[x] ปิดหน้าต่างนี้
ยินดีต้อนรับคุณ บุคคลทั่วไป   
English Chinese (Simplified) Chinese (Traditional) French German Italian Japanese Korean Portuguese Russian Spanish Vietnamese Thai     
ค้นหา   
เมนูหลัก
ติดต่อสอบถาม
blog สมาชิก
สถิติผู้เขียน blog 10 อันดับ
wave
[ มือใหม่ ]
2
admin
[ มือใหม่ ]
2
orean
[ มือใหม่ ]
2
KAT
[ มือใหม่ ]
1
yuy
[ มือใหม่ ]
1
aTon
[ มือใหม่ ]
1
fang
[ มือใหม่ ]
1
film
[ มือใหม่ ]
1
mild
[ มือใหม่ ]
1
Donus
[ มือใหม่ ]
1
บทความ blog ล่าสุดโดย
เพลงคริสต์มาสtortae
การดูแลรักษาสุภาพ ให้แข็งแรงaTon
ประเพณีวันเข้าพรรษาmild
พบจุดที่หนาวที่สุดในโลกเเห่งใหม่ !!orean
พบจุดที่หนาวที่สุดในโลกเเห่งใหม่ !!orean
อาเซียนDonus
การวาดภาพสีนำ้lovepop-123456
อาเซียนmikekung02
ลดความอ้วนสูตรนางเอก 5 กิโลกรัมใน 1 สัปดาห์yuy
ปรากฏการณ์ธรรมชาติMin-Mintra
ไลน์ โรงเรียนศรัทธาฯ

ติดต่อ สอบถาม

poll

   คุณคิดว่าเวปนี้เป็นอย่างไร


  1. ดีมาก
  2. ดี
  3. ปานกลาง
  4. แย่
  5. แย่มาก

  

   เว็บบอร์ด >> >>
ตุลยของภาพตลาด  VIEW : 782    
โดย 7652

UID : ไม่มีข้อมูล
โพสแล้ว : 1
ตอบแล้ว :
เพศ :
ระดับ : 1
Exp : 20%
เข้าระบบ :
ออฟไลน์ :
IP : 178.128.17.xxx

 
เมื่อ : พุธ ที่ 16 เดือน ตุลาคม พ.ศ.2562 เวลา 20:32:09   

ตุลยของภาพตลาด

หมายถึง ภาวะที่เกิดจากราคามีความเหมาะสม ทำให้ปริมาณความต้องการซื้อ เท่ากับปริมาณความต้องการขาย ทำให้สินค้าหมดพอดี หรือมีหลักการดังนี้ คือ ราคาสินค้าจะวิ่งสู่ดุลยภาพเสมอ ถ้าราคาเปลี่ยนปริมาณที่ผู้บริโภคต้องการที่จะซื้อและที่ผู้ผลิตที่ต้องการขายก็จะเปลี่ยนตาม
ถ้าร้าคาสินค้าแพงเกินไป ต่อไปต้องลดลง
ถ้าราคาสินค้าถูกเกินไป ต่อไปต้องแพงขึ้น
โดยกลไกราคา ในทางเศรษฐศาสตร์นั้นจะมีข้อยกเว้นในการพิจารณา คือ ใช้ไม่ได้กับสินค้าที่เป็นทรัพย์เสรี และสินค้าที่ถูกจัดอยู่ในกลุ่มของเก่า เช่น ถ้วยสังคโลก,รถเก่า,พระเครื่อง และวัตถุโบราณ หรือทรัพทย์เสรี ได้แก่ น้ำ ดิน เป็นต้นฯ

ในระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม กลไกราคา (Price Mechanism) เป็นสิ่งสำคัญในการควบคุมอุปสงค์และอุปทานในตลาดให้เกิดความสมดุล ถ้าอุปสงค์และอุปทานไม่เท่ากันจะมีการปรับตัวจนกระทั่งเกิดสมดุลหรืออุปสงค์เท่ากับอุปทาน ดุลยภาพจะไม่เปลี่ยนแปลงตราบเท่าที่ปัจจัยที่กำหนดอุปสงค์และอุปทานไม่เปลี่ยนแปลง ราคาสินค้า ณ จุดที่อุปสงค์เท่ากับอุปทานเรียกว่า “ราคาดุลยภาพตลาด (Market Equilibrium Price)” ปริมาณสินค้า ณ จุดนั้นเรียกว่า“ปริมาณดุลยภาพตลาด (Market Equilibrium Quantity)” และเรียกจุดดังกล่าวว่า “ดุลยภาพตลาด (Market Equilibrium)

