ่งอาจนำไปสู่อาการทางการแพทย์ขั้นรุนแรงอื่นๆการเข้ารับการตรวจระดับคอเลสเตอรอลเป็นประจำ จึงเป็นสิ่งที่คุณควรให้ความสำคัญ

เตรียมตัวสำหรับการตรวจคอเลสเตอรอล
ในบางกรณี คุณอาจถูกขอให้อดอาหารก่อนเข้ารับการตรวจระดับคอเลสเตอรอล คุณสามารถรับประทานอาหารก่อนการตรวจระดับ HDL และระดับคอเลสเตอรอลโดยรวมได้ แต่หากเป็นตรวจคอเลสเตอรอลเต็มรูปแบบ คุณควรดื่มแค่น้ำเปล่าและหลีกเลี่ยงการกินอาหารหรือดื่มเครื่องดื่มอื่นๆ ก่อนเข้ารับการตรวจอย่างน้อย 12 ชั่วโมง และในช่วง 48 ชั่วโมงก่อนเข้ารับการตรวจ ห้ามดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์โดยเด็ดขาด

ก่อนเข้ารับการตรวจคอเลสเตอรอลในเลือด คุณควรแจ้งให้แพทย์ทราบด้วย หากมีปัญหาสุขภาพ คนในครอบครัวมีปัญหาสุขภาพหัวใจ หรือหากกำลังกินยาหรืออาหารเสริมใดๆอยู่ นอกจากนี้แพทย์อาจขอให้คุณหยุดกินยาคุมกำเนิด ก่อนเข้ารับการตรวจระดับคอเลสเตอรอลในเลือด เพราะอาจทำให้คอเลสเตอรอลในเลือดเพิ่มขึ้นได้

ความหมายของตัวเลขที่ได้จากการตรวจคอเลสเตอรอล
หลังเข้ารับการตรวจคอเลสเตอรอลเต็มรูปแบบ จะได้ผลตรวจออกมาเป็นตัวเลข ซึ่งตัวเลขนี้ไม่ได้เป็นแค่ตัวเลขค่าคอเลสเตอรอลโดยรวม แต่ยังเป็นตัววัดระดับความแตกต่างระหว่างระดับ LDL และ HDL ซึ่งเป็น 2 ตัวบ่งชี้หลักของปัญหาโรคหัวใจที่ซ่อนอยู่ หัวข้อต่อไปนี้เป็นตัวเลขบอกค่าต่างๆ ได้แก่

ระดับคอเลสเตอรอลในเลือดโดยรวม

240 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร และมากกว่านั้น : ความเสี่ยงสูง
200-239 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร : เข้าข่ายความเสี่ยงสูง
ต่ำกว่า 200 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร : ระดับที่น่าพอใจ
ระดับคอเลสเตอรอล LDL

190 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร และมากกว่านั้น : ความเสี่ยงสูงมากสำหรับโรคหัวใจ (ควรได้รับการรักษาอย่างจริงจัง เช่น การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์ มื้ออาหาร)
160 – 189 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร : ความเสี่ยงสูง
130 – 159 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร : เข้าข่ายความเสี่ยงสูง
100 – 129 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร : ใกล้ระดับที่เหมาะสม/เกินระดับที่เหมาะสม
ต่ำกว่า 100 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร : ระดับที่เหมาะสม
ระดับคอเลสเตอรอล HDL

ต่ำกว่า 40 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร : ความเสี่ยงสูง
ระดับไตรกลีเซอไรด์

500 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร และมากกว่านั้น : ความเสี่ยงสูงมาก
200 – 499 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร : ความเสี่ยงสูง
150 – 199 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร : เข้าข่ายความเสี่ยงสูง
ต่ำกว่า 150 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร : ระดับปกติ

UFABET แจกทองประชดโควิด
มาเล่นกับ เว็บคาสิโน อันดับ 1 ในเอเชีย
ยิงปลา | เสือมังกร | ป๊อกเด้ง | ไฮโล | บาคาร่า | สล็อต