5. การห้ามชุมนุม
ห้ามมิให้มีการชุมนุม การทำกิจกรรม หรือการมั่วสุมกัน ณ ที่ใดๆ ในสถานที่แออัดหรือกระทำการดังกล่าวอันเป็นการยุยงให้เกิดความไม่สงบ
6. การเสนอข่าว
ห้ามการเสนอข่าวหรือทำให้แพร่หลายทางสื่อต่างๆ ซึ่งมีข้อความหรือข่าวสารเกี่ยวกับสถานการณ์โรคติดเชื้อโควิด-19 อันไม่เป็นความจริงและอาจทำให้ประชาชนเกิดความหวาดกลัว หรือเจตนาบิดเบือนข้อมูลข่าวสารดังกล่าว อันทำให้เกิดความเข้าใจผิดในสถานการณ์ฉุกเฉิน
7. มาตรการเตรียมรับสถานการณ์
- ให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพฯ และผู้ว่าราชการจังหวัดทุกจังหวัด เป็นผู้กำกับการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินทุกมิติในเขตท้องที่ที่ตนรับผิดชอบ
- ให้หน่วยงานของรัฐทุกแห่ง กำหนดและประชาสัมพันธ์เผยแพร่มาตรการเพื่อช่วยเหลือหรือบรรเทาผลกระทบอันเกิดจากการบังคับใช้มาตรการของรัฐต่อประชาชน
- ให้โรงพยาบาล สถานพยาบาลหรือหน่วยงานที่มีหน้าที่และอำนาจในการป้องกันและดูแลรักษาผู้ป่วยทั้งภาครัฐและเอกชน จัดหายา เวชภัณฑ์ เครื่องมือในการตรวจโรค เครื่องช่วยหายใจและอุปกรณ์อื่นๆ รวมทั้งเตรียมหาบุคลากรทางการแพทย์จากแหล่งต่างๆ และเตรียมสถานที่กักกัน สถานที่คุมไว้สังเกต หรือเตียงเพื่อรองรับผู้ป่วยที่อาจเพิ่มขึ้น
8. มาตรการพึงปฏิบัติสำหรับบุคคลบางประเภท
ให้กลุ่มคนที่มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อโรคโควิด-19 ได้ง่ายดังต่อไปนี้ อยู่ในเคหสถานหรือบริเวณสถานที่พำนักของตน เพื่อป้องกันตนเองจากการติดเชื้อ
- ผู้สูงอายุตั้งแต่ 70 ปีขึ้นไป
- กลุ่มคนที่มีโรคประจำตัว ได้แก่ โรคไม่ติดต่อเรื้อรังต่างๆ เช่น โรคเบาหวาน, โรคความดันโลหิตสูง, โรคหลอดเลือดหัวใจและสมอง, โรคในระบบทางเดินหายใจ, โรคภูมิแพ้
- กลุ่มเด็กเล็กที่มีอายุต่ำกว่า 5 ปีลงมา
เว็บแทงบอล ขั้นต่ำ 10 บาท
บอลสเต็ปเริ่มต้นที่ 2 คู่
แทงบอล ขั้นต่ำเพียง 10 บาท
|