[x] ปิดหน้าต่างนี้
ยินดีต้อนรับคุณ บุคคลทั่วไป   
English Chinese (Simplified) Chinese (Traditional) French German Italian Japanese Korean Portuguese Russian Spanish Vietnamese Thai     
ค้นหา   
เมนูหลัก
ติดต่อสอบถาม
blog สมาชิก
สถิติผู้เขียน blog 10 อันดับ
wave
[ มือใหม่ ]
2
admin
[ มือใหม่ ]
2
orean
[ มือใหม่ ]
2
KAT
[ มือใหม่ ]
1
yuy
[ มือใหม่ ]
1
aTon
[ มือใหม่ ]
1
fang
[ มือใหม่ ]
1
film
[ มือใหม่ ]
1
mild
[ มือใหม่ ]
1
Donus
[ มือใหม่ ]
1
บทความ blog ล่าสุดโดย
เพลงคริสต์มาสtortae
การดูแลรักษาสุภาพ ให้แข็งแรงaTon
ประเพณีวันเข้าพรรษาmild
พบจุดที่หนาวที่สุดในโลกเเห่งใหม่ !!orean
พบจุดที่หนาวที่สุดในโลกเเห่งใหม่ !!orean
อาเซียนDonus
การวาดภาพสีนำ้lovepop-123456
อาเซียนmikekung02
ลดความอ้วนสูตรนางเอก 5 กิโลกรัมใน 1 สัปดาห์yuy
ปรากฏการณ์ธรรมชาติMin-Mintra
ไลน์ โรงเรียนศรัทธาฯ

ติดต่อ สอบถาม

poll

   คุณคิดว่าเวปนี้เป็นอย่างไร


  1. ดีมาก
  2. ดี
  3. ปานกลาง
  4. แย่
  5. แย่มาก

  

   เว็บบอร์ด >> >>
มาทำความรู้จัก โรคเบาหวาน กันว่าคืออะไร อันตรายไหม  VIEW : 150    
โดย หยาด

UID : ไม่มีข้อมูล
โพสแล้ว : 576
ตอบแล้ว : 2
เพศ :
ระดับ : 19
Exp : 49%
เข้าระบบ :
ออฟไลน์ :
IP : 1.2.185.xxx

 
เมื่อ : พฤหัสบดี ที่ 23 เดือน มีนาคม พ.ศ.2566 เวลา 12:53:32   

โรคเบาหวาน เป็นโรคที่ใครๆ ก็รู้จัก
และส่วนมากจะเข้ากันเป็นที่เรียบร้อยว่าสาเหตุมาจากพฤติกรรมการกินอาหารที่มีรสหวาน หรือรสจัดมากเกินไป รวมไปถึงแป้งต่างๆ และมีความเสี่ยงมากยิ่งขึ้นหากครอบครัวมีประวัติเคยเป็นเบาหวานมาก่อน

แต่สิ่งที่อีกหลายๆ คนไม่ทราบ คือ สัญญาณอันตรายที่จะเตือนภัยกับเราว่า เรากำลังจะเป็น โรคเบาหวาน แล้ว อาการเป็นอย่างไร มีวิธีสังเกตได้อย่างไร Sanook Health มีข้อมูลมาฝากค่ะ

เริ่มทำความรู้จัก โรคเบาหวาน
โรคเบาหวาน เป็นภาวะที่ในกระแสเลือดมีระดับน้ำตาลสูงกว่าปกติ อันเนื่องมาจากการ ขาดฮอร์โมนอินซูลิน หรือประสิทธิภาพในการทำงานของฮอร์โมนอินซูลินลดลง เป็นเหตุให้น้ำระดับน้ำตาลในเลือดเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งหากปล่อยไว้เป็นเวลานานก็จะทำให้ร่างกายเกิดภาวะโรคแทรกซ้อนต่ออวัยวะต่างๆ ได้ง่าย อาทิ ตา ไต รวมไปถึงระบบประสาท ส่วนใหญ่อาหารที่เรารับประทานเข้าไปนั้น ร่างกายจะทำปฏิกิริยาเปลี่ยนอาหารให้เป็นน้ำตาลกลูโคสในกระแสเลือดเพื่อใช้เป็นพลังงาน การเจาะเลือดเซลล์ในตับอ่อนที่มีชื่อว่า เบต้าเซลล์ จะเป็นตัวสร้างอินซูลิน โดยที่อินซูลินจะเป็นตัวนำน้ำตาลกลูโคสเข้าสู่เซลล์เพื่อนำมาใช้เป็นพลังงาน

