[x] ปิดหน้าต่างนี้
ยินดีต้อนรับคุณ บุคคลทั่วไป   
English Chinese (Simplified) Chinese (Traditional) French German Italian Japanese Korean Portuguese Russian Spanish Vietnamese Thai     
ค้นหา   
เมนูหลัก
ติดต่อสอบถาม
blog สมาชิก
สถิติผู้เขียน blog 10 อันดับ
wave
[ มือใหม่ ]
2
admin
[ มือใหม่ ]
2
orean
[ มือใหม่ ]
2
KAT
[ มือใหม่ ]
1
yuy
[ มือใหม่ ]
1
aTon
[ มือใหม่ ]
1
fang
[ มือใหม่ ]
1
film
[ มือใหม่ ]
1
mild
[ มือใหม่ ]
1
Donus
[ มือใหม่ ]
1
บทความ blog ล่าสุดโดย
เพลงคริสต์มาสtortae
การดูแลรักษาสุภาพ ให้แข็งแรงaTon
ประเพณีวันเข้าพรรษาmild
พบจุดที่หนาวที่สุดในโลกเเห่งใหม่ !!orean
พบจุดที่หนาวที่สุดในโลกเเห่งใหม่ !!orean
อาเซียนDonus
การวาดภาพสีนำ้lovepop-123456
อาเซียนmikekung02
ลดความอ้วนสูตรนางเอก 5 กิโลกรัมใน 1 สัปดาห์yuy
ปรากฏการณ์ธรรมชาติMin-Mintra
ไลน์ โรงเรียนศรัทธาฯ

ติดต่อ สอบถาม

poll

   คุณคิดว่าเวปนี้เป็นอย่างไร


  1. ดีมาก
  2. ดี
  3. ปานกลาง
  4. แย่
  5. แย่มาก

  

   เว็บบอร์ด >> >>
งานวิจัยล่าสุดเผย ออกกำลังกายสัปดาห์ละ 150 นาที อาจช่วยลดความเสี่ยงในการเป็นโรคซึมเศร้า  VIEW : 1437    
โดย 4765

UID : ไม่มีข้อมูล
โพสแล้ว : 1
ตอบแล้ว :
เพศ :
ระดับ : 1
Exp : 20%
เข้าระบบ :
ออฟไลน์ :
IP : 178.128.117.xxx

 
เมื่อ : พฤหัสบดี ที่ 12 เดือน มีนาคม พ.ศ.2563 เวลา 05:19:12   

งานวิจัยล่าสุดเผย ออกกำลังกายสัปดาห์ละ 150 นาที อาจช่วยลดความเสี่ยงในการเป็นโรคซึมเศร้า
โดย พลอย วงษ์วิไล
ทบทวนบทความโดย ทีม Hello คุณหมอ
งานวิจัยล่าสุดเผย ออกกำลังกายสัปดาห์ละ 150 นาที อาจช่วยลดความเสี่ยงในการเป็นโรคซึมเศร้า
การ ออกกำลังกายสัปดาห์ละ 150 นาที ไม่เพียงแต่จะทำให้ร่างกายของเรามีสุขภาพดี ร่างกายแข็งแรง และอายุยืนแล้ว ยังอาจช่วยจัดการกับปัญหาทางสุขภาพจิต อย่างโรควิตกกังวล และโรคซึมเศร้าได้อีกด้วย

เมื่อเร็วๆ นี้ ได้มีรายงานการวิจัยจากนักวิจัยสังคมวิทยาการกีฬา จากมหาลัยเซาท์ออสเตรเลีย และ MSH Medical School Hamburg ในเยอรมนี พบว่า การออกกำลังกายนั้น อาจสามารถช่วยรักษาคนที่มีปัญหาเรื่องสุขภาพจิตที่รุนแรงได้

