นพ.ศักดิ์ชัย กล่าวอีกว่า ตามประกาศฯ ดังกล่าวในหมวดที่ 5 ว่าด้วยค่าใช้จ่ายเพื่อเป็นเงินช่วยเหลือเบื้องต้นแก่ผู้ให้บริการที่ได้รับความเสียหายจากการให้บริการสาธารณสุขของหน่วยบริการ ข้อที่ 29 กำหนดหลักเกณฑ์การจ่ายเงินช่วยเหลือเบื้องต้นไว้ 3 กรณี ประกอบด้วย 1. กรณีเสียชีวิตหรือทุพพลภาพอย่างถาวร หรือเจ็บป่วยเรื้อรังที่ต้องได้รับการรักษาตลอดชีวิตและมีผลกระทบอย่างรุนแรงต่อการดำรงชีวิต จ่ายเงินช่วยเหลือได้ตั้งแต่ 240,000 บาท แต่ไม่เกิน 400,000 บาท 2. กรณีสูญเสียอวัยวะ หรือพิการที่มีผลกระทบต่อการดำเนินชีวิต จ่ายเงินช่วยเหลือได้ตั้งแต่ 100,000 บาท แต่ไม่เกิน 240,000 บาท และ 3. กรณีบาดเจ็บ หรือเจ็บป่วยต่อเนื่อง จ่ายเงินช่วยเหลือได้ไม่เกิน 100,000 บาท
เลขาธิการ สปสช.กล่าวด้วยว่า หากเกิดกรณีที่บุคลากรทางการแพทย์ และสาธารณสุขได้รับความเสียหายหรือติดโรคโควิด-19 จากการให้บริการผู้ป่วยสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติหรือสิทธิบัตรทอง สามารถยื่นคำร้องขอรับเงินช่วยเหลือเบื้องต้นได้ที่ สปสช.สาขาเขตพื้นที่ หรือหน่วยบริการที่ปฏิบัติหน้าที่ภายใน 1 ปีนับแต่วันที่ทราบความเสียหาย ซึ่งในแต่ละสำนักงานสาขาเขตพื้นที่จะมีคณะอนุกรรมการพิจารณาวินิจฉัยคำร้องขอรับเงินช่วยเหลือเบื้องต้นเป็นผู้พิจารณาให้แล้วเสร็จภายใน 30 วัน.
เว็บแทงบอล ขั้นต่ำ 10 บาท
บอลสเต็ปเริ่มต้นที่ 2 คู่
แทงบอล ขั้นต่ำเพียง 10 บาท
|