น.ส.ตรีนุช เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เปิดเผยว่า
ที่ประชุมคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) เมื่อเร็ว ๆ นี้ เห็นชอบในหลักการของ (ร่าง) หลักเกณฑ์และวิธีการว่าด้วยการกำหนดจำนวน องค์ประกอบ การได้มา
คุณสมบัติ และลักษณะต้องห้าม วาระการดำรงตำแหน่ง การพ้นจากตำแหน่ง และการประชุมของ อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษา พ.ศ. 2565 หลังพ.ร.บ.แก้ไขคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.)
มีผลบังคับใช้ ส่งผลให้ต้องโอนงานการบริหารงานบุคคลจาก กศจ. ไปยัง อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษา โดยร่างดังกล่าวมีสาระสำคัญ ดังนี้ องค์ประกอบของอนุกรรมการ จำนวน 11 คน ประกอบด้วย
ประธานอนุกรรมการ จำนวน 1 คน อนุกรรมการผู้แทน จำนวน 3 คน ได้แก่ ผู้แทน กศจ. นายอำเภอหรือผู้แทน และผู้แทน ก.ค.ศ. อนุกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 3 ด้าน ๆ ละ 1 คน ได้แก่
ด้านการบริหารงานบุคคล ด้านกฎหมาย และด้านการศึกษาหรือด้านอื่นที่เป็นประโยชน์ต่อการบริหารงานบุคคล อนุกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา จำนวน 3 คน ได้แก่
ข้าราชการครู ผู้บริหาร สถานศึกษา และบุคลากรทางการศึกษาอื่น และ อนุกรรมการและเลขานุการ จำนวน 1 คน ทั้งนี้ ผู้ที่เข้ามาเป็นอนุกรรมการต้องเป็นผู้ที่มีความรู้ ความสามารถเหมาะสม
มีความหลากหลายและเข้าใจบริบทของพื้นที่เป็นอย่างดี โดยอนุกรรมการหนึ่งคนจะเป็นอนุกรรมการใน อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษาได้เพียงแห่งเดียวเท่านั้น
น.ส.ตรีนุช กล่าวต่อว่า ทั้งนี้ การกำหนดองค์ประกอบของอนุกรรมการเป็นองค์คณะไตรภาคี ประกอบด้วย ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 3 คน ผู้แทนจากหน่วยงาน/ส่วนราชการ จำนวน 3 คน และผู้แทนข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา จานวน 3 คน เพื่อให้ทุกภาคส่วนได้มีส่วนร่วม และเป็นองค์คณะที่ไม่ใหญ่มากจนเกินไป เน้นการกระจายอานาจและความคล่องตัวในการปฏิบัติงาน และเพื่อให้ได้ผู้ทำหน้าที่ประธานที่มีความรู้ ความสามารถ มีศักยภาพ เห็นควรให้สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) และสำนักงาน ก.ค.ศ. เสนอชื่อบุคคลพร้อมประวัติ เขตพื้นที่การศึกษาละไม่เกิน 2 คน (รวมเป็น 4 คน) แล้วเสนอ อ.ก.ค.ศ. วิสามัญเฉพาะกิจที่ ก.ค.ศ. ตั้ง พิจารณาคัดเลือกให้เหลือเขตพื้นที่การศึกษาละ 1 คน
“ในการบริหารงานบุคคลเห็นควรให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา และ กศจ. เสนอชื่อบุคคลพร้อมประวัติ ด้านละ 2 คน ต่อ 1 เขตพื้นที่การศึกษา (รวมเป็น 4 คน ต่อ 1 เขตพื้นที่การศึกษา) แล้วส่งไปยัง สพฐ. เพื่อตรวจสอบรายชื่อว่าซ้ำกันหรือไม่ กรณี สพท. และ กศจ. เสนอรายชื่อยังไม่ครบด้านละ 4 คน ต่อ 1 เขตพื้นที่การศึกษา หรือผู้ถูกเสนอชื่อขาดคุณสมบัติ ให้ สพฐ. เสนอรายชื่อให้ครบด้านละ 4 คน ต่อ 1 เขตพื้นที่การศึกษา แล้วเสนอ อ.ก.ค.ศ. วิสามัญเฉพาะกิจที่ ก.ค.ศ. ตั้ง คัดเลือกให้เหลือด้านละ 1 คน ต่อ 1 เขตพื้นที่การศึกษาอนุกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (3 คน) เพื่อเป็นการเปิดโอกาสให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ทั้งผู้ที่ดำรงตำแหน่งครู ผู้บริหารสถานศึกษา และบุคลากรทางการศึกษาอื่นได้มีส่วนร่วมในการเป็นอนุกรรมการเพื่อทำหน้าที่ในการบริหารงานบุคคลของเขตพื้นที่การศึกษา เห็นควรให้ตนเองหรือผู้บังคับบัญชาเสนอชื่อพร้อมประวัติ แล้วให้เพื่อนร่วมงานที่ปฏิบัติงานในเขตพื้นที่การศึกษานั้นรับรอง เพื่อสร้างความเชื่อมั่นว่าบุคคลผู้ได้รับการเสนอชื่อ เป็นผู้มีความรู้ ความสามารถและเป็นที่ยอมรับของสังคมหรือคนในพื้นที่อย่างแท้จริง”น.ส.ตรีนุช กล่าว
ทั้งนี้ ให้สำนักงาน ก.ค.ศ. ดำเนินการปรับรายละเอียดตามข้อเสนอแนะของที่ประชุมให้มีความครบถ้วน
