ผู้ป่วยมะเร็ง ออกกำลังกายอย่างไรดี ?
ผู้ป่วยมะเร็ง
วิธีออกกำลังกายสำหรับ ผู้ป่วยมะเร็ง
ผู้ป่วยมะเร็ง ว่าสามารถออกกกำลังกาย ได้มากน้อยแค่ไหน และสามารถทำอะไรได้บ้าง รวมถึงข้อจำกัดและข้อควรระวังค่ะ
นักกายภาพบำบัดหญิงนิดา รัตนครอง หัวหน้าหน่วยกายภาพบำบัด โรงพยาบาลจุฬาภรณ์ ให้คำแนะนำถึงเรื่องวิธีการออกกำลังกาย สำหรับผู้ป่วยโรคมะเร็ง ดังนี้ค่ะ เคยมีความเชื่อที่ว่า ผู้ป่วยมะเร็งจะไม่สามารถออกกำลังกายได้ ซึ่งเป็นความเข้าใจผิด เพราะอันที่จริง ผู้ป่วยมะเร็งจำเป็นต้องออกกำลังกาย เพื่อรักษาระดับคุณภาพชีวิตของตนให้อยู่ในภาวะใกล้เคียงสภาพปกติมากที่สุด เนื่องจากกระบวนการรักษาโรคมะเร็งจะมีภาวะแทรกซ้อนหรือผลข้างเคียงบางประการ ไม่ว่าจะเป็นจากการผ่าตัด การใช้รังสีรักษา หรือการให้ยาเคมีบำบัด ซึ่งจะมีผลข้างเคียงที่ตามมาแตกต่างกันไป จึงสามารถใช้การรักษาเป็นเกณฑ์จำแนกการออกกำลังกายสำหรับผู้ป่วยได้ ดังนี้
ผู้ป่วยที่เข้ารับการผ่าตัด การออกกำลังกายที่เหมาะสำหรับผู้ป่วยหลังการผ่าตัด เช่น ในกลุ่มที่มีการผ่าตัดบริเวณช่องท้อง จะมีอาการเจ็บปวดบริเวณแผลผ่าตัด ทำให้หายใจไม่สุด หรือที่เรียกว่า หายใจตื้น ทำให้เสมหะคั่งค้าง อาจส่งผลให้เกิดการติดเชื้อตามมา จึงควรออกกำลังกายประเภทที่ช่วยเรื่องการทำงานของระบบหายใจ เช่น การหายใจ (Breathing Exercise) การฝึกกล้ามเนื้อหน้าท้อง กล้ามเนื้อทรวงอก เพื่อทำให้กล้ามเนื้อและอวัยวะที่ใช้สำหรับการหายใจแข็งแรง และลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อได้
ผู้ป่วยที่รับการฉายรังสีรักษา ผู้ป่วยกลุ่มนี้อาจมีภาวะกล้ามเนื้อหดรั้ง หรือหดตึงจากรังสี เพราะกล้ามเนื้อบริเวณที่ได้รับการรักษาจะสูญเสียความยืดหยุ่นไป การออกกำลังกายที่เหมาะสมคือการยืดเหยียดกล้ามเนื้อ (Stretching Exercise) ซึ่งจะช่วยคืนความยืดหยุ่นให้กล้ามเนื้อในบริเวณดังกล่าวได้
ผู้ป่วยที่รับการรักษาด้วยยาเคมีบำบัด ผลข้างเคียงที่เห็นได้ชัดในผู้ป่วยกลุ่มนี้คือ จะมีภาวะกล้ามเนื้ออ่อนแรง อาการชาตามปลายมือปลายเท้า เป็นต้น ซึ่งอาการดังกล่าวจะส่งผลต่อการทรงตัว การเดิน และการเคลื่อนไหวต่างๆ รูปแบบการออกกำลังกายสำหรับผู้ป่วยประเภทนี้จึงต้องมีลักษณะกระตุ้นระบบไหลเวียนโลหิต ให้เลือดไหลเวียนไปเลี้ยงอวัยวะส่วนปลายได้มากขึ้น (Pumping Exercise) รวมไปถึงช่วยเรื่องการทรงตัว เช่น การปั่นจักรยานอยู่กับที่
คลิกเพื่ออ่านหน้าถัดไป
สำหรับผู้ที่ออกกำลังกาย ไม่ว่าจะเป็นผู้ป่วยหรือไม่ป่วยก็ควรระวังเรื่องต่างๆ ดังนี้
ไม่ควรออกกำลังกายเมื่อเป็นไข้
หากมีภาวะโลหิตจางและเกล็ดเลือดต่ำ อาจเกิดอันตรายหากบาดเจ็บและมีเลือดออกในข้อหรืออวัยวะภายใน
ในผู้ที่มีภาวะมะเร็งลุกลามไปที่กระดูกส่วนต่างๆ ไม่ควรออกกำลังกาย เพราะอาจทำให้เกิดการแตก หัก หรือกระดูกทรุดตัว ในกรณีที่มะเร็งลามไปถึงกระดูกสันหลัง
ถึงแม้ผู้ที่มีภาวะดังกล่าวจะไม่ควรออกกำลังกาย แต่ก็สามารถทำกิจกรรมเคลื่อนไหวร่างกายได้
สรุปแล้ว ผู้ป่วยโรคมะเร็ง ควรออกกำลังกาย โดยพิจารณาจากสภาพร่างกาย ซึ่งหากต้องการรายละเอียดเพิ่มเติม ควรปรึกษาแพทย์ หรือผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน เพื่อช่วยให้สามารถเลือกประเภท การออกกำลังกายได้อย่างเหมาะสมที่สุดในแต่ละบุคคลค่ะ
ข้อมูลเรื่อง “ผู้ป่วยมะเร็งออกกำลังกายอย่างไรดี ?” จากนิตยสารชีวจิต ฉบับที่ 434 เขียนโดย สุนิสา สมคิด
ข้อมูลจากนิตยสารชีวจิตฉบับที่ 168
แจกเครดิตฟรี ไม่ต้องฝาก ถอนได้ 2019
กับเว็บเกมส์ UFABET
อันดับ 1 ในเอเชีย
|