” ครรภ์เป็นพิษ ” ภาวะสุขภาพที่เหล่าแม่ๆ ต้องพึงระวัง
“HELLP Syndrome” จัดเป็นภาวะ ครรภ์เป็นพิษ รุนแรง ที่โดยปกติแล้วลำพังภาวะครรภ์เป็นพิษทั่วไปก็สร้างความวิตกกังวลให้กับคุณแม่กันมากพอสมควรอยู่แล้ว วันนี้ Motherhood จึงจะพาคุณไปทำความรู้จักกับภาวะครรภ์เป็นพิษชนิดรุนแรงนี้ให้ดีมากยิ่งขึ้น เพื่อที่คุณจะได้ระมัดระวังไม่ให้มันเกิดขึ้นกับคุณ
กลุ่มอาการ HELLP Syndrome คืออะไร
ภาวะครรภ์เป็นพิษขั้นรุนแรงนี้ จัดเป็นภาวะร้ายแรงระดับสูงสุดของภาวะครรภ์เป็นพิษ แต่จะเกิดขึ้นได้น้อยมาก โดยอาการหลักที่พบได้คือ จะมีระดับความดันสูงเกิน 160/110 ซึ่งคุณแม่บางรายอาจมีความดันที่สูงถึง 220 นอกจากนี้ ยังมีการสลายตัวของเม็ดเลือดแดง มีการตรวจพบเอ็นไซม์ของตับเนื่องจากตับถูกทำลาย และเกล็ดเลือดต่ำ ยิ่งไปกว่านั้น ยังสามารถพบอาการหัวใจโต แน่นหน้าอก หายใจไม่ออก จุกใต้ลิ้นปี่ น้ำท่วมปอด และหากมีอาการชักด้วย จะเป็นการชักอย่างรุนแรงมาก ซึ่งอาการที่เกิดขึ้นทั้งหมดนั้นล้วนเกิดจากความดันโลหิตที่สูงมากนั่นเอง
ภาวะนี้สามารถเกิดกับใครก็ได้ แม้แต่กับแม่ที่สุขภาพแข็งแรงดี แต่มักเกิดกับแม่ท้องแรกเป็นส่วนใหญ่ และสามารถเกิดซ้ำได้ในท้องที่สอง ร้อยละ 15-30 พบว่าเป็นภาวะที่นอกเหนือความคาดหมายทุกอย่าง และยังไม่มีใครสามารถหาสาเหตุของโรคได้
hellp syndrome คืออะไร
ภาวะนี้อาจเกิดขึ้นได้มากในท้องแรก
สัญญาณและอาการของของโรค
สัญญาณที่บ่งบอกถึงอาการคือสิ่งที่คนอื่นสามารถมองเห็นหรือรู้เกี่ยวกับคุณ เช่น คุณมีผื่นขึ้น หรือคุณกำลังไอ แต่อาการคือ สิ่งที่คุณรู้สึกของตัวเอง คนอื่นมองไม่เห็น เช่น เจ็บคอ หรือรู้สึกเวียนหัว สัญญาณและอาการของภาวะครรภ์เป็นพิษรุนแรงอาจปรากฏในระหว่างตั้งครรภ์หรือหลังคลอดบุตร ผู้หญิงบางคนมีภาวะนี้ได้ทันทีโดยไม่มีอาการหรืออาการแสดงใด ๆ
สัญญาณและอาการของภาวะครรภ์เป็นพิษรุนแรง ได้แก่
ตาพร่ามัว
เจ็บหน้าอก หรือเจ็บที่ส่วนบนขวาหรือบริเวณลิ้นปี่
ปวดศีรษะ อ่อนเพลีย (รู้สึกเหนื่อยมาก) หรือรู้สึกไม่สบาย
คลื่นไส้ (รู้สึกปั่นป่วนในท้อง) หรืออาเจียนมาก
น้ำหนักเพิ่มและบวมอย่างรวดเร็ว
เลือดกำเดาไหล หรือเลือดออกที่จุดอื่น ๆ และไหลไม่หยุด แต่พบได้ยาก
ชัก แต่พบได้ยาก อาการชักคือการที่ร่างกายของคุณสั่นอย่างรวดเร็วและไม่มีการควบคุม
ใครมีความเสี่ยงบ้าง ?
