ความดันโลหิตต่ำ น่ากลัวหรือไม่ มีวิธีการป้องกันอย่างไร?
“ ความดันโลหิตต่ำ ” ดีกว่า “ความดันโลหิตสูง” จริงหรือ?
ค่าความดันโลหิตที่สูงกว่า 180/110 มิลลิเมตรปรอท เป็นสัญญาณของความเสียหายของอวัยวะ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หากมีอาการอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น เจ็บหน้าอก หายใจลำบาก ปวดหลัง ชา/อ่อนแรง การมองเห็นเปลี่ยนไปหรือพูดลำบาก ต้องรีบไปพบแพทย์ทันที
ผู้ที่มีความดันโลหิตสูง หากปล่อยทิ้งไว้ให้อยู่ในระดับเดิมนานๆ มีโอกาสเป็นโรคหัวใจตีบตันเพิ่มขึ้น 3-4 เท่า และโรคหลอดเลือดสมองตีบตัน 7 เท่า เมื่อเทียบกับผู้ที่มีค่าความดันปกติ
ภาวะ ความดันโลหิตต่ำ เมื่อเปลี่ยนท่า Orthostatic Hypotension อาจทำให้เกิดอาการวิงเวียนศีรษะและเป็นลม เนื่องจากสมองได้รับเลือดไม่เพียงพอ และบ่งบอกถึงปัญหาและอาการร้ายแรงอาจถึงแก่ชีวิตได้
ผู้ที่มีค่า “ความดันโลหิตต่ำ” มักจะคิดว่ามีสุขภาพดี ไม่มีปัญหา แต่ในความจริงแล้วทั้งความดันโลหิตสูงและความดันโลหิตต่ำ ต่างมีความเสี่ยงต่อโรคแทรกซ้อน ที่สามารถนำไปสู่ปัญหาสุขภาพที่อันตรายได้ในที่สุด
วิธีรักษา ” ความดันโลหิตต่ำ ” ด้วยตัวเองแบบคนญี่ปุ่น
คนจำนวนมากมักจะกังวลเกี่ยวกับความดันโลหิตสูงโดยลืมคิดว่าภาวะความดันโลหิตต่ำก็เป็นหนึ่งในปัญหาสุขภาพที่หากไม่ได้รับการดูแลก็นำไปสู่อันตรายต่อชีวิตได้เช่นกัน มารู้สาเหตุที่ทำให้ความดันโลหิตต่ำ และวิธีการดูแลตัวเองให้หายจากโรคแบบคนญี่ปุ่นกัน
อาการและสาเหตุของความดันโลหิตต่ำ
อาการสำคัญของคนมีภาวะความดันโลหิตต่ำ คือ หน้ามืด เวียนศีรษะ โดยเฉพาะในตอนที่เปลี่ยนอิริยาบถอย่างกะทันหัน ปวดศีรษะเล็กน้อย หนาวง่าย และมีค่าความดันโลหิตต่ำกว่า 90/60 มิลลิเมตรปรอท โดยสาเหตุนั้นอาจจะมาจาก
การอดอาหารเพื่อลดน้ำหนักและการรับประทานอาหารที่ไม่ครบถ้วนตามคุณค่าทางโภชนาการ จนทำให้ขาดสารอาหารที่จำเป็นสำหรับการสร้างเม็ดเลือดแดงและเสริมสร้างความแข็งแรงของร่างกาย
ความเครียดที่ติดต่อกันยาวนานจนส่งผลให้ระบบประสาทอัตโนมัติทำงานผิดปกติ
ความไม่สมดุลของฮอร์โมนในร่างกายโดยเฉพาะในผู้หญิงวัยทอง
การใช้ยารักษาโรคประจำตัวบางชนิด เช่น ยาลดความดันโลหิตสูง ยาขับปัสสาวะ และยาต้านอาการซึมเศร้า
ภาวะทางร่างกายบางอย่างที่มีผลต่อความดันโลหิต เช่น การตั้งครรภ์ ภาวะโลหิตจาง และโรคหัวใจ เป็นต้น
วิธีการดูแลบำบัดภาวะความดันโลหิตต่ำได้ด้วยตนเอง
ความดันโลหิตต่ำนั้นเป็นผลจากการใช้ชีวิตประจำวันที่ไม่สมดุล ซึ่งสามารถรักษาให้หายได้ด้วยตนเองโดยวิธีการปฏิบัติดังต่อไปนี้
