[x] ปิดหน้าต่างนี้
ยินดีต้อนรับคุณ บุคคลทั่วไป   
English Chinese (Simplified) Chinese (Traditional) French German Italian Japanese Korean Portuguese Russian Spanish Vietnamese Thai     
ค้นหา   
เมนูหลัก
ติดต่อสอบถาม
blog สมาชิก
สถิติผู้เขียน blog 10 อันดับ
wave
[ มือใหม่ ]
2
admin
[ มือใหม่ ]
2
orean
[ มือใหม่ ]
2
KAT
[ มือใหม่ ]
1
yuy
[ มือใหม่ ]
1
aTon
[ มือใหม่ ]
1
fang
[ มือใหม่ ]
1
film
[ มือใหม่ ]
1
mild
[ มือใหม่ ]
1
Donus
[ มือใหม่ ]
1
บทความ blog ล่าสุดโดย
เพลงคริสต์มาสtortae
การดูแลรักษาสุภาพ ให้แข็งแรงaTon
ประเพณีวันเข้าพรรษาmild
พบจุดที่หนาวที่สุดในโลกเเห่งใหม่ !!orean
พบจุดที่หนาวที่สุดในโลกเเห่งใหม่ !!orean
อาเซียนDonus
การวาดภาพสีนำ้lovepop-123456
อาเซียนmikekung02
ลดความอ้วนสูตรนางเอก 5 กิโลกรัมใน 1 สัปดาห์yuy
ปรากฏการณ์ธรรมชาติMin-Mintra
ไลน์ โรงเรียนศรัทธาฯ

ติดต่อ สอบถาม

poll

   คุณคิดว่าเวปนี้เป็นอย่างไร


  1. ดีมาก
  2. ดี
  3. ปานกลาง
  4. แย่
  5. แย่มาก

  

   เว็บบอร์ด >> >>
จริงหรือ? ผู้ที่เป็น โรคหัวใจ สามารถมี sex ได้แบบปกติ  VIEW : 64    
โดย หยาด

UID : ไม่มีข้อมูล
โพสแล้ว : 576
ตอบแล้ว : 2
เพศ :
ระดับ : 19
Exp : 49%
เข้าระบบ :
ออฟไลน์ :
IP : 125.25.50.xxx

