เคล็ดลับลด "ความเครียด" ในแต่ละวัย
S! Health (Rewrite)
สนับสนุนเนื้อหา
การดูแลสุขภาพต้องให้ความสำคัญ ดูแลสุขภาพกายและ “สุขภาพใจ” ให้สมบูรณ์ แข็งแรงควบคู่กัน “ความเครียด” ที่มักได้ยินบ่อยครั้ง ไม่ว่าจะเกิดจากการทำงาน การเรียน หรือความเจ็บป่วย ฯลฯ การสังเกตอาการเครียด หรือการจัดการกับความเครียด มีวิธีอย่างไร
นพ.อภิชาติ จริยาวิลาศ จิตแพทย์ และโฆษกกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข ให้ความรู้ แนะนำการดูแลสุขภาพ ขจัดความเครียดสำหรับตนเองและคนรอบข้างว่า ความเครียดเป็นกลไกหนึ่งของมนุษย์และสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ ทั้งนี้กลไกความเครียดที่สมองผลิตสิ่งนี้ออกมาเพื่อให้สิ่งมีชีวิตเอาตัวรอดจากสิ่งที่ไม่สบายกาย ไม่สบายใจ หรือเป็นอันตรายต่อทางกายและ ทางใจ ดังเช่น สมัยก่อนที่เทคโนโลยียังไม่ก้าวไกลเหมือนปัจจุบัน ยังต้องเสี่ยงภัยจากภัยพิบัติธรรมชาติ หรือภัยทั่วไป เมื่อตกอยู่ในเหตุการณ์เหล่านั้น เมื่อมีความไม่สบายกาย ไม่สบายใจ สมองจะสั่งการหลีกหนี คิดแก้ไขไปอยู่ในที่ ที่มีความปลอดภัย แต่เมื่อปัญหามีทางออกความเครียดก็จะลดลง
“ความเครียดที่เกิดตามปกติ จะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อมีสิ่งมากระตุ้น อย่างเช่น มีเรื่องที่ทำให้ไม่สบายใจ มีความสูญเสีย ฯลฯ แต่เมื่อปัญหาเหล่านั้นหายไป ตัวความเครียดก็จะค่อย ๆ หายไปด้วย โดยทุกช่วงวัยมีความเครียดเกิดขึ้นได้ และก็มีความเครียดที่แตกต่างกัน”
วัยเด็ก
วัยเด็ก อาจจะมีความเครียดในเรื่องของการเรียน การปรับตัวเข้ากับเพื่อน วัยรุ่น อาจมีความเครียดเรื่องจุดมุ่งหมายในชีวิต การเป็นตัวของตัวเอง ฯลฯ ช่วงวัยทำงานปัญหาความเครียดอาจเกิดขึ้น ทั้งเรื่องการทำงาน การศึกษาต่อ เมื่อมีอายุเพิ่มขึ้นก็จะมีเรื่องความมั่นคง การดูแลครอบครัว ฯลฯ ช่วงวัยดังกล่าวหากดูแลตนเอง ดูแลสุขภาพไม่ดีพอก็อาจมีปัญหาสุขภาพตามมา ส่วนวัยใกล้เกษียณหรือหลังวัยเกษียณ ความเครียดจะเปลี่ยนไปจากเดิม อาจมีความเหงาเกิดความรู้สึกโดดเดี่ยว จากเคยทำงานก็ไม่ได้ทำงานเหมือนก่อน หรือมีปัญหาสุขภาพ ฯลฯ
การสร้างความสมดุล ผ่อนคลายจากความเครียด อาจแบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือ การดูแลความเครียดสำหรับตัวเราเอง และดูแลความเครียดคนรอบข้าง ดังเช่น การดูแลความเครียดคนที่อยู่รอบข้าง ช่วงวัยเด็ก หรือวัยรุ่น บางทีอาจยังไม่รู้วิธีดูแลตนเอง จึงควรแนะนำ ดังที่กล่าวเด็กก็สามารถเครียดได้ เมื่อเครียดแล้วอาจไม่บอกใคร หรือไม่รู้ตัวว่าตัวเองเครียด ผู้ปกครอง คุณพ่อคุณแม่ควรพูดคุยให้ความใกล้ชิด ให้คำแนะนำ โดยหากรู้สึกไม่ดี มีปัญหาอะไรก็ต้องบอก อาจบอกกับพ่อ แม่ หรือคนที่ไว้ใจ รวมทั้งสอนวิธีรับมือความเครียด คลายเครียดอย่างถูกวิธี เหมาะสมตามวัย ส่วนช่วงวัยรุ่น ต้องรับฟังให้มากขึ้น และการแก้ปัญหาก็ต้องเหมาะสม