ภาวะครรภ์เป็นพิษรุนแรงนี้เกิดขึ้นได้ตั้งแต่ท้องแรก และยังสามารถเกิดซ้ำในท้องที่สองได้อีกเช่น รวมถึงแม่ท้องที่มีภาวะความดันโลหิตสูงหลังมีอายุครรภ์ได้ 20 สัปดาห์ขึ้นไป แต่ส่วนใหญ่จะพบภาวะนี้ได้ในแม่ที่ท้องเข้าไตรมาสสามเป็นต้นไป รวมถึงพบในแม่ที่ท้องตอนอายุน้อยหรือคุณแม่ท้องที่อายุมากเกินไปด้วย และรวมถึงแม่ท้องกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูง เช่น แม่ท้องที่มีโรคประจำตัวบางอย่างเกี่ยวกับหลอดเลือด เช่น โรคไต โรคเบาหวาน หรือโรคความดัน
อาการ hellp syndrome
แม่ที่มีความดันสูงจะมีความเสี่ยงมากขึ้น
ครรภ์เป็นพิษรุนแรงรักษาอย่างไร ?
เนื่อจากภาวะครรภ์เป็นพิษรุนแรงนั้นเป็นอันตรายอย่างมากต่อชีวิตของคุณแม่และทารกน้อยในครรภ์ แพทย์จึงจำเป็นจะต้องดูแลรักษาคุณแม่ให้มีอาการที่ดีขึ้น และดูแลลูกน้อยในครรภ์ไปพร้อม ๆ กัน ตลอดจนอาจต้องพิจารณายุติการตั้งครรภ์ด้วยการผ่าตัดทันทีหากมีความจำเป็น โดยแนวทางการรักษา ได้แก่
ให้ยาลดความดัน แพทย์จะสั่งยา เช่น ยากระตุ้นหัวใจ ยาลดความดัน เพื่อควบคุมความดันให้คุณแม่ หากไม่สามารถควบคุมความดันได้แสดงว่ามีอาการรุนแรงมาก จะต้องยุติการตั้งครรภ์ทันที
ให้ยาป้องกันชัก เมื่อพบว่ามีภาวะครรภ์เป็นพิษชนิดรุนแรง เพราะอาการชักนั้นถือเป็นภาวะวิกฤติขั้นสูงสุด และอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตคุณแม่และทารกน้อยได้ นอกจากนี้ แพทย์อาจให้ยาป้องกันอาการชักต่อเนื่องไปจนถึงหลังคลอดภายในระยะเวลา 24 ชั่วโมง โดยต้องเฝ้าระวังอาการของคุณแม่ตลอดเวลา เพราะถือว่ายังมีความเสี่ยงต่อการชักอยู่จนถึงหลังคลอดประมาณ 48 ชั่วโมง โดยระยะเวลานานที่สุดที่ยังต้องเฝ้าระวังสามารถกินเวลาถึง 2 อาทิตย์หลังคลอด
ยุติการตั้งครรภ์ อาจทำการพิจารณาให้คลอดก่อนกำหนด หากคุณแม่มีอายุครรภ์มากกว่า 34 สัปดาห์และมีอาการรุนแรง หากตรวจพบว่าปากมดลูกพร้อมคลอด ก็จะให้คลอดเองโดยเร็วที่สุด หรืออาจจำเป็นต้องผ่าตัดคลอดถ้าปากมดลูกไม่พร้อม หรือเมื่อพบว่ามีภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ ที่เป็นอันตรายชีวิตคุณแม่และทารกในครรภ์
อัลตราซาวด์ เพื่อดูการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ และประเมินสุขภาพของทารกเป็นระยะ และอาจมีการฉีดยากระตุ้นการทำงานของปอดลูกน้อยในครรภ์ เป็นจำนวน 4 เข็ม แต่ละเข็มฉีดห่างกัน 12 ชั่วโมง ในกรณีที่อายุครรภ์น้อยกว่า 34 สัปดาห์ และระดับความรุนแรงของภาวะมีเล็กน้อย-ปานกลาง แต่หากมีความรุนแรงของโรคมากก็จำเป็นต้องผ่าคลอด