 
เมื่อ : พฤหัสบดี ที่ 22 เดือน มิถุนายน พ.ศ.2566 เวลา 11:20:09   

ผู้ที่เป็น โรคหัวใจ สามารถมีsexได้จริงหรือ?
ก่อนจะพูดถึง โรคหัวใจ มาทำความเข้าใจเกี่ยวกับหหัวใจกันก่อน หัวใจ เป็นอวัยวะที่มีความสำคัญมาก โครงสร้างเกือบทั้งหมดเป็นกล้ามเนื้อ มีขนาดประมาณกำปั้นมือของผู้เป็นเจ้าของ วางอยู่ในทรวงอกค่อนมาทางด้านซ้าย ทำหน้าที่เป็นเครื่องสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกาย หัวใจเต้นประมาณ 70-80 ครั้งต่อนาทีตลอดชีวิต ไม่เคยเหน็ดเหนื่อยเลย เครื่องสูบฉีดคู่
จริงๆ แล้วหัวใจจะทำหน้าที่คล้ายเครื่องสูบฉีด 2 เครื่องที่อยู่ติดกัน โดยแบ่งเป็นเครื่องสูบฉีดซีกขวาเครื่องหนึ่ง และเครื่องสูบฉีดซีกซ้ายอีกเครื่องหนึ่ง โดยแต่ละซีกแยกการสูบฉีดเลือดออกจากกันอย่างสมบูรณ์ หัวใจซีกขวาสูบฉีดเลือดดำหรือเลือดที่ผ่านการใช้แล้วไปฟอกที่ปอด ในขณะที่หัวใจซีกซ้ายสูบฉีดเลือดแดงหรือเลือดที่ผ่านการฟอกจากปอดแล้วไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกาย
หัวใจแต่ละซีกมี 2 ห้อง หัวใจห้องบนเรียกชื่อว่า เอเทรียม (atrium) หัวใจห้องล่างเรียกว่าเวนทริเคิล (ventricle) เอเทรียมขวาทำหน้าที่รับเลือดจากหลอดเลือดดำ ในขณะที่เอเทรียมซ้ายทำหน้าที่รับเลือดแดงจากปอด แล้วจะบีบตัวพร้อมกันเพื่อขับเลือดเข้าไปในเวนทริเคิล โดยเลือดดำเข้าเวนทริเคิลขวาและเลือดแดงเข้าเวนทริเคิลซ้ายภายหลังรับเลือด เวนทริเคิลทั้ง 2 ข้างจะฉีดเลือดพร้อมกัน โดยเวนทริเคิลขวาจะฉีดเลือดดำไปยังปอดเพื่อฟอกให้เป็นเลือดแดง และเวนทริเคิลซ้ายจะฉีดเลือดไปส่วนต่างๆ ของร่างกายเพื่อให้นำไปใช้ในการทำงาน ผนังของเวนทริเคิลทั้ง 2 ข้างจะหนากว่าผนังของเอเทรียมทั้ง 2 ข้างมาก เพราะต้องออกแรงฉีดเลือดแรงกว่าเอเทรียมทั้ง 2 ข้าง ระหว่างเอเทรียมกับเวนทริเคิลแต่ละด้านจะมี ลิ้นหัวใจ คอยเปิดปิดอยู่ เมื่อเอเทรียมบีบตัวขับเลือดลงมายังเวนทริเคิล ลิ้นหัวใจจะเปิดออกเพื่อให้เลือดไหลลงมาได้ แต่เมื่อเวนทริเคิลบีบตัวขับเลือดไปยังปอดหรือส่วนต่างๆ ของร่างกาย ลิ้นหัวใจจะปิดเพื่อป้องกันไม่ให้เลือดไหลย้อนกลับเข้าไปในเอเทรียม ลิ้นหัวใจที่ปิดระหว่างหัวใจห้องบนขวาและล่างขวาเรียกชื่อว่า ลิ้นไทรคัสพิด (Tricuspid valve) ส่วนลิ้นหัวใจที่ปิดระหว่างหัวใจห้องบนซ้ายและล่างซ้ายเรียกชื่อว่า ลิ้นไมทรัล (Mitral valve)

โรคหัวใจ
โรคหัวใจมีมากมายหลายชนิด ทั้งชนิดที่เป็นความพิการมาตั้งแต่เกิด หรือเป็นโรคที่เกิดขึ้นในภายหลัง

โรคหัวใจที่เป็นความพิการแต่กำเนิด
เช่น ผนังระหว่างหัวใจซีกซ้ายและขวามีรูรั่วถึงกัน ทำให้เลือดดำและเลือดแดงมาผสมกัน ห้องหัวใจเวนทริเคิลมีขนาดเล็กกว่าปกติ ทำให้หัวใจสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงร่างกายได้น้อยกว่าปกติ
สาเหตุของโรคในกลุ่มนี้มักจะเกิดขึ้นตั้งแต่ตัวผู้ป่วยเป็นทารกอยู่ในครรภ์ของแม่ตัวเอง แล้วคุณแม่ของผู้ป่วยมีปัญหาบางประการ เช่น ไปรับประทานยาที่มีอันตรายบางชนิด หรือมีการติดเชื้อโรคบางชนิด เช่น หัดเยอรมัน เป็นต้น ซึ่งปัญหาดังกล่าวทำให้ตัวผู้ป่วยเกิดความพิการของหัวใจในที่สุด

โรคที่เกิดขึ้นภายหลัง
เช่น โรคลิ้นหัวใจตีบ ทำให้เลือดไหลจากเอเทรียมลงมายังเวนทริเคิลได้น้อย โรคลิ้นหัวใจรั่ว ทำให้เลือดไหลย้อนกลับจากเวนทริเคิลไปเอเทรียม ทั้งสองกรณีนี้ จะทำให้เลือดถูกสูบฉีดไปเลี้ยงร่างกายได้น้อยลง ทำให้ผู้ป่วยมีอาการอ่อนเพลียเหนื่อยง่าย และถ้าเป็นนานอาจทำให้หัวใจวายตายได้
สาเหตุของโรคในกลุ่มนี้มักเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียบางชนิด ซึ่งเมื่อเข้าไปในเลือดแล้ว สามารถไปเกาะและทำลายลิ้นหัวใจได้ ทำให้ลิ้นหัวใจที่เคยเป็นเนื้อเยื่อที่ยืดหยุ่นได้ดีคล้ายประตูที่เปิดปิดได้สนิท กลายเป็นประตูที่ฝืดมาก เปิดได้ไม่เต็มที่ (กรณีเป็นโรคลิ้นหัวใจตีบ) หรือเปิดได้มากเกินไปจนปิดกั้นอะไรไม่ได้ (กรณีเป็นโรคลิ้นหัวใจรั่ว)

