ผลการศึกษาที่ตีพิมพ์ในวารสารเมดิคัล ไวโรโลจี (Medical Virology) เมื่อวันพุธ (22 ม.ค.) บ่งชี้ความเป็นไปได้สูงสุดว่า “งู” อาจเป็นสัตว์ป่าที่เป็นแหล่งเพาะเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ (2019-nCoV) ซึ่งคร่าชีวิตผู้คนในมณฑลหูเป่ยทางตอนกลางของจีนแล้ว 17 ราย
คณะนักวิทยาศาสตร์จากคณะวิทยาศาสตร์การแพทย์พื้นฐาน สังกัดศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพแห่งมหาวิทยาลัยปักกิ่ง, โรงพยาบาลในเครือมหาวิทยาลัยการแพทย์จีนกว่างซี, โรงพยาบาลรุ่ยคังในเครือมหาวิทยาลัยการแพทย์จีนกว่างซี, คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยหนิงโป และมหาวิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์อู่ฮั่น ได้ร่วมกันวิเคราะห์ลำดับของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ที่แพร่ระบาดล่าสุด
คณะนักวิทยาศาสตร์ใช้วิธีที่เรียกว่า “การใช้รหัสพันธุกรรมที่มีความหมายเหมือนกัน” (relative synonymous codon usage – RSCU) เพื่อเปรียบเทียบลำดับอาร์เอ็นเอ (RNA) หรือกรดไรโบนิวคลีอิก (Ribonucleic acid) ของสัตว์ชนิดต่างๆ
งูเป็นหนึ่งในสัตว์ที่ถูกจำหน่ายในตลาดขายส่งอาหารทะเลหัวหนาน (Huanan Seafood Wholesale Market) ของอู่ฮั่น ซึ่งถูกสั่งปิดชั่วคราวในปัจจุบันและเชื่อกันว่ามีความเกี่ยวข้องกับผู้ป่วยส่วนใหญ่ที่ติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่
พบกับเว็บ
แทงบอลออนไลน์
ที่ดีที่สุด อันดับ 1 ในเรื่องบริการ
บอลสเต็ปเริ่มต้นที่ 2 คู่
แทงบอล ขั้นต่ำเพียง 10 บาท
|