ครูหนี้ซ้ำซ้อน ครูโคราชถกเครียด หักเงินเดือนแล้วยังติดลบ นับพันเงินเหลือไม่ถึง 30%
ครูหนี้ซ้ำซ้อน โคราชยังถก ‘หนี้ครู’ เครียด เจอเพียบหักเงินเดือนแล้วติดลบ ผงะเงินเหลือใช้ไม่ถึง 30%
เมื่อเวลา 09.30 น. วันที่ 19 มิถุนายน ที่ห้องประชุมราชพฤกษ์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 1 (สพป.นม.1) นายภูมิสิทธิ์ วังคีรี รอง ผู้ว่าฯนครราชสีมา เป็นประธานจัดประชุมคณะกรรมการแก้ไขปัญหาหนี้สินครูและบุคลากรทางการศึกษาจังหวัดนครราชสีมา
โดยมีนายบุญธรรม เดชบุญ ประธานคณะกรรมการสหกรณ์ออมทรัพย์ครูนครราชสีมา (สอค.นม.) พร้อมนางอรณี กระจ่างโพธิ์ แกนนำเครือข่ายภาคประชาสังคมว่าด้วยการแก้ไขปัญหาหนี้สินครู ผู้แทนสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาทั้งระดับประถม มัธยมและเอกชนและกลุ่มลูกหนี้ส่วนใหญ่เป็นข้าราชการครูบำนาญที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาหนี้สินกับสหกรณ์ออมทรัพย์และสถาบันการเงินร่วมประชุมหารือวาระการดำเนินงานตามที่คณะรัฐมนตรีมีมติให้หน่วยงานรัฐช่วยเหลือแก้ไขปัญหาหนี้สินให้ทุเลาลง เพื่อให้ให้ครูมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
ครูหนี้ซ้ำซ้อน ปัจจุบันยังไม่ได้ดำเนินการเป็นรูปธรรม
หากปล่อยปละละเลยจะมีครูเข้าสู่กระบวนการถูกฟ้องล้มละลายนำไปสู่การขายทอดตลาดทั้งที่ดินและสินทรัพย์ต่างๆ เพื่อชำระหนี้สิน หากไม่พอมูลหนี้ครูค้ำประกัน 5 คน ต้องเฉลี่ยชดใช้หนี้แทนด้วย
ทั้งนี้เป็นเวลากว่า 3 ชั่วโมง สิ่งที่สามารถขับเคลื่อนได้คือการชะลอการฟ้องร้องคดีแต่ลูกหนี้ต้องไปเจรจากับเจ้าหนี้ ส่วนข้อเสนอหักเงินเดือนใช้หนี้ 70% โดยนำไปเฉลี่ยชำระหนี้แต่ละราย คงเหลือ 30% เพื่อเป็นเงินดำรงชีพตามคำพิพากษาศาลปกครอง วันที่ 26 กันยายน 2562 นายบุญธรรม ประธาน สอค.นม.ในฐานะเจ้าหนี้รายใหญ่ที่ปล่อยเงินกู้ให้สมาชิกสามัญซึ่งเป็นครูและบุคลากรทางการศึกษาในพื้นที่ 32 อำเภอ ของ จ.นครราชสีมา จำนวนกว่า 2 หมื่นคน ระบุข้อตกลงกับลูกหนี้ได้ยินยอมให้ สอค.นม.สามารถหักหนี้ได้เป็นลำดับต้นๆ
ครูหนี้ซ้ำซ้อน ซึ่งเงินที่หักถือเป็นเงินต้นและดอกเบี้ยมิได้ทุจริตหรือเข้ากระเป๋าใคร