ผู้ที่เป็น โรคหัวใจ อาจมีคำถามว่า สามารถมีเซ็กซ์ได้หรือไม่ ซึ่งสมาคมโรคหัวใจแห่งสหรัฐอเมริกา ให้ข้อมูลว่า ค่อนข้างปลอดภัยหากผู้ที่เป็นโรคหัวใจ ต้องการมีเพศสัมพันธ์ในกรณีที่อาการของโรคคงที่ แต่อย่างไรก็ตาม ควรปรึกษาแพทย์ก่อนการมีเพศสัมพันธ์ นอกจากนี้คุณยังสามารถศึกษาข้อมูลโรคหัวใจ กับการมีเพศสัมพันธ์ ใน Hello คุณหมอ ดังนี้

ผู้ป่วย โรคหัวใจ มีเซ็กซ์ได้หรือไม่
หากคุณมีอาการของโรคหัวใจและหลอดเลือด ที่ไม่แน่นอน หรืออาการรุนแรง ควรรักษาอาการและรอให้อาการทรงตัวก่อน จึงค่อยมีเพศสัมพันธ์ นอกจากนี้ สำหรับผู้ที่มีอาการหัวใจล้มเหลว (Heart failure) ซึ่งเป็นหนึ่งในอาการของโรคหัวใจและหลอดเลือดนั้น การทำกิจกรรมเคลื่อนไหวเรื่องกาย อาจทำให้คุณรู้สึกเหนื่อยมากกว่าปกติ หรือหายใจสั้นๆ และแม้แต่การออกกำลังกาย ก็ยังทำให้รู้สึกเหนื่อยมาก จนผู้ที่มีภาวะหัวใจล้มเหลวอาจมีคำถามว่า สามารถมีเซ็กซ์ได้หรือไม่ การมีเพศสัมพันธ์ ถือเป็นรูปแบบหนึ่งของการออกกำลังกาย ที่มีระดับความหนักคล้ายกับการเดินขึ้นบันได 2-3 เที่ยว ดังนั้นผู้ที่เป็นโรคหัวใจจึงควรกังวล และควรปรึกษาแพทย์ โดยเฉพาะผู้ที่เพิ่งผ่านการผ่าตัดหัวใจ นอกจากนี้ การกินยาเพื่อรักษาโรค ยังอาจมีผลข้างเคียง คือทำให้ความต้องการทางเพศลดลง เนื่องจากประมาณ 60-87% ของผู้ที่เกิดภาวะหัวใจล้มเหลว ให้ข้อมูลว่าพวกเขามีปัญหาเรื่องทางเพศ

ผู้ป่วยโรคหัวใจมีเรื่องอะไรบ้าง ที่ต้องกังวล
มีเพศสัมพันธ์อาจไม่ปลอดภัย หากต้องการมีเพศสัมพันธ์ ควรปรึกษาแพทย์ เนื่องจากการมีเซ็กซ์แบบสอดใส่ อาจไม่ปลอดภัยสำหรับผู้ที่เป็นโรคหัวใจ เช่น หัวใจล้มเหลว หรือในกรณีที่เพิ่งผ่าตัดหัวใจภายใน 1-2 สัปดาห์ แต่การจูบและการสัมผัสถือว่าทำได้ ดังนั้นจึงควรหยุดพักการมีเซ็กซ์ก่อน จนกระทั่งคุณหมอบอกว่าอาการทรงตัวแล้ว โดยคุณอาจเริ่มด้วยการจูบและการสัมผัส และดูแลตัวเองด้วยการกินยาตามที่คุณหมอสั่ง และไม่ควรหยุดกินยาเพราะกลัวผลข้างเคียงที่อาจกระทบกับการมีเพศสัมพันธ์ เพิ่มเติมไปกว่านั้น ไม่ควรกินยากระตุ้นอารมณ์ทางเพศ ไม่ควรกินยาสมุนไพร หรืออาหารเสริมที่กระตุ้นอารมณ์ทางเพศ และถ้าคุณมีปัญหาเรื่องสมรรถภาพทางเพศ ควรปรึกษาแพทย์ รวมถึงไม่ควรซื้อยาเพื่อรักษาอาการเอง