ตื่นเช้าเข้านอนเร็ว
การตื่นเช้าเข้านอนเร็ว ไม่เครียดง่าย และหลีกเลี่ยงการนอนดึกจะช่วยคงสภาวะที่ปกติของระบบประสาทอัตโนมัติ ส่งผลในการทำให้อาการความดันโลหิตต่ำค่อยๆ ดีขึ้น
อาบน้ำอุ่น
การอาบและแช่น้ำอุ่นนอกจากจะช่วยลดความเครียดและความเหน็ดเหนื่อยจากการทำงานแล้วก็ยังช่วยให้ระบบการไหลเวียนเลือดดี ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการทำให้ร่างกายมีความดันโลหิตที่เป็นปกติ
ออกกำลังกายอย่างเหมาะสม
การไหลเวียนเลือดไปสู่ปลายแขนและขาไม่ดี เป็นอีกหนึ่งสาเหตุของความดันโลหิตต่ำ การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เช่น การเดินเร็วและเดินขึ้นลงบันได เป็นต้น จะช่วยยืดกล้ามเนื้อน่อง ส่งผลให้การไหลเวียนเลือดดีขึ้น
รับประทานอาหารให้ครบ 3 มื้อ
คนที่เป็นความดันโลหิตต่ำมักจะอ่อนแอและอ่อนแรงในตอนเช้า การรับประทานอาหารให้ครบห้าหมู่ทั้ง 3 มื้อจะทำให้ร่างกายรับสารอาหารที่ช่วยให้การไหลเวียนเลือดดีขึ้น ทั้งนี้การรับประทานอาหารเช้าจะช่วยเพิ่มอุณหภูมิของร่างกายซึ่งจะช่วยให้การไหลเวียนเลือดดีขึ้น และช่วยให้การเผาผลาญพลังงานของร่างกายดีขึ้น ส่งผลในการบรรเทาอาการตัวเย็นได้ดี
ดื่มน้ำให้เพียงพอ
หากร่างกายขาดน้ำจะทำให้ปริมาณน้ำที่ไหลเวียนในหลอดเลือดลดลง ส่งผลให้ความดันเลือดลดลง ซึ่งเป็นสาเหตุของดันโลหิตต่ำ ดังนั้นในหนึ่งวันควรดื่มน้ำให้เพียงพอเพื่อป้องกันไม่ให้ความดันของร่างกายลดลง นอกจากนี้การดื่มน้ำที่พอเพียงจะช่วยเสริมการเผาผลาญพลังงานของร่างกายด้วย
รับประทานอาหารร้อน
ผู้ที่มีภาวะความดันโลหิตต่ำมักจะรู้สึกหนาวเนื่องจากอุณหภูมิของร่างกายต่ำกว่าคนปกติ ดังนั้นจึงควรหลีกเลี่ยงอาหารการรับประทานอาหารแช่เย็นหรือผักสด แต่ควรรับประทานซุปผักร้อนๆ และอาหารที่ปรุงสุกใหม่
รับประทานอาหารที่ย่อยได้ง่าย
อีกหนึ่งปัญหาของผู้มีภาวะความดันโลหิตต่ำคือ ระบบย่อยอาหารทำงานไม่ค่อยดี ทำให้ท้องอืดได้ง่าย ดังนั้นจึงควรรับประทานอาหารที่ย่อยง่าย เคี้ยวอาหารให้ละเอียด และหลีกเลี่ยงการดื่มกินที่มากเกินไป
ใช้เครื่องเทศและสมุนไพรปรุงอาหาร
เครื่องเทศปรุงรสอาหาร เช่น ผงกะหรี่ พริกไทย พริกป่น และสมุนไพร เช่น ขิงและกระเทียม เป็นต้น จะช่วยทำให้ร่างกายอุ่นขึ้น
รับประทานอาหารที่อุดมไปด้วยโปรตีนและธาตุเหล็ก
