กินอย่างไร ช่วยลด “เครียด” ดีต่อใจ ดีต่อกาย
Jurairat N.
แบ่งปันเกร็ดความรู้เรื่องสุขภาพทั้งโรคภัยไข้เจ็บ วิธีออกกำลังกาย เคล็ดลับลดน้ำหนัก เพื่อสุขภาพที่แข็งแรง อยู่กินของอร่อยไปได้อีกนาน ๆ
เราเป็นคนหนึ่งที่หาทางลดความเครียด ความเสียใจต่างๆ ด้วยวิธีการ “กิน” เมื่อเราได้กินอาหารอร่อยๆ เราก็มีความสุขจนในบางครั้งห็ช่วยลดความเศร้า เสียใจ หรือความเครียดต่างๆ ที่เกิดขึ้นได้มากพอสมควร แต่หากกินไม่ถูกวิธี กินแหลก กินตามใจปากมากเกินไป เพราะถือคติ ยิ่งเศร้า ยิ่งเครียด ยิ่งกินล่ะก็ อาจจะต้องกับมานั่งเครียดมากกว่าเดิม เพราะตัวเลขบนเครื่องชั่งน้ำหนักคงพุ่งไปไกล ดังนั้นเราจะกินแก้เครียดอย่างไรถึงจะดีทั้งต่อใจ และร่างกายของเราในเวลาเดียวกัน?
วิธีกินลด “เครียด” ดีต่อใจ ดีต่อกาย
อาหารที่ควรกิน
อาหารที่มีน้ำตาลน้อย
แป้งไม่ขัดสี เช่น ข้าวกล้อง ข้าวแดง ขนมปังโฮลวีต
ดื่มน้ำเปล่าให้เพียงพอในแต่ละวัน ราวๆ 6-8 แก้วต่อวัน
เนื้อสัตว์ไขมันต่ำ เช่น เนื้อปลา เนื้อไก่ลอกหนัง
ผัก ผลไม้สดที่มีแป้ง และน้ำตาลน้อย เช่น กะหล่ำปลี แตงกวา ผักกาดขาว ฝรั่ง แอปเปิ้ล ฯลฯ
อาหารที่มีสังกะสี เช่น โฮลเกรน หอยนางรม คะน้า บร็อคโคลี ถั่วต่างๆ เป็นต้น
อาหารที่มีแมกนีเซียม เช่น ปลา อะโวคาโด พืชใบเขียวเข้ม
อาหารที่มีวิตามิน บี เช่น หน่อไม้ฝรั่ง พืชใบเขียว เนื้อสัตว์ อะโวคาโด
อาหารที่มีโอเมก้า-3 เช่น ปลาแซลมอน
อาหารที่มีโพรไบโอติกส์ เช่น นมเปรี้ยว โยเกิร์ต และอาหารหมักบางชนิดอย่าง กิมจิ เต้าหู้
อาหารที่ควรลด
อาหารน้ำตาลสูง เช่น ของหวานต่างๆ เครื่องดื่มรสหวานที่ใส่น้ำตาล น้ำเชื่อม นมข้นหวานในปริมาณมาก
อาหารที่มาจากแป้งขัดสี เช่น ขนมปังขาว ข้าวขาว
กาแฟ น้ำอัดลม และเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน
แอลกอฮอล์ ยิ่งส่งผลต่อร่างกาย และจิตใจให้แย่กว่าเดิม
ผัก ผลไม้ที่มีแป้ง และน้ำตาลสูง ผักตระกูลหัว แครอต เผือก มัน แห้ว ฯลฯ ผลไม้น้ำตาลสูง เช่น มะม่วงสุก ทุเรียน ฯลฯ
ผลไม้อบแห้ง น้ำตาลสูงกว่าผลไม้สด
อาหารแช่แข็ง มีโซเดียมสูง
อาหารแปรรูป เช่น แฮม ไส้กรอก
นอกจากนี้ สิ่งสำคัญคือการงดสูบบุหรี่ เพราะบุหรี่ทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้น หัวใจเต้นเร็วขึ้น ส่งผลให้อาการเครียดอาจหนักขึ้น แอลกอฮอล์และบุหรี่ไม่ได้ช่วยลดความเครียดอย่างที่เข้าใจกัน
งดแป้ง และน้ำตาล ช่วยลดความเครียดได้จริงหรือ?
ความเครียด ความวิตกกังวลต่อปัญหาต่างๆ ในชีวิต เริ่มต้นที่จิตใจที่เราควรรู้จักการปล่อยวาง แต่การรับประทานอาหารที่ดีก็ช่วยให้อาการเหล่านี้ลดน้อยลงได้ เพราะหากรับประทานอาหารที่ช่วยให้ระดับน้ำตาลในเลือดเป็นปกติ อัตราการเต้นของหัวใจปกติ ความดันโลหิตปกติ ไขมันในหลอดเลือดไม่ได้สะสมจนทำให้เกิดปัญหาการไหลเวียนของโลหิต เมื่อนั้นอาการเครียด และวิตกกังวลต่างๆ ก็จะลดน้อยลงไปด้วย
อย่างไรก็ตาม หากอยากปรับเปลี่ยนพฤิตกรรมในการรับประทาอาหารเพื่อลดความเครียด แนะนำให้ปรึกษาแพทย์เพื่อรับการตรวจร่างกาย และรับคำแนะนำในการค่อยๆ ปรับเปลี่ยนอาหารที่รับประทานอย่างช้า และเหมาะสมกับสุขภาพร่างกายของเราโดยตรง การหักดิบ ตัดทุกอย่างภายในครั้งเดียวอาจส่งผลกระทบต่อร่างกายได้ เช่น เกิดอาการโยโย่ หรืออยากอาหารมากกว่าเดิมจนทำให้น้ำหนักเพิ่มขึ้น น้ำตาล และไขมันเพิ่มขึ้นมากกว่าเดิม เป็นต้น ร่างกายต้องการเวลาในการค่อยๆ ปรับตัว ดังนั้นการค่อยๆ ตัดอาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพออกไปทีละเล็กละน้อย จะดีกว่า
นอกจากนี้ การลดความเครียด และความวิตกกังวลต่างๆ สามารถทำได้ด้วยการออกกำลังกายเป็นประจำ นั่งสมาธิ ทำกิจกรรมที่ชอบ เช่น ดูหนัง ฟังเพลง เล่นกีฬา วาดภาพ รวมถึงการพักผ่อนอย่างเพียงพอ นอนให้ได้วันละ 6-8 ชั่วโมง เท่านี้คุณก็จะได้เป็นเจ้าของสุขภาพที่ดีทั้งกาย และใจได้อย่างแน่นอน
ขอขอบคุณ
ข้อมูล :Harvard Health Publishing
แจกเครดิตฟรี ไม่ต้องฝาก ถอนได้ 2019
กับเว็บเกมส์ UFABET
อันดับ 1 ในเอเชีย
|