[x] ปิดหน้าต่างนี้
ยินดีต้อนรับคุณ บุคคลทั่วไป   
English Chinese (Simplified) Chinese (Traditional) French German Italian Japanese Korean Portuguese Russian Spanish Vietnamese Thai     
ค้นหา   
เมนูหลัก
ติดต่อสอบถาม
blog สมาชิก
สถิติผู้เขียน blog 10 อันดับ
wave
[ มือใหม่ ]
2
admin
[ มือใหม่ ]
2
orean
[ มือใหม่ ]
2
KAT
[ มือใหม่ ]
1
yuy
[ มือใหม่ ]
1
aTon
[ มือใหม่ ]
1
fang
[ มือใหม่ ]
1
film
[ มือใหม่ ]
1
mild
[ มือใหม่ ]
1
Donus
[ มือใหม่ ]
1
บทความ blog ล่าสุดโดย
เพลงคริสต์มาสtortae
การดูแลรักษาสุภาพ ให้แข็งแรงaTon
ประเพณีวันเข้าพรรษาmild
พบจุดที่หนาวที่สุดในโลกเเห่งใหม่ !!orean
พบจุดที่หนาวที่สุดในโลกเเห่งใหม่ !!orean
อาเซียนDonus
การวาดภาพสีนำ้lovepop-123456
อาเซียนmikekung02
ลดความอ้วนสูตรนางเอก 5 กิโลกรัมใน 1 สัปดาห์yuy
ปรากฏการณ์ธรรมชาติMin-Mintra
ไลน์ โรงเรียนศรัทธาฯ

ติดต่อ สอบถาม

poll

   คุณคิดว่าเวปนี้เป็นอย่างไร


  1. ดีมาก
  2. ดี
  3. ปานกลาง
  4. แย่
  5. แย่มาก

  

   เว็บบอร์ด >> >>
แอบส่องทริควิธีหลีกเลี่ยงไม่ให้ถูก ยุงกัด ของชาวญี่ปุ่น  VIEW : 70    
โดย หยาด

UID : ไม่มีข้อมูล
โพสแล้ว : 576
ตอบแล้ว : 2
เพศ :
ระดับ : 19
Exp : 49%
เข้าระบบ :
ออฟไลน์ :
IP : 125.25.50.xxx

 
เมื่อ : จันทร์ ที่ 26 เดือน มิถุนายน พ.ศ.2566 เวลา 17:29:54   

แอบส่องทริควิธีหลีกเลี่ยงไม่ให้ถูก ยุงกัด ของชาวญี่ปุ่น
“ยุง” ชอบกัดคนประเภทไหน?
เคยนั่งอยู่ด้วยกันหลายคน แต่บางคนก็บ่นว่าโดน ยุงกัด ตลอด แต่อีกคนก็บอกว่าไม่เจอยุงกัดเลยไหมคะ? หากจะไปว่า ว่าคนๆ นั้นตัวเหม็น ไม่ได้อาบน้ำ อาจจะไม่จริงเสมอไป แต่ก็ไม่ถือว่าผิด 100% เพราะอะไรเราถึงบอกแบบนี้ จริงๆ แล้วยุงชอบกัดคนประเภทไหน มีวิธีไหนบ้างที่จะช่วยให้ยุงกัดเราน้อยที่สุด มาดูกันค่ะ

“ยุง” ชอบกัดคนประเภทไหน?

คนที่เหงื่อออกมาก นอกจากกลิ่นเหงื่อแล้ว ยังมีเรื่องของอุณหภูมิบนผิวหนังที่พยายามคายความร้อนออกมาพร้อมกับเหงื่อ
คนที่มีอุณหภูมิที่ผิวหนังร้อนกว่าคนอื่น อาจไม่ได้หมายถึงคนที่ป่วยเป็นไข้เสมอไป
คนที่ออกกำลังกาย นอกจากจะมาทั้งเหงื่อชุ่มๆ แล้ว ยังมาพร้อมกับคาร์บอนไดออกไซด์ที่หายใจออกฉี่ๆ อีกต่างหาก หากออกกำลังกายตอนเย็นๆ ในสวนสาธารณะชื้นๆ ครึ้มๆ มีสิทธิ์โดนยุงตอมได้
ผิวเด็ก จะมีลักษณะ และกลิ่นที่ยุงบินเข้าหามากกว่าผิวหนังของผู้ใหญ่
ผู้หญิงมีสิทธิ์โดนยุงกัดมากกว่าผู้ชาย ด้วยเพราะฮอร์โมนที่แตกต่างกัน
คนที่ใส่เสื้อผ้าสีเข้มๆ มืดๆ หรือเสื้อผ้าลายขวางที่มีสีเข้มกับสีอ่อนตัดกันอย่างชัดเจน จะถูกยุงกัดมากกว่าคนใส่เสื้อผ้าสีสว่างๆ
คนที่มีเหงื่อออกเท้า หรือไม่ทำความสะอาดเท้า เพราะส่วนใหญ่ยุงชอบกัดขา มากกว่าแขน จากการตามกลิ่นเหงื่อของเท้า
วิธีหลีกเลี่ยงไม่ให้โดนยุงกัด