ความสำคัญของ อินซูลิน ต่อร่างกาย
อย่างที่บอกไปในตอนแรกที่เริ่มทำความรู้จักกับ โรคเบาหวาน ว่า อินซูลิน นั้นเป็นฮอร์โมนตัวหนึ่งที่สำคัญภายในร่างกาย สร้างและหลั่งออกมาจากเบต้าเซลล์ของตับอ่อน มีหน้าที่พาน้ำตากลูโคสเข้าสู่เนื้อเยื้อส่วนต่างๆ ของร่างกาย เพื่อเผาผลาญและเป็นพลังงานที่สำคัญต่อการดำเนินชีวิต หากร่างกายขาดอินซูลิน หรืออินซูลินนั้นออกฤทธิ์ได้อย่างไม่มีประสิทธิภาพ ร่างกายก็จะใช้การไม่ได้ เป็นเหตุให้ระดับน้ำตาลในเลือดมีเพิ่มสูงขึ้นจนเกิดเป็นโรคเบาหวาน ซึ่งนอกจากจะมีความผิดปกติในการเผาผลาญคาร์โบไฮเดรตแล้ว ก็ยังมีความผิดปกติในด้านอื่นๆ ด้วย เช่น มีการสลายตัวของสารไขมันและโปรตีนร่วม

โรคเบาหวานเกิดขึ้นได้อย่างไร
โดยปกติแล้ว การเกิดโรคเบาหวาน นั้นจะมีความสัมพันธ์กับฮอร์โมนที่ถูกสร้างมาจากตับ คือ ฮอร์โมนอินซูลิน โดยที่ฮอร์โมนตัวนี้จะเป็นตัวนำน้ำตาลกลูโคสจากเลือดเข้าไปสู่เซลล์ต่างๆ ภายในอวัยวะทั่วร่างกาย อาทิ สมอง , ตับ , ไต , หัวใจ เพื่อให้เซลล์นั้นนำกลูโคสไปใช้เป็นพลังงานในการทำงาน แต่หากกระบวนการสร้างฮอร์โมนอินซูลินเกิดมีความผิดปกติ ตับสร้างอินซูลินได้น้อยกว่าที่ควรจะเป็น หรือเกิดความผิดปกติบางอย่างที่ทำให้เซลล์ไม่สามารถนำกลูโคสไปใช้ได้ ถึงแม้ว่าตับจะสร้างฮอร์โมนได้ในระดับปกติ หรือที่เรียกกันว่า เซลล์ดื้อต่ออินซูลิน เมื่อความผิดปกติทั้ง 2 อย่างเกิดขึ้น ก็จะทำให้น้ำตาลคั่งในเลือดในจำนวนที่มาก ทำให้ความผิดปกตินั้นเกิดขึ้นลุกลามจนกลายเป็น โรคเบาหวาน ในที่สุด

ทั้งนี้ ถึงแม้เราจะรู้ว่าโรคเบาหวานเกิดขึ้นได้อย่างไร เกิดความผิดปกติของกระบวนการใดในร่างกาย แต่สาเหตุของการเกิดก็ยังไม่ถูกระบุแน่ชัด แต่จากการศึกษาพบว่ามันเป็นกระบวนการที่ค่อนข้างซับซ้อนที่เกิดจากทั้งพันธุกรรมและการดำเนินชีวิตของคนเรา (Lifestyle) ประกอบกัน

โรคเบาหวาน มีอาการอย่างไร
อาการหลักๆ ที่สื่อว่าคนๆ นั้นมีความเสี่ยงที่จะเป็นเบาหวาน อาจได้แก่ รู้สึกหิวบ่อย , กระหายน้ำ , ปัสสาวะมีปริมาณมากและบ่อย อีกทั้งก็ยังมีอาการอื่นๆ ประกอบ อาทิ

เหนื่อย อ่อนเพลีย
ผิวแห้ง เกิดอาการคันบริเวณผิว
ตาแห้ง
มีอาการชาที่เท้า หรือรู้สึกเจ็บแปลบๆ ที่ปลายเท้า หรือที่เท้า
ร่างกายซูบผอมลงผิดปกติ โดยไม่สามารถหาสาเหตุได้
เมื่อเกิดบาดแผลที่บริเวณต่างๆ ของร่างกายมักหายช้ากว่าปกติ โดยเฉพาะแผลที่เกิดกับบริเวณเท้า
สายตาพร่ามัวในแบบที่หาสาเหตุไม่ได้

