[x] ปิดหน้าต่างนี้
ยินดีต้อนรับคุณ บุคคลทั่วไป   
English Chinese (Simplified) Chinese (Traditional) French German Italian Japanese Korean Portuguese Russian Spanish Vietnamese Thai     
ค้นหา   
เมนูหลัก
ติดต่อสอบถาม
blog สมาชิก
สถิติผู้เขียน blog 10 อันดับ
wave
[ มือใหม่ ]
2
admin
[ มือใหม่ ]
2
orean
[ มือใหม่ ]
2
KAT
[ มือใหม่ ]
1
yuy
[ มือใหม่ ]
1
aTon
[ มือใหม่ ]
1
fang
[ มือใหม่ ]
1
film
[ มือใหม่ ]
1
mild
[ มือใหม่ ]
1
Donus
[ มือใหม่ ]
1
บทความ blog ล่าสุดโดย
เพลงคริสต์มาสtortae
การดูแลรักษาสุภาพ ให้แข็งแรงaTon
ประเพณีวันเข้าพรรษาmild
พบจุดที่หนาวที่สุดในโลกเเห่งใหม่ !!orean
พบจุดที่หนาวที่สุดในโลกเเห่งใหม่ !!orean
อาเซียนDonus
การวาดภาพสีนำ้lovepop-123456
อาเซียนmikekung02
ลดความอ้วนสูตรนางเอก 5 กิโลกรัมใน 1 สัปดาห์yuy
ปรากฏการณ์ธรรมชาติMin-Mintra
ไลน์ โรงเรียนศรัทธาฯ

ติดต่อ สอบถาม

poll

   คุณคิดว่าเวปนี้เป็นอย่างไร


  1. ดีมาก
  2. ดี
  3. ปานกลาง
  4. แย่
  5. แย่มาก

  

   เว็บบอร์ด >> >>
มข.ไขคำตอบ ติด โซลาร์เซลล์ ลดค่าไฟ คุ้มจริงหรือไม่  VIEW : 64    
โดย หยาด

UID : ไม่มีข้อมูล
โพสแล้ว : 576
ตอบแล้ว : 2
เพศ :
ระดับ : 19
Exp : 49%
เข้าระบบ :
ออฟไลน์ :
IP : 1.2.185.xxx

 
เมื่อ : พุธ ที่ 24 เดือน พฤษภาคม พ.ศ.2566 เวลา 18:27:17   

อาจารย์วิศวะ มข.ไขคำตอบ ติด โซลาร์เซลล์ ลดค่าไฟ คุ้มจริงหรือไม่
เผย โซลาร์เซลล์ คุ้มไหม รศ.ดร.รองฤทธิ์ ฉัตรถาวร อาจารย์วิศวะ ประจำสาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น (มข.) เปิดเผยถึงการติดตั้งโซลาร์เซลล์เพื่อผลิตไฟฟ้าใช้ภายในบ้านทดแทนการใช้ไฟฟ้าจากการไฟฟ้า เพื่อประหยัดค่าไฟฟ้า จะคุ้มค่ากับต้นทุนที่ต้องเสียไปหรือไม่ ว่า ช่วยลดค่าไฟฟ้าได้แน่นอน อย่างไรก็ตาม ก่อนจะลดค่าไฟฟ้าได้นั้น ยังมีสิ่งที่ประชาชนต้องคำนึงถึง คือต้นทุนในการติดตั้งโซลาร์เซลล์ โดยการติดตั้งโซลาร์เซลล์ 1 กิโลวัตต์ มีต้นทุน 30,000-50,000 บาท ขึ้นอยู่กับคุณภาพของแผง และ inverter ซึ่งตามระเบียบการไฟฟ้า ระบุว่าผู้ใช้ไฟฟ้าประเภทบ้านอยู่อาศัยที่ใช้ไฟฟ้า 3 เฟส จะติดตั้งได้ไม่เกิน 10 กิโลวัตต์ ส่วนบ้านที่ใช้ไฟฟ้า 1 เฟส จะติดตั้งได้ไม่เกิน 5 กิโลวัตต์

“หากติดตั้งขนาด 5 กิโลวัตต์ สำหรับผู้ใช้ไฟประเภทบ้านอยู่อาศัย แล้วใช้ไฟตอนกลางวันตลอด ในวันที่แดดออกปกติ ก็จะลดค่าไฟฟ้าได้ประมาณ 80-120 บาทต่อวัน หรือหากเดือนนั้นๆ เป็นเดือนที่แดดออกดีก็จะสามารถลดได้ถึง 2,400-3,600 บาทต่อเดือน” รศ.ดร.รองฤทธิ์ กล่าว