ใช้ยากันยุง ไม่ว่าจะเป็นแบบฉีด พ่น ทา จุดควัน ปล่อยคลื่นรบกวน หรือไอระเหย สุดแล้วแต่จะหามาได้
เลือกสวมเสื้อผ้าสีสว่างๆ
อาบน้ำให้ร่างกายสะอาด ปราศจากเหงื่อ และความร้อนสะสมที่ผิวหนัง
หลีกเลี่ยงสถานที่ที่น่าจะมียุงชุม เช่น ที่ชื้นๆ มืดๆ ริมน้ำ ในป่า ข้างพงหญ้า หากจำเป็นจริงๆ นอกจากเสื้อผ้าสีสว่างแล้ว อาจสวมเสื้อแขนยาว กางเกงขายาว หรือหาผ้าบางๆ มาคลุมตัวเพิ่ม
ติดมุ้ง ตาข่าย บานเกล็ด หรือมุ้งลวดที่หน้าต่างในบ้าน และอย่าเปิดประตูข้างไว้ในช่วงเย็นๆ หรือพลบค่ำให้ยุงเข้าบ้าน
ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงภายในบ้าน เช่น จานรองกระถางต้นไม้ ชาม กะละมังที่น้ำขังนอกบ้าน ตุ่มน้ำที่ไม่มีฝาปิด ชามข้าวสัตว์เลี้ยง แจกัน ฯลฯ
แชร์ทริคลับ 6 วิธีที่คนญี่ปุ่นใช้ป้องกันไม่ให้ “ยุงกัด”
เข้าหน้าร้อนที่ญี่ปุ่น อีกหนึ่งปัญหาที่คนญี่ปุ่นต้องเจอก็คือ ยุง ซึ่งสร้างทั้งความรำคาญและความระคายเคืองต่อผิวหนัง อีกทั้งยุงยังเป็นพาหะของโรคหลายชนิด ได้แก่ ไข้เลือดออกและโรคไข้สมองอักเสบ เป็นต้น มารู้เรื่องราวน่ารู้ของยุงและวิธีการป้องกันยุงของคนญี่ปุ่นกัน

เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับยุง

ยุงเป็นแมลงที่บินด้วยอัตราเร็วประมาณ 8 กม./ชั่วโมง แม้อยู่ในระยะห่างกัน 10 เมตร แต่ยุงจะรู้ว่ามีมนุษย์อยู่จากการสัมผัสถึงความร้อน ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ กลิ่น (กรดแลคติกและกรดไขมัน) ที่ร่างกายปล่อยออกมา ร่วมกับการมองเห็น ยุงเพศเมียจะดูดเลือดมนุษย์และสัตว์เพื่อนำโปรตีนไปใช้ในการสร้างไข่ ส่วนยุงเพศผู้จะไม่ดูดเลือดแต่ดูดกินน้ำหวานจากเกสรดอกไม้ โดยปริมาณเลือดที่ดูดนั้นจะมีปริมาณที่เกือบเท่ากับน้ำหนักตัวของพวกมัน