10 สัญญาณอันตราย ว่าเรากำลังจะเป็นโรคเบาหวาน หรือไม่
อ่อนเพลียง่าย ทั้งๆ ที่พักผ่อนเพียงพอ และไม่ได้ป่วยไข้
ผอมลงอย่างไม่ทราบสาเหตุ
ปัสสาวะบ่อยผิดปกติ
หิวน้ำมากกว่าปกติ (เพราะร่างกายสูญเสียน้ำจากการปัสสาวะบ่อย)
ตาพร่ามัวลงอย่างไม่ทราบสาเหตุ
ปวดขา ปวดเข่า
ผิวหนังแห้ง และมีอาการคัน อาจจะคันตามตัว หรือคันบริเวณปากช่องคลอด
เป็นฝีตามตัวบ่อยๆ
อารมณ์แปรปรวน โมโหง่าย
แผลหายช้า ไม่แห้งสนิท หรือขึ้นสะเก็ดเสียที
ใครที่มีโอกาสเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน
โรคเบาหวาน นั้นเป็นโรคที่สามารถถ่ายทอดผ่านทางพันธุกรรมได้ ฉะนั้นผู้ที่มีญาตสายตรง อย่าง พ่อ แม่ พี่ น้อง ที่ป่วยเป็นโรคเบาหวานก็อาจจะมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคเบาหวานเพิ่มมากขึ้น ซึ่งหากมีทั้งพ่อและแม่ที่เป็นโรคเบาหวาน รุ่นลูกก็จะมีความเสี่ยงที่จะเป็นถึงร้อยละ 50

นอกจากการถ่ายทอดทางพันธุกรรมแล้ว ยังมีพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่อาจส่งผลให้เป็นโรคเบาหวานได้ อาทิ ผู้ที่มีน้ำเกิน หรือเรียกว่า อ้วน , ผู้ที่ไม่ชอบออกกำลังกาย , มีไขมันในเลือดสูง โดยกลุ่มคนเหล่านี้จะเสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ซึ่งโรคเบาหวานชนิดที่ 1 ทุกคนมีสิทธิ์ที่จะเป็นได้เท่าๆ กัน

ปัจจัยใดบ้างที่ทำให้เสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวาน
ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคเบาหวานนั้นมีอยู่หลายข้อ ส่วนหนึ่งก็มาจากเรื่องของพันธุกรรมที่ถูกส่งต่อจากรุ่นสู่รุ่น จนมาถึงเรื่องของการใช้ชีวิตประจำวันที่เรานั้นอาจไม่ทันได้ให้ความสำคัญ หรือหลงลืมไป มาดูกันว่ามีปัจจัยอะไรบ้าง

เรื่องของพันธุกรรม อย่างที่บอกไปในตอนแรกว่าคนที่มีครอบครัวสายตรง ไม่ว่าจะเป็น พ่อ แม่ พี่ น้องที่เป็นท้องเดียวกันป่วยเป็นโรคเบาหวาน เราที่เป็นรุ่นต่อมาก็มีโอกาสเสี่ยงที่จะเป็นโรคเบาหวานได้สูงกว่าคนทั่วๆ ไป
ผู้ที่เป็นโรคอ้วนและมีน้ำหนักตัวเกิน ส่งผลให้เซลล์ต่างๆ ดื้อต่ออินซูลิน
ไม่ออกกำลังกาย หรือออกกำลังกายไม่สม่ำเสมอ เนื่องจากว่าการออกกำลังกายนั้นจะช่วยทำให้เราสามารถควบคุมน้ำหนักได้ อีกทั้งยังช่วยให้เซลล์ต่างๆ ไวต่อการนำน้ำตาลไปใช้ รวมถึงยังช่วยในเรื่องของการเผาผลาญน้ำตาลในเลือดได้ดีอีกด้วย
เรื่องของเชื้อชาติ ทั้งนี้มีข้อมูลพบว่าคนในบางเชื้อชาติเป็นเบาหวานสูงกว่าคนในชาติอื่นๆ อาทิ ในคนเอเชียและคนผิวดำมีโอกาสที่จะป่วยเป็นโรคเบาหวานได้มากกว่าคนชาติอื่นๆ
เรื่องของอายุ ยิ่งอายุมากขึ้น โอกาสที่จะเป็นเบาหวานก็มีมากขึ้นเป็นเงาตามตัว นั่นอาจมาจากระบบการทำงานของเซลล์ตับอ่อนเสื่อมถอย หรือขาดการออกกำลังกาย
การมีไขมันในเลือดสูง
การมีความดันโลหิตสูง
โรคแทรกซ้อนที่เกิดจากโรคเบาหวาน
โรคเบาหวานนั้นถือได้ว่าเป็นโรคเรื้อรังที่จะเข้าไปเปลี่ยนแปลงผนังหลอดเลือด ส่งผลให้หลอดเลือดแข็ง หรือตีบ ซึ่งหากหลอดเลือดในอวัยวะส่วนใดของร่างกายแข็ง หรือตีบ ก็จะทำให้เกิดโรคที่อวัยวะนั้นๆ ดังจะเห็นได้ว่า โรคเบาหวาน เป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนได้ทุกระบบ อันได้แก่ ระบบประสาท , ตา , ไต , ไต , หัวใจและหลอดเลือด , ผิวหนัง และช่องปาก เป็นต้น

อาการของผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน
หากกล่าวถึงโดยภาพรวมอาการของผู้ที่ป่วยเป็นเบาหวานนั้นจะปัสสาวะบ่อย มีน้ำหนักที่ลดลง หิวบ่อย บางครั้งก็มีอาการอ่นเพลีย อันเนื่องมาจากการที่มีน้ำตาลในเลือดสูง คราวนี้ เราลองมาดูกันลึกลงไปอีกนิดว่าผู้ที่ป่วยเป็นโรคเบาหวานจะมีอาการใดแสดงให้เห็นเพิ่มเติมได้อีกบ้าง

ในคนทั่วไปที่ไม่ได้ป่วยเป็นโรคเบาหวานก่อนที่จะรับประทานอาหารเช้าจะมีระดับน้ำตาลในเลือดเพียง 70 – 110 มก.% โดยหลังจากที่รับประทานอาหารเช้าเข้าไปแล้วประมาณ 2 ชั่วโมง ก็จะมีระดับน้ำตาลในเลือดไม่เกิน 140 มก.% ซึ่งที่มีระดับน้ำตาลไม่มากก็อาจจะไม่แสดงอาการใดๆ ออกมา สำหรับการวินิจฉัยโรคเบาหวานนั้นทำได้ด้วยการเจาะเลือด มีอาการที่พบได้บ่อยดังนี้

คนปกติที่ไม่ได้ป่วยเป็นโรคเบาหวานมักจะไม่ลุกขึ้นมาปัสสาวะในช่วงเวลากลางดึก หรือปัสสาวะเป็นอย่างมากไม่เกิน 1 ครั้ง ซึ่งเมื่อมีระดับน้ำตาลในกระแสเลือดที่เกินกว่า 180 มก.% น้ำตาลก็จะถูกขับออกมาทางปัสสาวะ ทำให้มีอาการปัสสาวะบ่อยและเกิดการสูญเสียน้ำ อีกทั้งยังอาจพบได้ว่าปัสสาวะของตนเองมีมดตอม
ผู้ที่ป่วยเป็นโรคเบาหวานมักจะหิวน้ำบ่อย อันเนื่องมาจากต้องมีการทดแทนน้ำที่ร่างกายขับออกมาทางปัสสาวะ
มีอาการอ่อนเพลีย น้ำหนักตัวลดลงเนื่องจากร่างกายไม่สามารถใช้น้ำตาลที่มีอยู่ได้ จึงได้ย่อยสลายส่วนที่เป็นโปรตีนและไขมันออกมา
ผู้ป่วยมักจะหิวบ่อยและกินเก่ง แต่ในทางตรงกันข้าม น้ำหนักตัวจะลดลงอย่างต่อเนื่อง เกิดเพราะร่างกายไม่สามารถนำน้ำตาลไปใช้เป็นพลังงานได้ จึงมีการสลายพลังงานจากไขมันและโปรตีนจากกล้ามเนื้อแทน
อาการอื่นที่อาจพบได้ อาทิ การติดเชื้อ , แผลหายช้า หรือมีอาการคันตามจุดต่างๆ ของร่างกาย
เกิดการคันตามผิวหนัง มีการติดเชื้อรา โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณช่องคลอดของผู้หญิง ส่วนสาเหตุอื่นๆ ที่ทำให้เกิดการคันอาจเกิดจากผิวที่แห้งจนเกินไป หรือมีการอักเสบของผิวหนัง
การมองเห็นไม่ชัดเจน สายตาพร่ามัวจนต้องเปลี่ยนแว่นบ่อยๆ ทั้งนี้ อาจเป็นเพราะมีการเปลี่ยนแปลงทางสายตา เช่น สายตาสั้น , ต้อกระจก หรือมีน้ำตาลในเลือดสูง
เกิดอาการชาตามส่วนต่างๆ ไม่มีความรู้สึก เจ็บตามแขนขา หย่อนสมรรถภาพทางเพศ อันเนื่องมาจากระดับน้ำตาลในเลือดที่สูงนาน ส่งผลให้เส้นประสาทเกิดการเสื่อมสภาพ เป็นแผลที่เท้าง่าย เพราะไม่มีความรู้สึก
อาจเกิดการอาเจียน
เมื่อระดับน้ำตาลอยู่ในกระแสเลือดสูงและเป็นโรคเบาหวานได้ระยะหนึ่ง ก็อาจเกิดโรคแทรกซ้อนขึ้นกับหลอดเลือดเล็ก เรียกว่า Microvacular ซึ่งหากมีโรคแทรกซ้อนนี้เกิดขึ้นก็จะทำให้เกิดโรคไต , เบาหวานเข้าตา นอกจากนั้น หากหลอดเลือดแดงใหญ่เกิดการแข็งตัว จะเรียกว่า Macrovascular ที่จะทำให้เกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ , เป็นอัมพาต , หลอดเลือดแดงที่ขาตีบ อีกทั้งยังจะทำให้เกิดปลายประสาทอักเสบ ที่เรียกว่า Neuropathic ที่ทำให้ขาชา , กล้ามเนื้ออ่อนแรง และประสาทอัตโนมัติเสื่อมได้