วัยทำงาน
วัยทำงาน อาจมีความเครียดเกิดขึ้นโดยไม่รู้ตัว อาจต้องทบทวนอารมณ์ของตนเองบ่อย ๆ หงุดหงิด เครียด เศร้ากว่าปกติหรือไม่ ทั้งนี้ ควรหาเวลาออกกำลังกาย พักผ่อนให้เพียงพอ ซึ่งส่วนนี้มีความสำคัญกับ ทุกช่วงวัย ขณะเดียวกันควรหาเวลาพักผ่อนให้กับตนเอง
ผู้สูงอายุ
การดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุ ควรพบแพทย์สม่ำเสมอ โดยเฉพาะเมื่อมีโรคประจำตัว ควรตรวจสุขภาพประจำปีซึ่งสิ่งนี้มีความสำคัญต่อการดูแลสุขภาพ อีกทั้งออกกำลังกายพอเหมาะ รวมถึงหากิจกรรมที่มีความถนัดสนใจ กิจกรรมที่ทำแล้วมีความสุขทำ และสำหรับผู้ที่ใกล้เกษียณ ควรวางแผนชีวิต วางแผนการเงินค่าใช้จ่ายไว้แต่เนิ่น ๆ ก็เป็นสิ่งที่ดี
อย่างไรก็ตาม เมื่อไหร่ที่มีความรู้สึกไม่มีความสุข จมอยู่กับความทุกข์ให้รีบบอกกล่าวผู้อื่น อย่าอายที่จะต้องบอก หรือโทรฯ ปรึกษาสายด่วน 1323 ของกรมสุขภาพจิต ก็เป็นอีกช่องทางหนึ่ง ทั้งนี้การพูดคุยกับคนรอบข้างกับคนที่ไว้วางใจรับฟังปัญหาได้ เป็นอีกวิธีหนึ่งที่จะช่วยลดคลายความเครียดลงได้ ขณะเดียวกันคนรอบข้างจะช่วยสังเกตตัวเรา แต่หากปัญหายังไม่หมดไปควรปรึกษาจิตแพทย์
สิ่งที่สังเกตได้ว่าเราตกอยู่ในความเครียดคือ จากที่กล่าวความเครียดโดยทั่วไปจะเกิดขึ้นชั่วคราว สัมพันธ์กับสิ่งที่มากระตุ้น แต่เมื่อสิ่งที่มากระตุ้นหายไป อาการเครียดก็จะหายไปด้วย แต่หากความเครียดคุกคาม เครียดจนปวดตัว นอนไม่หลับ หรือกิน นอนมากผิดปกติ ความจำแย่ลง สมาธิถดถอย กลายเป็นเหมือนคนที่สุขภาพไม่ดี ไม่ค่อยมีแรง อ่อนเพลียตลอดเวลา ฯลฯ
บางครั้งอาจทำให้พฤติกรรมอารมณ์มีความผิดปกติ อย่างเช่น หงุดหงิดง่าย อารมณ์คุมไม่ได้ หรือการใช้เหตุผลแย่ลง ความเชื่อมั่นในตัวเองลดลง หรือบางครั้งรู้สึกว่า ความสุขหายไป ความเศร้าเข้ามาคุกคามมาก ฯลฯ เมื่อสังเกตพบควรเร่งใส่ใจ และเมื่อใดปัญหาเหล่านี้กระทบต่อการงาน การเรียน หรือการใช้ชีวิต หรือปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น ก็ให้มองว่า เกินปกติ ไม่ควรวางใจ ควรพบแพทย์นับแต่เนิ่น ๆ
ขอขอบคุณ
ข้อมูล :นพ.อภิชาติ จริยาวิลาศ จิตแพทย์ และโฆษกกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข
รวบรวมเนื้อหาโดย UFA369 เว็บเกมส์
UFABET อันดับ 1 ของไทย
สมัคร
แทงบอล และ
คาสิโนออนไลน์ ที่ดีที่สุด
|