ปัจจัยอะไรบ้างที่ดึงดูดยุงให้มากัด
ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่คนหายใจออกมา
โดยปกติคนเราจะหายใจและปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกมา โดยเฉพาะในคนที่ออกกำลังกายจะปล่อยก๊าซชนิดนี้ออกมาทางการหายใจสูงกว่าคนปกติ ดังนั้นจึงดึงดูดให้ยุงมากัดได้ดี
คนที่มีอุณหภูมิร่างกายสูง
ยุงมีเส้นขนประมาณ 2,000 เส้นที่อยู่ที่หนวดของมัน ซึ่งทำหน้าที่เป็นประสาทสัมผัสที่ทำให้มันรับรู้ว่าใครมีอุณหภูมิร่างกายสูงได้ โดยปกติทารกและเด็กและหญิงมีครรภ์จะมีอุณหภูมิสูงกว่าคนปกติ อีกทั้งคนที่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มีอุณหภูมิร่างกายสูงขึ้น ทำให้ยุงมักจะเลือกกัดคนเหล่านี้ก่อน
คนใส่เสื้อสีดำหรือสีกรมท่า
ยุงไม่สามารถแยกแยะสีได้เหมือนคน แต่จะแยกแยะสีจากความยาวของคลื่นแสง ทำให้พวกมันแยกสีดำหรือสีกรมท่าได้อย่างชัดเจน โดยมีการทดลองพบว่ายุงจะไปกัดคนที่ใส่เสื้อสีดำมากกว่าคนใส่เสื้อขาวถึง 10 เท่า
กลิ่นเหงื่อและกลิ่นเท้า
ประสาทสัมผัสของยุงไวต่อกรดแลคติกและกรดไขมันที่อยู่ในกลิ่นเหงื่อได้ดี อีกทั้งกลิ่นจากฝ่าเท้าก็เป็นอีกกลิ่นที่ดึงดูดให้ยุงเข้ามากัด
วิธีการหลีกเลี่ยงไม่ให้ยุงกัด
กำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงโดยขจัดแอ่งน้ำเล็กๆ ซึ่งอาจจะเป็นที่วางไข่ของยุงที่อยู่รอบบ้าน
หากต้องเข้าไปในแหล่งที่มียุงเยอะ เช่น พุ่มไม้ สวนสาธารณะ หรือในสวนที่แสงอาทิตย์ส่องไม่ถึง ควรใส่เสื้อผ้าที่ปกคลุมร่างกายมิดชิดและหลีกเลี่ยงการใส่เสื้อสีดำ แต่ให้เลือกใส่เสื้อสีขาว สีครีม หรือสีเหลืองแทน
หมั่นเช็ดทำความสะอาดเอากลิ่นเหงื่อออกจากร่างกายหรือใช้สเปรย์ดับกลิ่นกาย ดูแลทำความสะอาดเท้าและใช้สเปรย์ดับกลิ่นเท้า เป็นต้น
ใช้ผลิตภัณฑ์ไล่ยุงที่มีส่วนผสมของน้ำมันหอมระเหยจากสมุนไพร ได้แก่ เลมอน ยูคาลิปตัส ตะไคร้หอม เจอราเนียม เปปเปอร์มินต์ หรือลาเวนเดอร์ เป็นต้น ผลิตภัณฑ์เหล่านี้จะปลอดภัย เหมาะสำหรับเด็กและทารก
ใช้ผลิตภัณฑ์สเปรย์ เจล หรือโลชั่นกันยุงที่มีส่วนผสมของสารอิคาริดิน (Icaridin) ตั้งแต่ 10-15 เปอร์เซ็นต์ สารชนิดนี้มีประสิทธิภาพในการไล่ยุงโดยไม่ทำให้เกิดอาการระคายเคืองต่อผิวหนังและดวงตา ไม่มีกลิ่นฉุน และไม่ละลายพลาสติก อีกทั้งยังระเหยออกจากผิวช้ากว่าสารที่ใช้กันทั่วไป จึงทำให้คงประสิทธิภาพการไล่ยุงได้นานอย่างน้อย 6 ชั่วโมง
หมั่นดูแลไม่เปิดหน้าต่างหรือประตูให้ยุงเข้าบ้าน และอาจจะใช้ผลิตภัณฑ์ขับไล่ยุงทั้งแบบเสียบกับปลั๊กไฟหรือยากันยุงแบบขดที่ทำจากส่วนผสมของสารไพรีทรอยด์ (Pyrethroid) ซึ่งมีฤทธิ์ยาฆ่ายุงโดยไม่เป็นอันตรายต่อมนุษย์


สรุป

นอกจากยุงกัดจะทำให้เรามีแผลแสบๆ คันๆ ไปหลายวัน ยังเป็นสาเหตุของโรคติดต่อมากมาย (แตกต่างไปตามสายพันธุ์ของยุง) เช่น ไข้เลือดออก ไข้สมองอักเสบ มาลาเรีย เท้าช้าง หรือแม้กระทั่งไวรัสซิกาได้ เพราะฉะนั้นอย่ามองว่าเรื่องยุงกัดเป็นเรื่องขำๆ เดี๋ยวก็หายอีกต่อไป ระวังอย่าให้โดนยุงกัดจะดีกว่าค่ะ

แหล่งที่มา

https://www.sanook.com/health/

https://mydeedees.com/%e0%b8%a2%e0%b8%b8%e0%b8%87%e0%b8%81%e0%b8%b1%e0%b8%94-%e0%b8%84%e0%b8%99%e0%b8%95%e0%b8%b1%e0%b8%a7%e0%b9%80%e0%b8%ab%e0%b8%a1/