งานวิจัยได้ทำการประเมินระดับของโรควิตกกังวลและโรคซึมเศร้า ในหมู่นักกีฬาชาวเยอรมนีทั้ง 682 ราย ภายใต้เงื่อนไขแตกต่างกัน และมีระยะเวลาและความเข้มข้นของการออกกำลังกายที่คล้ายคลึงกัน ทั้งยังทำการประเมินผลโดยคัดแยกระหว่าง ผู้ที่ออกกำลังกายในที่ร่ม และผู้ที่ออกกำลังกายกลางแจ้ง และเปรียบเทียบระหว่างการเล่นกีฬาเป็นทีม กับการเล่นกีฬาเดี่ยว

งานวิจัยพบว่า นักกีฬาที่สามารถออกกำลังกายได้ตามแนวทางที่องค์การอนามัยโลก (WHO) แนะนำ จะมีสุขภาพจิตดีกว่าผู้ที่ไม่ได้ออกกำลังกายเป็นอย่างมาก

คำแนะนำการออกกำลังกายขององค์การอนามัยโลก สำหรับการรักษาสุขภาพของผู้ใหญ่ที่อายุ 18 ถึง 64 ปี คือ ออกกำลังกายสัปดาห์ละ 150 นาที

นอกจากนี้งานวิจัยยังพบอีกด้วยว่า ผู้ที่ออกกำลังกายกลางแจ้ง จะได้ประโยชน์มากกว่าผู้ที่ออกกำลังกายในที่ร่ม และการเล่นกีฬาไม่ว่าจะเป็นแบบเดี่ยวหรือแบบทีม ต่างก็มีประโยชน์ต่อสุขภาพจิตด้วยกันทั้งนั้น

ในทางกลับกัน ผู้ที่ไม่ได้ออกกำลังกายตามคำแนะนำของ WHO จะมีรายงานพบระดับของโรคซึมเศร้าสูงกว่าผู้ที่ออกกำลังกายได้สัปดาห์ละ 150 นาทีอย่างเห็นได้ชัด

หนึ่งในผู้วิจัยได้กล่าวว่า สิ่งสำคัญคือการตระหนักว่า การออกกำลังกายในรูปแบบที่แตกต่างกัน อาจจะส่งผลกระทบต่อสุขภาพจิตได้แตกต่างกัน

ดร. เวอร์นอน วิลเลียม ผู้อำนวยการทางด้านประสาทวิทยาและยาแก้ปวด แห่ง Cedars-Sinai Kerlan-Jobe Institute ในลอสแองเจลิส ได้กล่าวว่า การออกกำลังกาย แม้เพียงในปริมาณเล็กน้อย สามารถให้ประโยชน์แก่สุขภาพได้อย่างน่าทึ่ง

นอกจากนี้ยังกล่าวอีกว่า “แม้ว่ายาจะมีบทบาทสำคัญในการจัดการกับสุขภาพจิต อาการปวด และโรคต่างๆ แต่ก็มีข้อจำกัด” เขากล่าวเสริม “และเนื่องจากปัญหาที่เพิ่มพูนขึ้นเรื่อยๆ ในเรื่องของการใช้ยาตามใบสั่งแพทย์ และยาที่ทำให้เกิดการเสพติด พวกเราจึงควรมองหาทางเลือกอื่น ที่จะช่วยให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดียิ่งขึ้น”

อย่างไรก็ตาม การออกกำลังกายที่มากเกินไป ไม่ได้ให้ผลดีต่อสุขภาพมากกว่าแต่อย่างใด ดังนั้น การออกกำลังกายในระดับปานกลาง จึงเพียงพอแล้วต่อการรักษาสุขภาพกายและสุขภาพจิต

อ่านเพิ่มเติม:

6 วิธีออกกำลังกายในน้ำ เสริมสร้างความฟิตให้ผู้สูงอายุ
ดนตรีบำบัด ศาสตร์ที่นอกจะทำให้สุขใจ ยังช่วยบำบัด ภาวะซึมเศร้า ได้อีกด้วย
รู้ไว้ มลภาวะทางเสียง อาจเพิ่มความเสี่ยง โรคซึมเศร้า ไม่รู้ตัว
Share now :

สมาชิกใหม่ฟรีเครดิตไม่ต้องฝาก
กับเว็บเกมส์ UFABET อันดับ 1 ในเอเชีย