โรคหัวใจ กับการตั้งครรภ์

ปกติการตั้งครรภ์เองก็ทำให้คุณแม่มีความเสี่ยงอยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็นการเสี่ยงต่อการที่จะเจ็บท้องแล้วไม่ยอมคลอด ตกเลือดหลังคลอด เสี่ยงต่อการผ่าตัดคลอด ฯลฯ แต่ถ้ามีโรคหัวใจร่วมด้วยความเสี่ยงก็จะยิ่งเพิ่มขึ้น
ผลต่อแม่

ขณะตั้งครรภ์ปริมาณเลือดในร่างกายของคุณแม่จะเพิ่มมากขึ้นถึงประมาณ 1 ลิตรเลยทีเดียว ทั้งนี้เพื่อนำส่วนหนึ่งไปเลี้ยงลูกด้วย การเพิ่มปริมาณของเลือดเช่นนี้ในคุณแม่ที่ปกติจะไม่มีปัญหาอะไร แต่ในคุณแม่ที่เป็นโรคหัวใจ การที่ต้องแบกรับปริมาณเลือดที่เพิ่มขึ้นจะทำให้มีโอกาสหัวใจวายและเสียชีวิตได้ง่ายขึ้น

ผลต่อลูกในครรภ์

สำหรับลูกน้อยในครรภ์ที่มีการเจริญเติบโตขึ้นทุกวัน ก็มีความต้องการเลือดไปเลี้ยงมากขึ้นด้วยเช่นกัน ผลดังกล่าวทำให้หัวใจของคุณแม่ต้องพยายามสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงลูกมากขึ้น ในคุณแม่ที่เป็นโรคหัวใจ ประสิทธิภาพของหัวใจจะลดลงทำให้สูบฉีดเลือดไปเลี้ยงลูกได้ไม่มากพอ ลูกของคุณแม่ที่เป็นโรคหัวใจจึงมักมีการเจริญเติบโตได้น้อยกว่า ลูกของคุณแม่ที่ปกติ ซึ่งผลดังกล่าวจึงมักทำให้ลูกของคุณแม่ที่เป็นโรคหัวใจคลอดออกมาตัวเล็กกว่าปกติ

เป็นโรคหัวใจตั้งครรภ์ได้ไหม? มีผลกระทบอะไรบ้าง
อย่างที่ทราบกันว่าคุณแม่ที่เป็นโรคเบาหวาน ความดัน และโรคหัวใจที่ตั้งครรภ์มีความเสี่ยงที่จะมีอาการครรภ์เป็นพิษสูงมากเมื่อเทียบกับคุณแม่ที่ไม่มีโรคประจำตัวหรืออาการเจ็บป่วยระหว่างการตั้งครรภ์ วันนี้เราจะมาอธิบายถึงสาเหตุว่าทำไมและเพราะอะไรคุณแม่ที่เป็นโรคหัวใจและตั้งครรภ์นั้นควรอยู่ภายใต้การดูแลของคุณหมออย่างใกล้ชิดและเป็นพิเศษ

1.คุณแม่ตั้งครรภ์ที่เป็นโรคหัวใจส่งผลต่อร่างกายอย่างไร?

การตั้งครรภ์นำมาซึ่งการเปลี่ยนแปลงของสรีระทางร่างกายหลายประการ รวมถึงน้ำหนักตัวที่เพิ่มมากขึ้น ทั้งน้ำหนักจากการรับประทานอาหารและน้ำหนักตัวของลูกน้อย จากเดิมที่หัวใจอ่อนแอหรือทำงานหนักอยู่แล้ว เมื่อตั้งครรภ์หัวใจจะเต้นเร็วขึ้นและทำงานหนักขึ้น ทำให้คุณแม่ที่เป็นโรคหัวใจนั้นมีอาการทรุดลงได้ง่ายมากขึ้นกว่าปกติ

2.การที่คุณแม่เป็นโรคหัวใจนั้นกระทบต่อทารกในครรภ์อย่างไร?

