ในปัจจุบันยังไม่มีวิธีรักษาที่จำเพาะต่อเชื้อโปลิโอ ซึ่งการรักษาหลักของโรคนี้เท่าที่ทำได้ก็คือ การรักษาแบบประคับประคองตามอาการ ได้แก่
ในช่วง 2 สัปดาห์แรกต้องให้ยาลดไข้ ยาแก้ปวด (เพื่อลดอาการปวดของกล้ามเนื้อ) ยานอนหลับ และให้ผู้ป่วยนอนพักผ่อนอย่างเต็มที่ ใช้ผ้าชุบน้ำอุ่นประคบตามกล้ามเนื้อเพื่อช่วยลดอาการเจ็บ และภายหลังจาก 2 สัปดาห์ไปแล้วจึงค่อยประเมินความสูญเสียและจึงเริ่มทำกายภาพบำบัดเพื่อให้กล้ามเนื้อส่วนที่เหลือทำงานชดเชยส่วนที่เสียไปได้
หากกล้ามเนื้อแขนขาหรือลำตัวของผู้ป่วยมีอาการอ่อนแรงจนไม่สามารถขยับได้ ก็ให้จับพลิกตัวยกแขนขาบ่อย ๆ เพื่อป้องกันการเกิดแผลกดทับ
การใส่สายปัสสาวะ หากผู้ป่วยมีปัสสาวะมาก
การให้ยาระบาย/ยาแก้ท้องผูกหรือสวนทวารหนัก หากผู้ป่วยอุจจาระไม่ออกหรือมีอาการท้องผูกมาก
การใช้เครื่องช่วยหายใจ หากผู้ป่วยมีอาการหายใจลำบากหรือระบบการหายใจล้มเหลว
การให้สารน้ำและยากระตุ้นหลอดเลือด หากระบบการไหลเวียนเลือดของผู้ป่วยล้มเหลว
สำหรับผู้ป่วยกลุ่มอาการหลังเกิดโรคโปลิโอ (Post-polio syndrome - PPS) การรักษาหลักจะเน้นไปที่การทำกายภาพบำบัด ได้แก่ การใส่อุปกรณ์ช่วยยึดลำตัว อุปกรณ์ช่วยในการเดิน อุปกรณ์ที่ช่วยป้องกันข้อบิดผิดรูปหรืออาจใช้การผ่าตัดช่วย การฝึกพูดและฝึกกลืนในผู้ป่วยที่มีปัญหา การออกกำลังกายที่เน้นการเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อภายใต้คำแนะนำที่ถูกต้องจากแพทย์หรือนักกายภาพบำบัด (การออกกำลังกายที่ผิดวิธีหรือการออกกำลังกายที่ทำให้กล้ามเนื้ออ่อนล้ามากเกินไป จะส่งผลเสียมากกว่าเกิดผลดี) การใช้เครื่องช่วยหายใจในขณะหลับหากผู้ป่วยมีปัญหาเรื่องการหยุดหายใจในขณะหลับ รวมทั้งการดูแลทางด้านอารมณ์และจิตใจของผู้ป่วยร่วมด้วย นอกจากนี้ยังมีการศึกษาที่พบว่า ยาบางอย่างอาจช่วยลดอาการของผู้ป่วยที่เกิดกลุ่มอาการหลังเกิดโรคโปลิโอได้ เช่น ยาที่เป็นสารเพิ่มภูมิต้านทาน (Antibody หรือสาร Immunoglobulin), ยาไพริโดสติกมีน (Pyridostigmine) ซึ่งเป็นยากระตุ้นการทำงานของประสาทอัตโนมัติ และยาลาโมไตรจีน (Lamotrigine) ซึ่งเป็นยาที่ใช้ควบคุมการชักในโรคลมชัก แต่ยังคงต้องรอการรับรองจากสถาบันการแพทย์ก่อนว่ายาเหล่านี้สามารถนำมาใช้แล้วได้ประโยชน์จริง ๆ ต่อไป
Manual Link
แทงบอลออนไลน์ UFA23.com เว็บไซต์อันดับหนึ่ง
เว็บมาตรฐานระดับสากลการันตีด้วยประสบการณ์ในการดูแลและให้บริการเว็บ พนันออนไลน์ มานานหลายปี มั่นคงปลอดภัย 100%
|