โรควิตกกังวล (Anxiety Disorder) ปัญหาสุขภาพจิตที่คนดัง และคุณอาจต้องเผชิญ
Jurairat N.
แบ่งปันเกร็ดความรู้เรื่องสุขภาพทั้งโรคภัยไข้เจ็บ วิธีออกกำลังกาย เคล็ดลับลดน้ำหนัก เพื่อสุขภาพที่แข็งแรง อยู่กินของอร่อยไปได้อีกนาน ๆ
นอกจากโรคซึมเศร้าที่กำลังเป็นที่สนใจของคนไทยในปัจจุบันมากขึ้นแล้ว โรคที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพจิตอีกโรคหนึ่งที่สร้างปัญหาให้คนดังหลายคน และอาจจะเป็นใครคนใดคนหนึ่งที่คุณรู้จัก รวมทั้งอาจเป็นคุณได้ด้วย คือ โรควิตกกังวล (Anxiety Disorder)
มินะ สมาชิกเกิร์ลกรุ๊ปเกาหลีชื่อดัง TWICE ต้องพักรักษาตัวจนต้องยกเลิกการร่วมแสดงคอนเสิร์ตไปหลายงานเพื่อรักษาโรควิตกกังวล ในขณะที่สาว เจนนี่ จากวง BLACKPINK ก็มีอาการของโรควิตกกังวลจนแฟน ๆ สามารถสังเกตท่าทางไม่ปกติของเธอขณะกำลังแสดงอยู่บนเวที รวมไปถึงศิลปินวัยรุ่นชื่อดังระดับโลกจากอเมริกาอย่างหนุ่ม Shawn Mendes ที่เผยว่าเขามีอาการของโรควิตกกังวลจนต้องปรึกษาแพทย์ และกินยาระหว่างทัวร์คอนเสิร์ตรอบโลก
โรควิตกกังวล คืออะไร ?
ความวิตกกังวล เป็นปฏิกิริยาตอบสนองต่อความเครียดที่มีประโยชน์ในบางสถานการณ์ เพราะช่วยให้เราตื่นตัว และพร้อมรับมือกับปัญหาหรือเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้น อย่างไรก็ตามโรควิตกกังวลมีความแตกต่างจากความรู้สึกวิตกกังวลทั่ว ๆไป คนที่เป็นโรควิตกกังวลจะรู้สึกวิตกกังวล และกลัวอย่างเกินเหตุ จนมีผลทางลบต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน
โรควิตกกังวล เป็นโรคที่พบได้มากในกลุ่มประชากรทั่วไป ปัจจุบันกลุ่มโรควิตกกังวลได้แบ่งโรคในกลุ่มนี้ออกเป็น 12 โรค แต่ที่พบได้บ่อย คือ โรคแพนิก (panic disorder, PD) กับโรคกังวลทั่วไป (generalized anxiety disorder, GAD)
โรคแพนิก
โรคแพนิก จัดเป็นโรควิตกกังวลชนิดที่พบได้บ่อย สามารถพบได้ตั้งแต่ในวัย 20 ปีถึงวัยกลางคน มีลักษณะอาการที่สำคัญ ได้แก่
มีอาการแพนิกที่เกิดขึ้นอย่างเฉียบพลัน โดยใช้เวลาในการเกิดอาการราว 10 นาที เช่น
แน่นหน้าอก
ใจสั่น
หวาดกลัว
หายใจไม่ออก
เวียนศีรษะ
คลื่นไส้
จุกแน่นท้อง
มือเท้าเย็น
รู้สึกชา เหมือนเป็นเหน็บ
รู้สึกเหมือนควบคุมตัวเองไม่ได้
รู้สึกเหมือนตัวเองกำลังจะตาย หรือเป็นบ้า
มีอาการมากกว่า 1 ครั้ง หรือเกิดขึ้นซ้ำ ๆ เป็นเวลามากกว่า 1 เดือน
ไม่สามารถคาดการณ์ได้ว่าจะเกิดอาการขึ้นเมื่อไร อาจเกิดขึ้นตอนกำลัง
พิสูจน์แล้วว่าอาการทั้งหมดที่เกิดขึ้นไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับยา สารต่าง ๆ หรือสาเหตุทางกายอื่น ๆ
ระดับของอาการมีตั้งแต่ระยะแรกที่มีอาการไม่มาก ไปจนถึงมีอาการหนักจนส่งผลให้เกิดอาการของโรคซึมเศร้า เนื่องจากไม่สามารถดำเนินชีวิตตามปกติได้ หวาดกลัวจนไม่กล้าทำอะไรคนเดียว หลีกเลี่ยงทุกสิ่งที่หวาดกลัว ผิดหวัง และละอายกับตัวเอง บางรายหันไปพึ่งยาเสพติด แอลกอฮอล์ และไปสู่การฆ่าตัวตายได้เช่นกัน
โรคกังวลทั่วไป
อาการวิตกกังวลที่เกิดขึ้นจะไม่มีอาการรุนแรงเหมือนโรคแพนิก แม้จะมีสิ่งที่ทำให้วิตกกังวล แต่ยังสามารถดำเนินกิจกรรมที่ทำอยู่ได้ ยังไม่ต้องหยุดทำกิจกรรมในทันทีเหมือนโรคแพนิก ไม่ได้มีอาการกลัวว่าตัวเองจะตาย ไม่มีพฤติกรรมหลีกเลี่ยง หรือพึ่งพาอะไรมากเกินไป
อาการวิตกกังวลอาจเกิดขึ้นจากการทำงาน เรียน ครอบครัว หรือเรื่องส่วนตัวอื่น ๆ โดยผู้ป่วยรู้ตัวว่าตัวเองมีความกังวล แต่ไม่สามารถควบคุมให้ตัวเองคลายความกังวลลงได้
อาการของโรคกังวลทั่วไป เช่น
กระสับกระส่าย
อ่อนเพลีย
หงุดหงิดง่าย
ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ
สมาธิสั้น
นอนหลับยาก หรือหลับไม่สนิท
แนวทางในการรักษาโรควิตกกังวล
หลังจากการประเมิน และวินิจฉัยว่าเป็นโรควิตกกังวลจริง แพทย์อาจพิจารณาการรักษาโดยไม่ใช้ยาก่อนเป็นอันดับแรก โดยการอธิบายถึงโรค และอาการที่ผู้ป่วยกำลังเป็นอยู่ แนะนำให้ผู้ป่วยซักถาม รวมถึงญาติของผู้ป่วยด้วย เพื่อรับคำแนะนำจากแพทย์ในการปฏิบัติตัวเพื่อลดอาการที่อาจเกิดขึ้น
นอกจากนี้แพทย์อาจพิจารณาให้รับประทานยา ควบคู่ไปกับการฝึกสมาธิ ฝึกจินตนาการ ฝึกคิดในทางบวก
โรควิตกกังวล สามารถรักษาให้หายได้ หากได้รับคำแนะนำ การรักษาจากแพทย์อย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่การรับประทานยาเป็นประจำ จนสามารถลดความแรงของยา ลดความถี่ในการรับประทานยา จนสามารถหยุดยา และใช้ชีวิตตามปกติได้เหมือนเดิม
ขอขอบคุณ
ข้อมูล :พิเชฐ อุดมรัตน์,นพ. มาโนช หล่อตระกูล, นพ. ปราโมทย์ สุคนิชย์
แจกเครดิตฟรี ไม่ต้องฝาก ถอนได้ 2019
กับเว็บเกมส์ UFABET
อันดับ 1 ในเอเชีย
|