หากมีอาการเหล่านี้ บวกกับพฤติกรรมในการทานอาหารที่ไม่ค่อยระวังเรื่องแป้ง และน้ำตาล คุณอาจสันนิษฐานได้ว่ากำลังมีโอกาสเป็นโรคเบาหวานได้สูง เพราะฉะนั้นควรรีบพบแพทย์เพื่ การตรวจที่ละเอียด และทำการรักษาต่อไปค่ะ

โรคเบาหวาน วินิจฉัยอย่างไรบ้าง
ในเบื้องต้น เมื่อเราเดินทางไปพบแพทย์ แพทย์ก็จะเริ่มต้นสอบถามอาการ ประวัติการเจ็บป่วย รวมไปถึงคนในครอบครัว จากนั้นก็จะมีการตรวจร่างกาย ตรวจเลือดเพื่อดูระดับน้ำตาล ซึ่งวิธีการวิเคราะห์ระดับน้ำตาลก็จะมีอยู่หลายวิธี ดังนี้

วิธีที่ 1 : การตรวจระดับน้ำตาลในเลือดเวลาใดก็ได้
วิธีที่ 2 : การตรวจระดับน้ำตาลในเลือดหลังอดอาหารอย่างน้อย 8 ชั่วโมง
วิธีที่ 3 : การทดสอบการตอบสนองของฮอร์ดมนอินซูลินที่มีต่อระดับน้ำตาลในเลือด
วิธีที่ 4 : การตรวจน้ำตาลเฉลี่ยสะสม หรือฮีโมโกลบิน เอ วัน ซี
หากผู้ป่วยไม่มีอาการของโรคเบาหวานชัดเจนคือ หิวน้ำมาก ปัสสาวะบ่อยและมาก น้ำหนักตัวลดลง โดยที่ไม่มีสาเหตุ การตรวจด้วยวิธีทั้งหมดข้างต้นจำเป็นต้องมีการตรวจซ้ำอย่างน้อย 1 ครั้งด้วยวิธีใดวิธีหนึ่งอีกครั้งหนึ่งเพื่อยืนยันผลการวินิจฉัย
https://mydeedees.com/%e0%b8%a1%e0%b8%b2%e0%b8%97%e0%b8%b3%e0%b8%84%e0%b8%a7%e0%b8%b2%e0%b8%a1%e0%b8%a3%e0%b8%b9%e0%b9%89%e0%b8%88%e0%b8%b1%e0%b8%81-%e0%b9%82%e0%b8%a3%e0%b8%84%e0%b9%80%e0%b8%9a%e0%b8%b2%e0%b8%ab%e0%b8%a7/