รศ.ดร.รองฤทธิ์ อาจารย์วิศวะ กล่าวอีกว่า
หากถามเรื่องระยะเวลาความคุ้มทุนนั้น ต้องขึ้นอยู่กับพฤติกรรมการใช้ไฟฟ้า

หากใช้ไฟฟ้าในช่วงเวลากลางวันมากเป็นประจำ จะช่วยคืนทุนได้ไว แต่หากใช้ไฟฟ้าเฉพาะช่วงกลางคืนเป็นประจำ จะคืนทุนช้า เนื่องจากการขายไฟฟ้าจากโซลาร์เซลล์แก่การไฟฟ้า จะขายได้ในอัตราอยู่ที่ 2.2 บาทต่อกิโลวัตต์ชั่วโมง ซึ่งยังน้อยเมื่อเทียบกับอัตราค่าไฟฟ้าที่ซื้อจากการไฟฟ้า ซึ่งโดยเฉลี่ยความคุ้มทุนจะอยู่ที่ประมาณ 4-8 ปี

รศ.ดร.รองฤทธิ์กล่าวต่อว่า สำหรับการติดตั้ง โซลาร์เซลล์ บนหลังคานั้น จะมีอยู่ด้วยกัน 3 รูปแบบ คือ 1.แบบออนกริด (On Grid) คือการใช้โซลาร์เซลล์จ่ายไฟฟ้าควบคู่กับการรับไฟฟ้าจากการไฟฟ้า โดยทั่วไปจะไม่มีการติดตั้งแบตเตอรี่ 2.แบบออฟกริด (Off Grid) คือการใช้ไฟฟ้าจากโซลาร์เซลล์เพียงอย่างเดียว ไม่พึ่งพาการใช้ไฟฟ้าจากการไฟฟ้า การติดตั้งรูปแบบนี้ ต้องมีการติดตั้งแบตเตอรี่เพื่อเก็บไฟฟ้าไว้ใช้ในช่วงกลางคืน สำหรับการติดตั้งรูปแบบนี้อาจไม่เหมาะสมจาก 2 ปัจจัย ได้แก่ ปัจจัยที่ 1 ต้นทุนแบตเตอรี่ราคาสูง เช่น หากโซลาร์เซลล์มีต้นทุน 200,000 บาท ค่าแบตเตอรี่อาจสูงถึง 100,000 บาท และปัจจัยที่ 2 การผลิตไฟฟ้าจากโซลาร์เซลล์มีความผันผวนไม่แน่นอน หากไม่มีแบตเตอรี่และไม่มีการซื้อไฟจากการไฟฟ้า จะทำให้เกิดเหตุการณ์ไฟดับได้ และ 3.แบบไฮบริด (Hybrid) คือการใช้ไฟฟ้าจากทั้งจากโซลาร์เซลล์ และการไฟฟ้า โดยมีการติดตั้งแบตเตอรี่เพื่อเก็บกระแสไฟฟ้าจากโซลาร์เซลล์ไว้ใช้ในช่วงกลางคืน แต่หากไฟฟ้าไม่เพียงพอก็สามารถดึงไฟฟ้าจากการไฟฟ้ามาใช้ได้

“หากพิจารณาด้านความคุ้มค่า การติดตั้งโซลาร์เซลล์ในรูปแบบที่ 1 หรือ On Grid คุ้มทุนไวที่สุด เนื่องจากไม่ต้องมีต้นทุนเรื่องแบตเตอรี่ จึงทำให้มีระยะเวลาคุ้มทุนไวกว่าแบบอื่น” รศ.ดร.รองฤทธิ์ กล่าว

รศ.ดร.รองฤทธิ์กล่าวต่อว่า ทั้งนี้ ก่อนจะติดตั้งโซลาร์เซลล์ในบ้าน ควรพิจารณาถึงปัจจัยสำคัญอื่นๆ ก่อน
ทั้งพฤติกรรมการใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน หากไม่ใช่ไฟฟ้าในช่วงกลางวัน แต่ใช้ไฟฟ้าในช่วงกลางคืนเป็นประจำ ก็อาจไม่คุ้มค่ากับการติดตั้ง ขณะเดียวกัน พื้นที่หลังคาบ้านก็ต้องเพียงพอต่อการติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ด้วย โดย 1 กิโลวัตต์ต้องใช้พื้นที่ประมาณ 7-8 ตารางเมตร ส่วนตำแหน่งในการติดตั้งก็ต้องหันไปทางรับแดด ซึ่งจากข้อมูลของกระทรวงพลังงาน พบว่า ควรติดตั้งหันไปทางทิศใต้ ทำมุม 15 องศาจากพื้นดิน จะทำให้โซลาร์เซลล์มีประสิทธิภาพในการผลิตไฟฟ้าได้สุงที่สุด และไม่ควรมีอาคาร หรือต้นไม้มาบดบัง นอกจากนี้ ภายในบ้านควรมีพื้นที่ใช้สอยที่เพียงพอสำหรับการติดตั้งอุปกรณ์สนับสนุนการใช้งาน โดยเฉพาะ Inventer หรือตัวแปลงไฟฟ้าจากกระแสตรงของโซลาร์เซลล์ไปเป็นกระแสสลับ ให้สามารถใช้งานภายในบ้านได้ ซึ่งตำแหน่งการติดตั้งต้องอยู่ด้านล่างไม่ได้ติดบนหลังคา และต้องเป็นพื้นที่ไม่เสี่ยงต่อการถูกน้ำท่วมอีกด้วย

