[x] ปิดหน้าต่างนี้
ยินดีต้อนรับคุณ บุคคลทั่วไป   
English Chinese (Simplified) Chinese (Traditional) French German Italian Japanese Korean Portuguese Russian Spanish Vietnamese Thai     
ค้นหา   
เมนูหลัก
ติดต่อสอบถาม
blog สมาชิก
สถิติผู้เขียน blog 10 อันดับ
wave
[ มือใหม่ ]
2
admin
[ มือใหม่ ]
2
orean
[ มือใหม่ ]
2
KAT
[ มือใหม่ ]
1
yuy
[ มือใหม่ ]
1
aTon
[ มือใหม่ ]
1
fang
[ มือใหม่ ]
1
film
[ มือใหม่ ]
1
mild
[ มือใหม่ ]
1
Donus
[ มือใหม่ ]
1
บทความ blog ล่าสุดโดย
เพลงคริสต์มาสtortae
การดูแลรักษาสุภาพ ให้แข็งแรงaTon
ประเพณีวันเข้าพรรษาmild
พบจุดที่หนาวที่สุดในโลกเเห่งใหม่ !!orean
พบจุดที่หนาวที่สุดในโลกเเห่งใหม่ !!orean
อาเซียนDonus
การวาดภาพสีนำ้lovepop-123456
อาเซียนmikekung02
ลดความอ้วนสูตรนางเอก 5 กิโลกรัมใน 1 สัปดาห์yuy
ปรากฏการณ์ธรรมชาติMin-Mintra
ไลน์ โรงเรียนศรัทธาฯ

ติดต่อ สอบถาม

poll

   คุณคิดว่าเวปนี้เป็นอย่างไร


  1. ดีมาก
  2. ดี
  3. ปานกลาง
  4. แย่
  5. แย่มาก

  

   เว็บบอร์ด >> >>
ว.การบินฯเร่งปั๊มบัณฑิต รองรับ นักท่องเที่ยวแห่เข้าไทย  VIEW : 83    
โดย หยาด

UID : ไม่มีข้อมูล
โพสแล้ว : 576
ตอบแล้ว : 2
เพศ :
ระดับ : 19
Exp : 49%
เข้าระบบ :
ออฟไลน์ :
IP : 125.25.50.xxx

 
เมื่อ : จันทร์ ที่ 10 เดือน กรกฏาคม พ.ศ.2566 เวลา 18:17:33   

คณบดี ว.การบินฯเร่งปั๊มบัณฑิต รองรับอุตสาหกรรมการบินฟื้น นักท่องเที่ยวแห่เข้าไทย
ว.การบินฯเร่งปั๊มบัณฑิต นาวาอากาศตรี ดร.วัฒนา มานนท์ คณบดีวิทยาลัยการพัฒนาและฝึกอบรมด้านการบิน (CADT) มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ (มธบ.) เปิดเผยว่า จากข้อมูลของสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย (CAAT) หรือ กพท.ที่รายงานว่า อุตสาหกรรมการบินของไทยปี 2565
เริ่มฟื้นตัวจากการระบาดของโรคโควิด-19 โดยมีผู้โดยสารเพิ่มขึ้นเป็น 75,815,455 คน และมีเที่ยวบินเพิ่มขึ้นเป็น 570,360 เที่ยวบิน
ทั้งนี้ กพท.คาดว่าจำนวนผู้โดยสารจากทั่วโลกจะฟื้นตัวเท่ากับปี 2562 ในปี 2567-2568 จากข้อมูลดังกล่าวนับเป็นสัญญาณที่ดีของอุตสาหกรรมการบินที่เริ่มกลับมาเหมือนเดิม แต่เนื่องจากการฟื้นตัวเร็วกว่าที่คาดการณ์กันไว้ ทำให้แรงงานในอุตสาหกรรมการบินที่หายออกไปจากระบบบางส่วนไม่กลับเข้ามา และในส่วนที่กลับเข้ามาก็มีปริมาณไม่พอกับตามความต้องการ เพราะบางสายงานต้องใช้ทักษะในการทำงาน ต้องผ่านการฝึกอบรมตามมาตรฐานด้านต่างๆ ก่อนเข้าทำงานด้วย

นาวาอากาศตรี ดร.วัฒนากล่าวถึง ว.การบินฯเร่งปั๊มบัณฑิต อีกว่า
หนึ่งในความต้องการแรงงานจำนวนมากในอุตสาหกรรมการบินขณะนี้ คือพนักงานสนับสนุนการบริการภาคพื้นดิน ซึ่งต้องดูแลผู้โดยสารตั้งแต่เช็กอิน โหลดกระเป๋า ตรวจบอร์ดดิ้งพาส สื่อสารระหว่างภาคพื้นกับลูกเรือ ฯลฯ ด้วยอุตสาหกรรมการบินมีส่วนช่วยสนับสนุนภาคธุรกิจที่มีความเกี่ยวเนื่องกัน
อาทิ การท่องเที่ยว การขนส่งสินค้า การบริการ ฯลฯ เมื่อภาคธุรกิจเหล่านี้ฟื้นตัวภายหลังสถานการณ์ระบาดของโรคโควิด-19
โดยเฉพาะภาคการท่องเที่ยว ซึ่งไทยเป็นหนึ่งในจุดหมายปลายทางของนักท่องเที่ยวจากทั่วโลก เพราะมีเสน่ห์ทั้งจากแหล่งท่องเที่ยวที่สวยงาม
และยังมีอาหารไทยที่เป็น Soft Power ดึงดูดนักท่องเที่ยว ที่สำคัญไทยมีการบริหารจัดการในช่วงการระบาดของโรคโควิด-19 ได้ดีในระดับต้นๆ
ของโลก ความปลอดภัยค่อนข้างสูง จึงทำให้นักท่องเที่ยวเดินทางมาท่องเที่ยวไทยมากขึ้น ปริมาณการให้บริการภาคพื้นสนามบินจึงมากขึ้นตามไปด้วย