โปรตีนที่รับประทานเข้าไปจะถูกนำไปสร้างกล้ามเนื้อและเลือดซึ่งจะช่วยเพิ่มอุณหภูมิของร่างกาย อีกทั้งธาตุเหล็กที่รับประทานเข้าไปจะช่วยป้องกันโรคโลหิตจางได้ดี แหล่งอาหารที่อุดมไปด้วยโปรตีนและธาตุเหล็กได้แก่ เนื้อสัตว์ อาหารทะเล ผลิตภัณฑ์นม ไข่ และถั่วเหลือง เป็นต้น
รับประทานอาหารที่อุดมไปด้วยวิตามินอี
วิตามินอีจะช่วยให้การไหลเวียนเลือดดี ส่งผลในการเพิ่มความดันโลหิต บรรเทาอาการตัวเย็นและไหล่แข็งได้ดี อาหารที่อุดมไปด้วยวิตามินอี ได้แก่ ฟักทอง บร็อคโคลี่ พริกหวาน ถั่วต่างๆ และอะโวคาโด เป็นต้น
รับประทานอาหารที่อุดมไปด้วยวิตามินบี
เมื่อระบบการไหลเวียนเลือดแย่ลงเนื่องมาจากความดันโลหิตต่ำ วิตามินบีจึงเป็นวิตามินจำเป็นที่ร่างกายนำมาใช้สร้างพลังงานจากสารอาหารที่รับประทานเข้าไป ดังนั้นจึงควรหมั่นรับประทานอาหารที่อุดมไปด้วยวิตามินบีซึ่งมีมากในอาหารดังนี้คือ ผักใบเขียวและเหลือง ปลา เนื้อสัตว์ ไข่ ผลิตภัณฑ์นม และโปรตีนจากถั่วเหลือง เป็นต้น
ความดันต่ำ เมื่อไหร่ที่ควรพบแพทย์
แม้บางคนมองว่าอาการวิงเวียนศีรษะหรือหน้ามืดเป็นครั้งคราวอาจเป็นปัญหาเล็กน้อย เช่น เป็นผลมาจากภาวะขาดน้ำเล็กน้อย หรือน้ำในอ่างอาบน้ำร้อนเกินไป แต่จะเห็นได้ว่าอาการที่เกิดขึ้นเหล่านี้ ร่างกายอาจกำลังบอกอะไรกับเราก็ได้ ดังนั้น จึงไม่ควรชะล่าใจ แต่ควรรีบไปพบแพทย์โดยเร็ว ทั้งนี้ หากมีอาการวิงเวียนหรือหน้ามืดเวลาลุกขึ้นยืน ควรวัดความดันในท่ายืนด้วย โดยเริ่มต้นวัดความดันในท่านอนก่อน หลังจากนั้นลุกขึ้นยืน วัดความดันภายในเวลา 1 และ 3 นาทีหลังจากลุกขึ้นยืน หากความดันโลหิตตัวบนในท่ายืนต่ำกว่าท่านอน ≥ 20 mmHg แสดงถึงภาวะความดันโลหิตต่ำเมื่อเปลี่ยนท่า (Orthostatic Hypotension) ซึ่งอาจทำให้เกิดอาการวิงเวียนศีรษะและเป็นลมได้ เนื่องจากสมองไม่ได้รับเลือดเพียงพอ และบ่งบอกถึงปัญหาและอาการที่ร้ายแรงอาจถึงแก่ชีวิตที่ตามมาได้ ได้แก่
เกิดความสับสนโดยเฉพาะในผู้สูงอายุ
ตัวซีด เย็น
หายใจเร็วและตื้น
ชีพจรเต้นอ่อน หรือเต้นเร็วผิดปกติ
มีอาการช็อก
สรุป
ความดันโลหิตต่ำเป็นโรคที่รักษาได้ด้วยตนเองจากการเปลี่ยนพฤติกรรมของเราเอง หากปฏิบัติดังข้างต้นอย่างสม่ำเสมออาการที่เกิดจากความดันโลหิตต่ำจะค่อยๆ หายไปเอง อย่างไรก็ดี หากรู้สึกว่าหน้ามืดหรือวิงเวียนศีรษะหนักขึ้นก็ควรรีบไปปรึกษาแพทย์
แหล่งที่มา
https://www.sanook.com/health/
https://mydeedees.com/%e0%b8%84%e0%b8%a7%e0%b8%b2%e0%b8%a1%e0%b8%94%e0%b8%b1%e0%b8%99%e0%b9%82%e0%b8%a5%e0%b8%ab%e0%b8%b4%e0%b8%95%e0%b8%95%e0%b9%88%e0%b8%b3-%e0%b8%94%e0%b8%b5%e0%b8%81%e0%b8%a7%e0%b9%88%e0%b8%b2%e0%b8%aa/
|