สมบูรณ์ต่อไป โดย อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษา มีวาระอยู่ในตำแหน่งคราวละ 2 ปี และอาจได้รับการแต่งตั้งใหม่ได้อีก แต่จะดำรงตำแหน่งติดต่อกันใน อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษาเดิมเกิน 2 วาระไม่ได้ ยกเว้น ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ซึ่งดำรงตำแหน่งอนุกรรมการและเลขานุการ และอนุกรรมการคนหนึ่งจะเป็นอนุกรรมการ ใน อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษาได้เพียงแห่งเดียวเท่านั้น
รัฐมนตรีว่าการศธ. กล่าวต่อว่า ที่ประชุมยังเห็นชอบ ตั้ง อ.ก.ค.ศ. วิสามัญเฉพาะกิจคัดเลือกบุคคลเพื่อเสนอ ก.ค.ศ. แต่งตั้งเป็นอนุกรรมการใน อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษา เพื่อให้การดำเนินการเป็นไปด้วยความเรียบร้อยและมีประสิทธิภาพ ได้ผู้มีความรู้ความสามารถและมีคุณสมบัติตรงตามหลักเกณฑ์และวิธีการฯ จึงเห็นควรตั้ง อ.ก.ค.ศ. วิสามัญเฉพาะกิจคัดเลือกบุคคลเพื่อเสนอ ก.ค.ศ. แต่งตั้งเป็นอนุกรรมการใน อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษา ประกอบด้วย ผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานอนุกรรมการ ผู้แทนสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้แทนสำนักงาน ก.ค.ศ. รองเลขาธิการ ก.ค.ศ. หรือผู้เชี่ยวชาญ สำนักงาน ก.ค.ศ. ที่เลขาธิการ ก.ค.ศ. มอบหมาย เป็นอนุกรรมการและเลขานุการ และให้เลขาธิการ ก.ค.ศ. แต่งตั้งข้าราชการในสำนักงาน ก.ค.ศ. ไม่เกินสองคนเป็นผู้ช่วยเลขานุการ จำนวน 3 คณะ ดังนี้ คณะที่ 1 ให้ทำหน้าที่คัดเลือกบุคคลที่ได้รับการเสนอชื่อ เพื่อเสนอให้ ก.ค.ศ. แต่งตั้งเป็นประธานอนุกรรมการ ใน อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษา และอนุกรรมการผู้แทน กศจ. ใน อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาที่มีพื้นที่รับผิดชอบครอบคลุมมากกว่าหนึ่งจังหวัด คณะที่ 2 ให้ทำหน้าที่คัดเลือกบุคคลที่ได้รับการเสนอชื่อ เพื่อเสนอให้ ก.ค.ศ. แต่งตั้งเป็นอนุกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิใน อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษา และคณะที่ 3 ให้ทำหน้าที่คัดเลือกบุคคลที่ได้รับการแต่งตั้งเป็นอนุกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
เห็นชอบ กำหนดการดำเนินการได้มาซึ่งอนุกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางกำรศึกษา ใน อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา และ อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เพื่อให้การดำเนินการให้ได้มาซึ่ง อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษา เป็นไปด้วยความเรียบร้อย สามารถดำเนินการเพื่อให้ได้มาซึ่ง อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษาตามที่กาหนดไว้ในมาตรา 9 แห่งพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 19/2560ฯ ได้ภายในระยะเวลา 90 วัน จึงเห็นชอบกำหนดการดำเนินการได้มาซึ่งอนุกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ใน อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา และ อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เพื่อเป็นกรอบระยะเวลาในการดำเนินการ ดังนี้ วันที่ 22 พ.ย. 2565 – 7 ธ.ค. 2565 (15 วัน) สำนักงาน ก.ค.ศ. ประกาศหลักเกณฑ์และวิธีการฯวันที่ 8 ธ.ค. 2565 – 6 ม.ค. 2566 (30 วัน) เสนอชื่อบุคคลที่มีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้าม รวมทั้งตรวจสอบ และวินิจฉัยคุณสมบัติบุคคลที่ได้รับการเสนอชื่อ
และภายในวันที่ 10 ม.ค. 2566 ส่งรายชื่อถึงสำนักงาน ก.ค.ศ. วันที่ 11 – 20 ม.ค. 2566 (10 วัน) อ.ก.ค.ศ. วิสามัญเฉพาะกิจคัดเลือกให้เหลือเขตพื้นที่ละ 1 คน ภายในวันที่ 31 ม.ค. 2566 เสนอ ก.ค.ศ. แต่งตั้ง ภายในวันที่ 6 ก.พ. 2566 แจ้งสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
https://have-a-look.net/2022/11/20/%e0%b8%95%e0%b8%a3%e0%b8%b5%e0%b8%99%e0%b8%b8%e0%b8%8a-%e0%b9%84%e0%b8%9f%e0%b9%80%e0%b8%82%e0%b8%b5%e0%b8%a2%e0%b8%a7%e0%b9%81%e0%b8%a5%e0%b9%89%e0%b8%a7-%e0%b9%80%e0%b8%81%e0%b8%93%e0%b8%91%e0%b9%8c/
|