ดุลยภาพตลาด คือ เส้นอุปทานและเส้นอุปสงค์ตัดกันพอดี

คำศัพท์น่ารู้
การปล่อยเสรี = Liberalization
แนวคิดหรือนโยบายที่เปิดโอกาสให้การดำเนินกิจกรรมต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การผลิตและการค้าเป็นไปอย่างเสรี ไม่มีการผูกขาดตัดตอนโดยรายหนึ่งรายใด ในแง่ของการปล่อยเสรีภายในประเทศก็ คือ การยกเลิกระบบผูกขาด ส่งเสริมให้มีการแข่งขันกันอย่างเต็มที ในระดับสากล ก็คือการส่งเสริมการค้าเสรี ลด หรือ ขจัดอุปสรรคหรือข้อกีดขวางทางการค้าทั้งที่อยู่ในรูปของภาษีและไม่ใช่ภาษี

หนี้สิน = Liability
โดยปกติมักหมายถึง หนี้ทางการเงิน คือจำนวนเงินที่บุคคลหรือหน่วยธุรกิจมีหน้าที่ตามกฎหมายที่จะต้องชำระให้แก่บุคคลอื่น รายการที่ถือว่าเป็นหนี้สินทางบัญชี ได้แก่ เจ้าหนี้การค้า ค่าใช้จ่ายและภาษีค้างจ่าย หุ้นกู้ เงินกู้ เป็นต้น

เงินเฟ้อขั้นสูง = Hyperinflation
ภาวะที่ระดับราคาสินค้าและบริการโดยทั่วไปเพิ่มขึ้นในอัตราสูงหรือเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วกว่าปกติ (สูงกว่าร้อยละ 20 ต่อปี ) ถ้าสูงมากๆ เช่น ร้อยละ 100 ต่อปี อาจเรียกว่า เงินเฟ้ออย่างรุนแรง

การแปลงหนี้ = Funding
ในความหมายเดิม หมายถึงการเปลี่ยนหนี้ที่ไม่มีกำหนดระยะเวลา แต่ในปัจจุบันใช้ในความหมายที่กว้างกว่า ซึ่งหมายถึงการเปลี่ยนสถานะจากการก่อหนี้ในระยะสั้นมาเป็นหนี้ในระยะปานกลางหรือระยะยาวเช่น การเปลี่ยนจากการออกตั๋วแลกเงินมาเป็นการออกพันธบัตร เป็นต้น

ตลาดเสรี = Free market
ตลาดสินค้าหรือบริการที่มีการปล่อยให้พลังของอุปสงค์และอุปทานหรือกลไกตลาด เป็นตัวกำหนดราคาและปริมาณการซื้อขายอย่างเสรี โดยปราศจากการแทรกแซงใด ๆ จากรัฐบาล ระบบเศรษฐกิจที่ส่งเสริมตลาดเสรีเรียกว่าระบบเศรษฐกิจแบบตลาดเสรี

ราคาล่วงหน้า = Forward price
ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ หลักทรัพย์ หรือเงินตรา ที่กำหนดเอาไว้ในการตกลงซื้อขายล่วงหน้า เป็นราคาที่ผู้ซื้อจะต้องจ่าย ณ วันส่งมอบหรือวันที่ได้ตกลงกัน สำหรับราคาล่วงหน้าของการซื้อขายเงินตราต่างประเทศมีชื่อเรียกเฉพาะว่า อัตราแลกเปลี่ยนล่วงหน้า ราคาล่วงหน้าของสิ่งของชนิดเดียวกันอาจแตกต่างกันตามเวลาที่ส่งมอบและการต่อรองของผู้ซื้อขาย และราคานี้มักจะแตกต่างกับราคาซื้อขายทันที ซึ่งเป็นราคาที่ต้องส่งมอบกันในปัจจุบัน