กรณีที่คุณแม่เป็นโรคลิ้นหัวใจผิดปกติหรือผนังกั้นห้องหัวใจมีรูรั่ว ก็มีความเป็นไปได้ว่าทารกในครรภ์อาจจะได้รับโรคนี้มาโดยการสืบทอดทางกรรมพันธุ์ คุณแม่จะทราบได้เมื่ออายุครรภ์ครบ 5 เดือนแล้ว เพราะคุณหมอจะทำการอัลตร้าซาวด์และทำการเจาะน้ำคร่ำเพื่อตรวจสอบสุขภาพของทารกในครรภ์ นอกจากนี้แล้ว ทารกในครรภ์จะมีน้ำหนักตัวน้อยมากกว่าปกติเพราะเลือดที่สูบฉีดจากหัวใจของคุณแม่ไปหล่อเลี้ยงไม่พอ

3.คุณแม่ตั้งครรภ์ที่เป็นโรคหัวใจ คลอดเองได้ไหม?

คุณแม่ที่เป็นโรคหัวใจและกำลังตั้งครรภ์อยู่สามารถคลอดธรรมชาติได้เมื่ออายุครรภ์ครบกำหนด แต่จะสามารถกระทำได้หรือไม่ได้นั้นขึ้นอยู่กับดุลยพินิจคุณหมอเฉพาะทางด้านโรคหัวใจอีกครั้งหนึ่ง

4.ผู้หญิงที่เป็นโรคหัวใจสามารถตั้งครรภ์ได้ไหม?

คุณแม่ที่เป็นโรคหัวใจนั้นสามารถตั้งครรภ์ได้แต่ต้องอยู่ภายใต้การดูแลของคุณหมอเฉพาะทางโรคหัวใจ สูตินารีแพทย์ และวิสัญญีแพทย์อย่างใกล้ชิดโรคหัวใจไม่ได้น่ากลัวหากควบคุมและดูแลรักษาร่างกายได้เป็นอย่างดี ที่สำคัญคุณแม่ห้ามลืมหรือละเลยคำแนะนำของคุณหมอ

ดังนั้นสำหรับคุณแม่ที่เป็นโรคเบาหวาน ความดัน และโรคหัวใจ ถ้าในบางครั้งไม่สบายเพียงเล็กน้อยก็ควรรีบไปพบคุณหมอโดนทันที ห้ามปล่อยให้หายเองหรือรับประทานยาเองโดยเด็ดขาด เพราะทุกการกระทำของคุณแม่นั้นส่งผลกระทบต่อทารกในครรภ์ได้ค่ะ

สรุป
ควรทำอย่างไร เพื่อให้ชีวิตรักดีขึ้น

เปิดใจและรับฟัง ความต้องการของคนรัก การสัมผัส การจูบ การกอด รวมถึงการพูดคุยกับคนรักจะทำให้ความสัมพันธ์ดีขึ้น
ออกกำลังกาย เพื่อให้ร่างกายแข็งแรง นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยที่ให้ข้อมูลว่า การออกกำลังกาย สามารถช่วยเพิ่มระดับออกซิเจน และลดอัตราการเต้นของหัวใจในระหว่างการทำกิจกรรมทางเพศ จึงทำให้การมีเพศสัมพันธ์
ปลอดภัยขึ้นและน่าพึงพอใจมากขึ้น
ดูแลตัวเอง จะช่วยให้คุณมีความสุขและมั่นใจในตัวเองมากขึ้น
ไม่ควรอายที่จะปรึกษาแพทย์ ในเรื่องการมีเพศสัมพันธ์
แหล่งที่มา

https://www.maerakluke.com/
https://www.sanook.com/

https://mydeedees.com/%e0%b9%82%e0%b8%a3%e0%b8%84%e0%b8%ab%e0%b8%b1%e0%b8%a7%e0%b9%83%e0%b8%88_%e0%b8%a1%e0%b8%b5%e0%b9%80%e0%b8%9e%e0%b8%a8%e0%b8%aa%e0%b8%b1%e0%b8%a1%e0%b8%9e%e0%b8%b1%e0%b8%99%e0%b8%98%e0%b8%b8%e0%b9%8c/