“ปัญหาของฝั่งที่ทำงานด้านภาคพื้นดิน คือ ปริมาณงานมีมากกว่าจำนวนเจ้าหน้าที่ เพราะการทำงานในภาคส่วนนี้ จำเป็นต้องมีการฝึกอบรม
ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของความปลอดภัยด้านต่างๆ ซึ่งต้องเข้มข้นมากๆ ไม่ใช่ว่ารับเข้าทำงานแล้วจะทำงานได้เลย ปริมาณเจ้าหน้าที่ให้บริการภาคพื้นดิน
จึงไม่เพียงพอต่อภาระงาน จะเห็นได้ว่าบริษัทต่างๆ มีความต้องการแรงงานด้านภาคพื้นจำนวนมาก บางบริษัทมีความต้องการพนักงานด้านนี้จำนวนกว่า 500 คน และหลายบริษัทต้องการนักศึกษาฝึกงานจำนวนมาก มีที่ติดต่อขอนักศึกษาฝึกงานกับทางวิทยาลัย แต่ก็ไม่สามารถป้อนให้ได้ตามจำนวนที่บริษัทต้องการ” นาวาอากาศตรี ดร.วัฒนากล่าว

นาวาอากาศตรี ดร.วัฒนากล่าวอีกว่า
วิทยาลัยการพัฒนาและฝึกอบรมด้านการบิน มธบ.มีความพร้อมทั้งหลักสูตรการเรียน การสอน บุคลากร และสิ่งอำนวยความสะดวก
โดยเปิดการสอนระดับปริญญาตรี 2 หลักสูตร คือ ศิลปศาสตรบัณฑิต (ศศ.บ.) สาขาวิชาธุรกิจการบิน และสาขาวิชาการจัดการเทคโนโลยีการบิน (และการอำนวยการบิน) และยังมีหลักสูตรฝึกอบรมด้านการบินสำหรับบุคคลทั่วไป ตามมาตรฐานขององค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (ICAO)
และสมาคมขนส่งทางอากาศระหว่างประเทศ (IATA) ซึ่งเป็นหลักสูตรระยะสั้นด้านการบินต่างๆ ที่เป็นหลักสูตรมาตรฐานสากล นอกจากนี้ DPU Aviation Academy (DAA) ของ CADT ยังเป็นศูนย์ฝึกอบรมด้านการบินครบวงจรที่สำคัญของประเทศ และเป็นมหาวิทยาลัยเดียวในไทยที่ได้รับการรับรองจาก IATA ถึง 6 ปีซ้อน ตอบสนองนโยบายของรัฐในการผลักดันให้ไทยเป็นศูนย์กลางการบินของอาเซียน

สรุป

“วิทยาลัยมีความพร้อมผลิตบุคลากรคุณภาพป้อนสู่ตลาดแรงงาน จากการสำรวจบัณฑิตที่จบออกไป พบว่า 92% มีงานทำ ส่วน 8% เรียนต่อ และสานต่อธุรกิจของครอบครัว อย่างไรก็ตาม จากการคาดการณ์ของ กพท.ที่ระบุว่า อุตสาหกรรมการบินจะกลับมาเหมือนเดิมในปี 2567-2568 ดังนั้น จะมีความต้องการแรงงานเพิ่มขึ้นแน่นอน นับเป็นโอกาสของผู้ที่สนใจศึกษาต่อด้านการบิน เพราะงานในอุตสาหกรรมการบินมีมากถึง 9 ลักษณะงานด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นนักบิน พนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน เจ้าหน้าที่ภาคพื้น เจ้าหน้าที่ด้านความปลอดภัย ฯลฯ ซึ่งเดิมลักษณะงานที่เกี่ยวข้องโดยตรงเช่นนี้ ช่วงก่อนสถานการณ์โรคโควิด-19 มีจำนวนแรงงานกว่า 3 แสนคน แต่หายไปจากระบบช่วงแพร่ระบาดประมาณ 1 แสนคน คาดว่าเมื่ออุตสาหกรรมการบินกลับมาปกติ ความต้องการแรงงานด้านการบินน่าจะมีกว่า 1 แสนตำแหน่งแน่นอน” นาวาอากาศตรี ดร.วัฒนากล่าว

อ้างอิง

https://www.matichon.co.th/

https://have-a-look.net/2023/07/04/%e0%b8%a7-%e0%b8%81%e0%b8%b2%e0%b8%a3%e0%b8%9a%e0%b8%b4%e0%b8%99%e0%b8%af%e0%b9%80%e0%b8%a3%e0%b9%88%e0%b8%87%e0%b8%9b%e0%b8%b1%e0%b9%8a%e0%b8%a1%e0%b8%9a%e0%b8%b1%e0%b8%93%e0%b8%91%e0%b8%b4%e0%b8%95/