วันนี้ผมขอนำบทความจาก นายโกศลวัฒน์ อินทุจันทร์ยงค์ รอง ผอ.สำนักกิจการและโครงการในพระราชดำริพระเจ้า หลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา สำนักงานอัยการสูงสุด ที่แสดงทัศนะที่น่าสนใจเกี่ยวกับคดีกลุ่มวัยรุ่น จ.พัทลุง ก่อคดีสะเทือนขวัญ ที่ผมเห็นว่า เป็นข้อคิดดีๆสำหรับท่านผู้อ่าน
สัปดาห์ที่ผ่านมาคงไม่มีข่าวไหนเป็นที่สนใจของสังคม เท่ากับข่าวกลุ่มวัยรุ่นในจังหวัดพัทลุงฆ่าเพื่อน ซึ่งมีเหตุโกรธเคืองกัน รวมถึงข่มขืนแฟนสาวของเพื่อนก่อนโยนลงเหว โดยในกลุ่มวัยรุ่นมีเยาวชนรวมอยู่ด้วย
จนเกิดกระแสสังคม เรียกร้องให้ลงโทษผู้กระทำความผิด อย่างหนัก!
อย่างไรก็ตาม เนื่องจากผู้กระทำความผิดมีทั้งผู้เยาว์และผู้อายุไม่เกิน 20 ปี อยู่ในเกณฑ์ที่ศาลจะต้องลดมาตราส่วนโทษ และมีดุลพินิจลดโทษได้ตามกฎหมาย
ทำให้เกิดกระแสความไม่พอใจเกี่ยวกับบทบัญญัติของกฎหมายนี้ ที่เด็กหรือเยาวชนซึ่งกระทำความผิดมักยกขึ้นเป็นข้ออ้าง เป็นที่มาของการเรียกร้องให้แก้ไขกฎหมาย และลงโทษวัยรุ่นกลุ่มดังกล่าวอย่างเด็ดขาด!
อย่างไรก็ตาม หากเราคิดกันดีๆ ในข่าวเกี่ยวกับความรุนแรงที่เกิดขึ้นในสังคมจากกลุ่มวัยรุ่นที่กระทำความผิด ยังมีประเด็นอีกประเด็นหนึ่ง ที่สังคมไม่ค่อยจะคิดถึงกันคือ
“ครอบครัวหรือสังคม ปล่อยให้มีคนแบบนี้ในสังคมได้ อย่างไร?”
ถ้ามาลองคิดกันแล้ว การที่มีคนแบบนี้อยู่ในสังคมใดสังคมหนึ่ง คนในสังคมจะอยู่กันได้อย่างมีความสุข โดยไม่ต้องหวาดระแวงตลอดเวลาหรือ และครอบครัวของบุคคลดังกล่าวสามารถทนอยู่ในสภาพที่มีลูกหลานเป็นคนร้าย ทำให้เพื่อนบ้านหวาดระแวงได้อย่างไร
สภาพสังคมในความเป็นจริง ขัดแย้งกับสภาพสังคมออนไลน์มากๆ เพราะสังคมออนไลน์ให้ความสนใจกับประเด็นการใช้ความรุนแรงของกลุ่มวัยรุ่นเป็นอย่างมาก รวมถึงเรียกร้องให้ลงโทษอย่างเด็ดขาด
ดังนั้น การจะพูดถึงเหตุความรุนแรงที่เกิดขึ้นจากกลุ่มวัยรุ่นทั้งในกรณีนี้รวมไปถึงกรณีอื่น นอกจากสังคมจะมาถกเถียงถึงความเหมาะสมเกี่ยวกับการบัญญัติกฎหมายแล้ว เราควรหันกลับมามองที่ตัวของเราเองด้วยว่า ในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของสังคม เราดูแลและให้ความสำคัญกับเด็กและเยาวชนในสังคมของเราดีหรือยัง?
หรือตัวเราเองก็เป็นคนหนึ่งที่ละเลยสิ่งรอบตัว จนทำให้เกิดคนแบบนี้ขึ้นมา บางทีการละเลยเพราะคิดว่าไม่ใช่เรื่องของตัวเราเอง อาจเป็นปัจจัยหนึ่งในการสร้างปิศาจร้ายขึ้นมาก็เป็นได้!
เว็บ แทงบอลออนไลน์ ที่ดีที่สุด ให้บริการ 24 ชั่วโมง
รับแทงไม่อั้น แทงบอล ขั้นต่ำ 10 บาท
|