"คลัง เร่งช่วยผู้ประสบภัยน้ำท่วม ผ่านสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐ พร้อม ยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับเงินได้ที่ผู้ประสบภัยได้รับจากรัฐบาล หรือ การบริจาค รวมทั้งยกเว้นภาษีนิติบุคคลเงินค่าสินไหมทดแทนที่ได้ประกันภัย...
เมื่อวันที่ 4 เม.ย. นายกรณ์ จาติกวณิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง แถลงข่าวมาตรการเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัย ปี 2554 เนื่องจากได้เกิดอุทกภัย วาตภัยและดินถล่ม ในพื้นที่จังหวัดภาคใต้ก่อให้เกิดความเสียหายและเดือดร้อนรุนแรงแก่เกษตรกร ประชาชนและผู้ประกอบการอย่างกว้างขวาง ซึ่งต้องการความช่วยเหลืออย่างเร่งด่วนกระทรวงการคลังจึงได้กำหนดมาตรการในการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัย ปี 2554 ดังนี้ 1.มาตรการด้านการเงิน ได้กำหนดมาตรด้านการเงินโดยผ่านสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐและ ธนาคารกรุงไทย โดยมีหลักการในการให้ความช่วยเหลือเช่นเดียวกับมาตรการ ปี 2553
โดยธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) กรณีลูกค้าเสียชีวิตจากอุทกภัยดังกล่าวจะจำหน่ายลูกหนี้ออกจากบัญชีเป็นหนี้สูญ โดย ธ.ก.ส.รับภาระเอง กรณีลูกค้าประสบภัยอย่างร้ายแรงและไม่เสียชีวิต ให้ขยายเวลาการชำระหนี้เงินกู้เป็นเวลา 3 ปี ตั้งแต่ปีบัญชี 2554-2556 และงดคิดดอกเบี้ยเงินกู้เป็นเวลา 3 ปี
ธนาคารออมสิน กรณีลูกค้าสินเชื่อเคหะที่ได้รับผลกระทบที่ส่งผลให้ทรัพย์สิน หรือที่อยู่อาศัยได้รับความเสียหาย ผ่อนผันการพักชำระหนี้ทั้งเงินต้นและดอกเบี้ยสำหรับลูกค้าสินเชื่อเคหะของ ธนาคารออมสิน ไม่เกิน 6 เดือน หรือพักชำระหนี้เฉพาะเงินต้นไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับลดเงินงวด รวมถึงขยายระยะเวลาการผ่อนชำระตามเงื่อนไขที่ธนาคารกำหนด
นอกจากนี้ ลูกค้าเดิมสามารถยื่นกู้เพิ่มเติมกรณีฉุกเฉินในสัดส่วนไม่เกิน 10% ของวงเงินกู้เดิม แต่ต้องไม่เกิน 300,000 บาท และไม่เกิน 100% ของราคาประเมิน โดยคิดอัตราดอกเบี้ยปีที่ 1-2 อยู่ที่ 3.25% ต่อปี และปีที่ 3-5 คิดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ขั้นต่ำประเภทมีระยะเวลา หรือ MLR–1 ต่อปีปัจจุบัน MLR อยู่ที่ 6.25% ต่อปี และชำระเงินกู้ในส่วนที่กู้เพิ่มเติมนี้ไม่เกิน 5 ปีส่วนลูกค้าสินเชื่อโครงการธนาคารประชาชน สินเชื่อโครงการแก้ไขปัญหาหนี้สินภาคประชาชน สินเชื่อธุรกิจห้องแถวและสินเชื่อองค์กรชุมชน ให้พักชำระหนี้เงินต้นและดอกเบี้ยได้ไม่เกิน 6 เดือน พร้อมทั้งปรับลดเงินงวดหรือขยายระยะเวลาผ่อน ชำระหนี้ได้ไม่เกิน 1 ปี และสามารถยื่นกู้เพิ่มเติมในวงเงินไม่เกิน 50,000 บาท
ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) จะให้กู้ไม่เกิน 100% ของราคาประเมินค่าก่อสร้าง อาคาร ค่าซ่อมแซมอาคาร ระยะ เวลาการกู้ ไม่เกิน 30 ปี และอายุผู้กู้รวมกับจำนวนปีที่ขอกู้ต้องไม่เกิน 75 ปี ส่วนกรณีหลักประกันได้รับความเสียหาย ให้ลดอัตราดอกเบี้ยในเดือนที่ 1-4 = 0% ต่อปี โดยมีอัตราดอกเบี้ยให้เลือก 2 แบบ 1. ปีที่ 1 เดือนที่ 1-4 = 0% ต่อปี เดือนที่ 5-12 = MRR-2% ต่อปี ปีที่ 2 = MRR-2% ต่อปี ปีที่ 3 = MRR-1 % ต่อปี หลังจากนั้นคิดดอกเบี้ยลอยตัวตามประกาศธนาคาร และ2.เดือนที่ 1-4 = 0% ต่อปี เดือนที่ 5-16 = 1% ต่อปีหลังจากนั้นคิดดอกเบี้ยลอยตัวตามประกาศธนาคาร ส่วนกรณีได้รับผลกระ ทบเรื่องรายได้ ลดอัตราดอกเบี้ยลงเหลือ 1% ต่อปี เป็นระยะเวลา 1 ปี หลังจากนั้นคิดดอกเบี้ยลอยตัว
ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม แห่งประเทศไทย หรือเอสเอ็มอีแบงก์ ได้เตรียมวงเงิน 2,000 ล้านบาท ธพว. เพื่อใช้ปรับปรุง ซ่อมแซม ฟื้นฟูกิจการ และเป็นเงินทุนหมุนเวียน วงเงินสินเชื่อต่อราย ตามความจำเป็นของกิจการ แต่ไม่เกิน 1 ล้านบาทต่อราย มีระยะเวลาการกู้ยืมไม่เกิน 6 ปี ระยะเวลาชำระเฉพาะดอกเบี้ยโดยไม่ต้องชำระเงินต้น ไม่เกิน 2 ปี อัตราดอกเบี้ยในอัตราคงที่ 6.50% ต่อปี ตลอดอายุสัญญากู้
ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย (ธอท.) เช่น ผ่อนปรนการชำระหนี้ทั้งส่วนเงินต้นและกำไร เป็นระยะเวลา 3 เดือน และ เดือนที่ 4–24 ให้ชำระทั้งส่วนเงินต้นและกำไรโดยคิดอัตรากำไรต่ำกว่าสัญญาเดิม 1% หลังจากนั้นคิดอัตรากำ ไรตามสัญญาเดิม หรือชำระเฉพาะส่วนกำไร เป็นระยะเวลา 12 เดือน เดือนที่ 13–24 ให้ชำระทั้งส่วนเงินต้นและกำไร โดยคิดอัตรากำไรต่ำกว่าสัญญาเดิม 1% หลังจากนั้น คิดอัตรากำไรตามสัญญาเดิม เป็นต้น
ขณะที่ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (ธสน.) ประกอบด้วยสินเชื่อหมุนเวียนเพื่อการส่งออก กรณี"
รวบรวมเนื้อหาโดย UFA369 เว็บเกมส์
UFABET อันดับ 1 ของไทย
สมัคร
แทงบอล และ
คาสิโนออนไลน์ ที่ดีที่สุด
|