รักษาภาวะ hellp syndrome
ตรวจอัลตราซาวด์เพื่อประเมินอาการทารกเป็นระยะ
การดูแลทารกที่คลอดก่อนกำหนดเพราะภาวะครรภ์เป็นพิษรุนแรง
หากจำเป็นต้องมีการคลอดก่อนกำหนด เนื่องจากแม่มีภาวะครรภ์เป็นพิษจำเป็นต้องคลอด ในขณะที่ลูกน้อยยังเจริญเติบโตไม่เต็มที่ มีน้ำหนักน้อยเพราะอายุครรภ์ยังไม่มาก แพทย์ก็จะต้องดูแลรักษาภาวะต่าง ๆ ของทารกที่คลอดก่อนกำหนดอย่างใกล้ชิด เพราะทารกที่คลอดก่อนกำหนดมาก ๆ มีโอกาสเสี่ยงที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อนและความไม่พร้อมทางร่างกายสูง เนื่องจากอวัยวะต่าง ๆ ของทารกที่คลอดก่อนกำหนดยังเจริญเติบโตได้ไม่สมบูรณ์ จึงทำให้อัตราการตายของทารกมีสูงมากกว่าทารกที่คลอดครบกำหนดถึง 3 เท่าเลยทีเดียว ไม่ว่าจะเป็นการทำงานของปอดยังไม่สมบูรณ์ หายใจเองยังไม่ได้ มีปัญหาการมองเห็น ปัญหาการได้ยิน ภาวะโลหิตจาง และติดเชื้อง่าย
ป้องกัน hellp syndrome
รีบฝากครรภ์และไปตรวจครรภ์อย่างสม่ำเสมอตามนัด
ป้องกันภาวะครรภ์เป็นพิษรุนแรงได้อย่างไร ?
ควรคุมกำเนิดไว้ก่อน ยังไม่ควรตั้งครรภ์หากมีโรคประจำตัวที่ยังควบคุมโรคไม่ได้ และรับการรักษาโรคประจำตัวนั้น ๆ ให้หายดี จนกว่าแพทย์จะแนะนำว่าสามารถตั้งครรภ์ได้
เมื่อตั้งครรภ์แล้ว ควรมาฝากครรภ์ให้เร็วที่สุดและมาตรวจตามนัดอย่างต่อเนื่อง เพราะแม้ HELLP Syndrome จะเป็นภาวะที่รุนแรง มีความเสี่ยงต่อการคลอดก่อนกำหนดสูง และเสี่ยงต่อชีวิตแม่และทารกในครรภ์ แต่หากตรวจพบตั้งแต่เนิ่น ๆ แพทย์จะสามรารถติดตามอาการอย่างใกล้ชิด เพื่อให้ยาป้องกันอาการต่าง ๆ ซึ่งส่วนใหญ่แล้วก็จะสามารถคลอดได้อย่างปลอดภัยทั้งแม่และลูก
สรุป
เมื่อมีอาการผิดปกติ แม้จะไม่มีอาการเจ็บครรภ์ ก็ให้รีบพบแพทย์ เช่น เจ็บจุกบริเวณลิ้นปี่ มีอาการปวดหัวรุนแรง ปวดหัวจนคลื่นไส้อาเจียน ตาพร่ามัว มีอาการบวมมาก หายใจไม่ออก
ควบคุมอาหาร และระวังภาวะความดันสูง อีกทั้งควรเลือกทานอาหารให้เหมาะสมเพื่อไม่ให้น้ำหนักเกินตอนตั้งครรภ์
แหล่งที่มา
https://story.motherhood.co.th/
https://mydeedees.com/%e0%b8%84%e0%b8%a3%e0%b8%a3%e0%b8%a0%e0%b9%8c%e0%b9%80%e0%b8%9b%e0%b9%87%e0%b8%99%e0%b8%9e%e0%b8%b4%e0%b8%a9-%e0%b8%a0%e0%b8%b2%e0%b8%a7%e0%b8%b0%e0%b8%aa%e0%b8%b8%e0%b8%82%e0%b8%a0%e0%b8%b2/
|