การเชื่อมโยงไปข้างหน้า = Forward linkage
การที่หน่วยผลิตหรืออุตสาหกรรมหนึ่งมีความสัมพันธ์กับหน่วยผลิตหรืออุตสาหกรรมอื่นในลักษณะที่ผลผลิตของหน่วยผลิตหรืออุตสาหกรรมดังกล่าว ถูกนำไปใช้เป็นปัจจัยการผลิตของหน่วยผลิตหรืออุตสาหกรรมอื่น ตัวอย่างเช่น อุตสาหกรรมทอผ้ามีการเชื่อมโยงไปข้างหน้ายังอุตสาหกรรมการผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูป เป็นต้น ความสัมพันธ์ในลักษณะตรงกันข้ามนี้เรียกว่า การเชื่อมโยงไปข้างหลัง

อัตราการแลกเปลี่ยนล่วงหน้า = Forward exchange rate
อัตราการแลกเปลี่ยนหรือราคาของเงินตราสกุลหนึ่งๆ กับเงินตราต่างประเทศที่ได้มีการตกลงแลกเปลี่ยนหรือซื้อขายกันไว้ล่วงหน้า โดยมีการระบุจำนวนและวันเวลาที่จะส่งมอบกันเป็นที่แน่นอนอัตราแลกเปลี่ยนล่วงหน้านี้อาจแตกต่างจากอัตราแลกเปลี่ยนทันทีที่เกิดขึ้น ณ วันซื้อขายเดียวกัน การตกลงซื้อขายเงินตราในอัตราแลกเปลี่ยนล่วงหน้า ก็เพื่อช่วยลดความเสี่ยงจากความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ในขณะเดียวกันก็ได้กลายมาเป็นเครื่องมืออันหนึ่งในการเก็งกำไรจากการซื้อขายเงินตราต่างประเทศของนักเก็งกำไรด้วยเช่นกัน


การแปลงสภาพหนี้ = Debt conversion
การออกหุ้นหรือพันธบัตรใหม่เพื่อทดแทนหุ้นหรือพันธบัตรเก่าที่มีอัตราดอกเบี้ยสูงกว่า ทั้งนี้เพื่อลดภาระหนี้ให้น้อยลง การแปลงสภาพหนี้ยังหมายถึงการเปลี่ยนหุ้นกู้แปลงสภาพไปเป็นหุ้นสามัญ ซึ่งทำให้ฐานะของผู้ถือเปลี่ยนจากการเป็นเจ้าหนี้บริษัทไปเป็นเจ้าของบริษัท

หนี้ = Debts
จำนวนเงินหรือทรัพย์สินอื่นจำนวนหนึ่งที่บุคคลหนึ่งมีข้อผูกพันว่า จะจ่ายให้แก่อีกบุคคลหนึ่ง หนี้อาจเกิดขึ้นจากการกู้ยืมเงิน การซื้อสินค้าหรือบริการด้วยเงินเชื่อหรือเงินผ่อน เราอาจแบ่งประเภทของหนี้ตามประเภทลูกหนี้ เป็นหนี้สาธารณะ และหนี้เอกชน หรือแบ่งตามแหล่งของผู้เป็นเจ้าหนี้ เป็นหนี้ภายในประเทศ และหนี้ต่างประเทศ

หุ้นกู้ = Debenture
พันธบัตรหรือตราสารหนี้ ระยะยาวที่บริษัทออกให้แก่ผู้ถือเพื่อเป็นหลักฐานในการกู้ยืมเงินของบริษัทจากเจ้าของเงินทุน หุ้นกู้นี้มักมีการกำหนดระยะเวลาในการชำระคืนและอัตราดอกเบี้ยที่แน่นอน ไม่ว่าบริษัทจะมีกำไรหรือขาดทุน ดังนั้นเพื่อเป็นหลักประกันว่าผู้ถือจะได้รับการชำระหนี้คืน การออกหุ้นกู้จึงต้องมีมูลค่ารวมไม่เกินทุนที่ชำระแล้วของบริษัท กรณีที่รัฐบาลเป็นผู้ออกตราสารชนิดนี้นิยม เรียกว่า พันธบัตร

เงินแพง = Dear money
ภาวะที่อัตราดอกเบี้ยสูงกว่าอัตราดอกเบี้ยเฉลี่ยในอดีต เนื่องจากอุปทานของเงินมีน้อยเมื่อเทียบกับอุปสงค์ของความต้องการถือเงิน ภาวะที่ตรงกันข้ามกับเงินแพงเรียกว่า เงินถูก
 

รวบรวมเนื้อหาโดย UFA369 เว็บเกมส์ UFABET อันดับ 1 ของไทย
สมัคร แทงบอล และ คาสิโนออนไลน์ ที่ดีที่สุด