จึงมิใช่ 30% ทิพย์ตามที่สังคมเข้าใจแต่อย่างใด ส่วนการขยายระยะเวลางวดชำระหนี้และลดดอกเบี้ยการรวมหนี้จากสัญญาเงินกู้เป็นฉบับเดียวรวมทั้งนำมูลค่าหุ้นของสมาชิกสามัญที่ไม่ประสงค์ต้องการเงินปันผลเฉลี่ยคืนแต่ละปี นำมาหักยอดเงินกู้ รับข้อเสนอไว้พิจารณานำเข้าที่ประชุมขอมติดำเนินการโดยชอบ
ดร.กิตติพงศ์ โด่งพิมาย ผู้อำนวยการ สพป.นม.1 เปิดเผยว่า โจทย์สำคัญต้องหารือกับสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ กรณีเงินเดือน 70% นำไปเฉลี่ยให้กับสถาบันการเงินที่เป็นเจ้าหนี้ หลายเขตพื้นที่การศึกษามีข้อปฏิบัติไม่ชัดเจนและข้อเสนอต่างๆ ถือเป็นแนวทางที่ดีในการช่วยเหลือเยียวยาความเดือดร้อน
ดร.ขจร ธนะแพสย์ ผู้อำนวยการกลยุทธ์องค์กรธนาคารแห่งประเทศไทย ในฐานะคณะกรรมการกำกับแก้ไขปัญหาหนี้สินของประชาชนรายย่อย กล่าวว่า การแก้ไขปัญหาหนี้สินของข้าราชการครูเป็น 1 ใน 8 เรื่อง ที่คณะกรรมการขับเคลื่อนผลักดันมาโดยตลอด
สะท้อนปัญหาความเดือดร้อนครูโคราชกว่า 2 หมื่นคน
แต่ไม่ยอมส่งข้อมูลให้เกรงจะเสียชื่อเสียง ซึ่งมี 364 คน เข้าร่วมโครงการ พบเงินเดือนติดลบ 124 คน เหลือไม่ถึง 20% จำนวน 166 ราย ทั้งหมดไม่มีศักยภาพชำระหนี้ ซึ่งการกู้ยืมไม่ควบคุมยอดเงินกู้อย่างเหมาะสม รวมทั้งลูกหนี้ สอค.นม. ไม่เข้าบรรจุในฐานข้อมูลเครดิตบูโรทำให้การควบคุมเกิดขึ้นไม่ได้ หลายรายจึงมีหนี้ซ้ำซ้อนกับสถาบันการเงิน
สรุป
ขณะนี้มีหลายเขตพื้นที่การศึกษาไม่ได้ปฏิบัติตามระเบียบ เงินถูกหักจึงเหลือไม่ถึง 30% ประเมินมีครูโคราชที่เป็นลูกหนี้จำนวนนับพันคนกำลังประสบปัญหานี้ ฝากถึงรัฐบาลชุดใหม่ต้องบังคับใช้กฎหมายและกำหนดโทษอย่างเคร่งครัด เพื่อแก้ปัญหาความเดือดร้อน
นางธัญภร กาดขุนทด ครูบำนาญ กล่าวว่า ปี 2551 กู้เงินโครงการ ช.พ.ค. จำนวน 1.2 ล้านบาท หักชำระหนี้เดือนละ 7,500 บาท จนเกษียณอายุราชการ ปี 2562 จากนั้นลดยอดส่งชำระเดือนละ 3,000-5,000 บาท รวมแล้วประมาณกว่าล้านบาท ล่าสุดตรวจสอบยอดหนี้เหลือเงินต้น 1,100,000 บาท ลดเพียง 100,000 บาท
อ้างอิง
https://www.matichon.co.th/
https://have-a-look.net/2023/06/19/%e0%b8%84%e0%b8%a3%e0%b8%b9%e0%b8%ab%e0%b8%99%e0%b8%b5%e0%b9%89%e0%b8%8b%e0%b9%89%e0%b8%b3%e0%b8%8b%e0%b9%89%e0%b8%ad%e0%b8%99-%e0%b8%ab%e0%b8%b1%e0%b8%81%e0%b9%80%e0%b8%87%e0%b8%b4%e0%b8%99%e0%b9%80/
|