เจ็บปวดกับคำบอกลา หมดศรัทธากับคำว่ารัก เพราะ โรคกลัวความรัก ที่ฝังในใจ
โดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์
ทบทวนบทความโดย ทีม Hello คุณหมอ
เจ็บปวดกับคำบอกลา หมดศรัทธากับคำว่ารัก เพราะ โรคกลัวความรัก ที่ฝังในใจ
เพราะคำว่า “รัก” คำเดียวที่สร้างความเจ็บช้ำในหัวใจจนไม่สามารถบรรยายออกมาเป็นคำพูดได้ จนเกิดเป็นความกลัว ทำให้เราไม่อยากเริ่มต้นความสัมพันธ์กับใคร กลัวไปรักเขาและจะต้องเสียใจอีกครั้ง ทั้งๆ ที่ในใจลึกๆ ก็อยากพบเจอความรักที่ดี อาการดังกล่าวที่ว่ามา อาจเข้าข่ายอาการของ โรคกลัวความรัก แต่จะทำอย่างไรเราจึงจะลืมความทรงจำ ความเจ็บช้ำในอดีตที่สร้างรอยแผลในใจออกไป และพร้อมเริ่มต้นความรักครั้งใหม่ได้ มาหาคำตอบให้หัวใจของคุณ ในบทความ Hello คุณหมอกันค่ะ
โรคกลัวความรัก (Philophobia) เพราะคำว่ารักคำเดียวที่ทำใจฉันพัง
โรคกลัวความรัก (Philophobia) เป็นอีกหนึ่งอาการกลัวแบบเฉพาะเจาะจง โดยส่วนใหญ่สาเหตุเกิดจากความผิดหวัง ความเสียใจ ความทรงจำเกี่ยวกับความรักที่ไม่ดีในอดีต ส่งผลให้ในอนาคตกลัวการมีความรัก ไม่กล้ามีความสัมพันธ์ลึกซึ้งกับผู้อื่น กลัวการเริ่มต้นใหม่ ซึ่งความกลัวดังกล่าวนี้จะทำให้ผู้ป่วยมีอาการแสดงออกทางร่างกาย เช่น เหงื่อแตก หัวใจเต้นเร็ว หายใจติดขัด คลื่นไส้ อาเจียน เป็นต้น บางรายที่มีอาการรุนแรงมากอาจส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันไม่เข้าสังคมจนนำไปสู่ภาวะซึมเศร้า
เจ็บแบบซ้ำๆ อีกหนึ่งสาเหตุหลักของโรคกลัวความรัก
สาเหตุของโรคกลัวความรักเกิดจากปัจจัยต่างๆ ดังนี้
ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม
อาจมีผลเนื่องมาจากความทรงจำในวัยเด็ก เช่น เห็นภาพพ่อแม่ทะเลาะกัน ครอบครัวหย่าร้างจนทำให้เรารู้สึกกลัวไม่สามารถสร้างความสัมพันธ์กับใครได้
ความทรงจำด้านลบ
ประสบการณ์ความรักที่ไม่ดีในอดีต เช่น การโดนบอกเลิกโดยไม่ทราบสาเหตุ คนรักนอกใจ แอบรักใครแล้วไม่สมหวัง ส่งผลให้ปัจจุบันกลัวจะต้องเสียใจอีกครั้งจนไม่สามารถเริ่มความสัมพันธ์กับใครใหม่ได้
ปัจจัยทางพันธุกรรม
พฤติกรรมและความกลัวแฝงต่างๆของพ่อแม่ถูกถ่ายทอดสู่ลูกผ่านทางยีนที่อยู่ในโครโมโซม ลูกจึงมีโอกาสเสี่ยงที่จะมีความกลัวเหมือนที่พ่อแม่รู้สึกด้วยเช่นกัน
5 อาการที่บ่งบอกว่าคุณเป็นโรคกลัวความรัก
อาการกลัวที่เกิดขึ้นอาจแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล โดยแบ่งเป็น 2 ส่วนหลักๆ คือทางด้านร่างกาย และทางด้านอารมณ์
ทางด้านร่างกาย
ปวดหน้าอก
เป็นลม
เหงื่อแตก
หัวใจเต้นเร็วผิดปกติ
ทางด้านอารมณ์
มีอาการวิตกกังวลทุกครั้งเมื่อความสัมพันธ์เริ่มจริงจัง
หลีกตัวออกจากสังคม มีภาวะซึมเศร้า
อยากทิ้งอดีตที่เจ็บช้ำ สามารถเริ่มเยียวยาตัวเองได้อย่างไร
โรคกลัวความรักนี้ หากไม่รักษานอกจากจะส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันแล้วยังส่งผลกระทบต่อสุขภาพอีกด้วย ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญหรือนักจิตวิทยาเพื่อทำการรักษา โดยมีวิธีการรักษาจะแตกต่างกันออกไปขึ้นอยู่กับอาการกลัวของแต่ละบุคคล โดยมีรายละเอียดดังนี้
การบำบัดพฤติกรรมทางปัญญา (Cognitive behavioral therapy ; CBT)
บำบัดโดยการชี้ให้เห็นถึงความคิดในแง่ลบที่เป็นสาเหตุให้เกิดความกลัว แก้ไขปัญหาถึงต้นเหตุและหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาและให้ผู้ป่วยเริ่มจากการสร้างความสัมพันธ์กับคนรอบข้าง เช่นเพื่อนร่วมงาน ครอบครัว เป็นต้น
ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิต
แพทย์จะแนะนำให้เราทำกิจกรรมต่างๆเพื่อให้ร่างกายและจิตใจรู้สึกผ่อนคลาย เช่น การออกกำลังกาย ว่ายน้ำ ปลูกต้นไม้ นั่งสมาธิ เป็นต้น
การใช้ยา
ในบางกรณีที่มีอาการรุนแรงแพทย์อาจสั่งยาต้านอาการซึมเศร้าหรือยาลดความวิตกกังวลควบคู่กับการบำบัด
ความรักที่ไม่สมหวังในอดีตทำให้เราเจ็บช้ำจนไม่สามารถเริ่มพัฒนาความสัมพันธ์กับใครได้ แต่ไม่ใช่ว่าความรักครั้งใหม่จะต้องแย่เหมือนความรักครั้งก่อน จงยอมรับความจริงและเริ่มต้นใหม่อย่างมีความสุขอีกครั้ง เชื่อสิว่า ฟ้าหลังฝน ย่อมสวยงามเสมอ
อ่านเพิ่มเติม:
ฮอร์โมนออกซิโทซิน เป็น “ฮอร์โมนแห่งความรัก” หรืออะไรกันแน่?
แฟนขอเปิดซิงใน วันวาเลนไทน์ รักแท้หรือแค่คืนหลอกลวง
อยากมีรักแต่ไม่อยากผูกพัน โรคกลัวการผูกมัด เมื่อหัวใจดวงนี้ไม่อยากเสียใจ
Share now :
สมาชิกใหม่ฟรีเครดิตไม่ต้องฝาก
กับเว็บเกมส์ UFABET
อันดับ 1 ในเอเชีย
|