“ที่ผ่านมา มข. ได้ศึกษา และวิจัยเกี่ยวกับการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตไฟฟ้าจากโซลาร์เซลล์ เช่น การสับเปลี่ยนระบบเชื่อมต่อของแผงโซลาร์เซลล์แบบอัตโนมัติเมื่อเกิดการบดบังบนแผง รวมถึง การพยากรณ์การผลิตไฟฟ้าจากโซลาร์เซลล์ เนื่องจากการผลิตไฟฟ้าจากโซลาร์เซลล์มีความไม่แน่นอน แปรผันตามสภาพอากาศ ดังนั้น การพยากรณ์ค่ากำลังการผลิตของโซลาร์เซลล์ที่ดี จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการควบคุมระบบไฟฟ้าของการไฟฟ้าทั้งได้” รศ.ดร.รองฤทธิ์ กล่าว

ติด โซลาร์เซลล์ ช่วยลดค่าไฟได้มากแค่ไหน
ราคาค่าติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ของแต่ละอุปกรณ์ หรือผู้ให้บริการแต่ละเจ้ามักจะมีราคาที่แตกต่างกันไปพอสมควร เนื่องมาจากคุณภาพของอุปกรณ์ที่ใช้ บริการหลังการขาย รวมไปถึงอุปกรณ์เสริมอื่นๆ เพิ่มเติม

แต่ถ้าจะลองคำนวณราคาดูแบบคร่าวๆ เราสามารถเอาจำนวนกิโลวัตต์ของแผงโซลาร์เซลล์ที่ต้องการมาคูณด้วย 25-40 ดูได้ เช่น ถ้าเป็นขนาดแผง 5 กิโลวัตต์ที่นิยมใช้กันในบ้านและออฟฟิศขนาดเล็ก ก็จะมีราคาตั้งแต่ราวๆ 1-2 แสนบาท (5,000 x 25) ไม่รวมค่าขออนุญาตติดตั้งและเอกสารอื่นๆ อีกราว 2-3 หมื่นบาท

โดยแผงโซลาร์เซลล์ขนาด 1 กิโลวัตต์จะช่วยเราประหยัดค่าไฟของเราได้ราวๆ 500-1,000 บาทต่อเดือน

-แผง 3 กิโลวัตต์ผลิตไฟฟ้าได้ราว 4,380 หน่วย/ปี ประหยัดค่าไฟราว 1,000-2,000 ต่อเดือน

-แผง 5 กิโลวัตต์ผลิตไฟฟ้าได้ราว 7,300 หน่วย/ปี ประหยัดค่าไฟราว 2,000-4,000 ต่อเดือน

-แผง 10 กิโลวัตต์ผลิตไฟฟ้าได้ราว 14,600 หน่วย/ปี ประหยัดค่าไฟราว 5,000-10,000 ต่อเดือน

สรุป
โดยช่วงเวลาในการผลิตไฟฟ้าได้ดีที่สุดคือช่วง 10.00-15.00 น. และถ้านับแสงแดดเข้มข้นจริงๆ จะมีเวลาแค่ประมาณ 3.5 ชั่วโมงต่อวันเท่านั้น ซึ่งไฟฟ้าที่ได้มาใช้ก็จะเป็นการประหยัดค่าไฟไปได้บ้าง และยิ่งถ้าติดต่อทำสัญญาขายไฟฟ้าส่วนเกินคืนให้กับการไฟฟ้าก็จะเป็นการลดรายจ่ายเพิ่มเติมจากไฟฟ้าในส่วนที่ไม่ได้ใช้งานอีกด้วย

ซึ่งโดยทั่วไปการติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์จะมีระยะคืนทุนเฉลี่ยที่ 6-10 ปี หลังจากนั้นก็เหมือนได้ส่วนลดค่าไฟฟรีไปอีกยาวๆ จนถึงหมดอายุรับประกันนั่นเอง

อ้างอิง
https://www.matichon.co.th

https://have-a-look.net/2023/05/13/27974/