สามารถแบ่งผู้ป่วยตามอาการออกได้เป็น 4 กลุ่ม ดังนี้
กลุ่มที่ไม่มีอาการใด ๆ ซึ่งผู้ติดเชื้อส่วนใหญ่ประมาณ 90-95% จะอยู่ในกลุ่มนี้ แต่ยังคงแพร่เชื้อให้ผู้อื่นทางอุจจาระได้อยู่
กลุ่มที่มีอาการเพียงเล็กน้อย (Abortive poliomyelitis) เป็นกลุ่มที่พบได้ประมาณ 4-8% หรือ 5-10% (แล้วแต่แหล่งอ้างอิง) ของผู้ติดเชื้อทั้งหมด ผู้ป่วยในกลุ่มนี้จะมีอาการที่ไม่จำเพาะ (มักมีอาการคล้ายไข้หวัด) ได้แก่ มีไข้ต่ำ ๆ ปวดศีรษะ เจ็บคอ คลื่นไส้อาเจียน อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร ปวดท้อง ท้องเดิน ปวดกล้ามเนื้อ ปวดหลัง เมื่อยล้า เป็นต้น โดยจะมีอาการอยู่ประมาณ 3-5 วัน แล้วจะหายเป็นปกติ (ทำให้วินิจฉัยแยกจากโรคติดเชื้อไวรัสอื่นไม่ได้)
กลุ่มที่มีอาการเยื่อหุ้มสมองอักเสบ (Nonparalytic poliomyelitis) เป็นกลุ่มที่พบได้น้อยเพียง 1% ของผู้ติดเชื้อทั้งหมด โดยผู้ป่วยในกลุ่มนี้จะมีอาการเช่นเดียวกับที่เกิดจากเชื้อไวรัสอื่น ๆ ผู้ป่วยจะมีอาการคล้ายกับผู้ป่วยกลุ่มที่มีอาการเพียงเล็กน้อย (Abortive poliomyelitis) แต่จะตรวจพบอาการคอแข็งอย่างชัดเจน มีอาการปวดศีรษะ ปวดตามกล้ามเนื้อ เมื่อตรวจน้ำไขสันหลังก็จะพบความผิดปกติแบบการติดเชื้อไวรัส มีเซลล์ขึ้นไม่มาก ส่วนใหญ่เป็นลิมโฟไซต์ มีระดับน้ำตาลและโปรตีนปกติหรือเปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อย และผู้ป่วยในกลุ่มนี้จะหายเป็นปกติได้เช่นกัน
กลุ่มที่มีอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรง (Paralytic poliomyelitis) เป็นกลุ่มที่พบได้น้อยมาก (ประมาณ 1-2% ของผู้ป่วยในกลุ่มที่มีอาการเยื่อหุ้มสมองอักเสบ) โดยผู้ป่วยจะมีอาการเหมือนกับผู้ป่วยกลุ่มที่มีอาการเยื่อหุ้มสมองอักเสบ (Nonparalytic poliomyelitis) แต่หลังจากนั้นเป็นเวลาหลายวันผู้ป่วยจะเริ่มมีอาการปวดกล้ามเนื้อต่าง ๆ ทั่วร่างกายอย่างรุนแรง แล้วตามมาด้วยอาการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อ ซึ่งอาจจะเกิดขึ้นแบบค่อยเป็นค่อยไปหรืออาจเกิดขึ้นแบบฉับพลันทันที ในผู้ป่วยบางรายอาการของ Nonparalytic poliomyelitis จะหายสนิทก่อน หลังจากนั้นประมาณ 1-2 วัน อาการไข้ก็จะกลับมาอีก และตามด้วยอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรง ทั้งนี้ กล้ามเนื้อที่เกิดอาการอ่อนแรงจะเป็นแบบข้างขวาและซ้ายไม่สมมาตรกัน โดยกล้ามเนื้อที่พบเกิดอาการได้บ่อยที่สุดจะเป็นกล้ามเนื้อที่ขามากกว่าที่แขน และมักจะเป็นกล้ามเนื้อต้นขาหรือต้นแขนมากกว่าส่วนปลาย แต่ไม่ว่าจะเป็นกล้ามเนื้อส่วนใดของร่างกายก็สามารถเกิดอาการขึ้นได้ทั้งนั้น เนื่องจากเชื้อไวรัสสามารถทำลายเซลล์ประสาทที่มีหน้าที่ควบคุมกล้ามเนื้อเหล่านั้นได้ในหลาย ๆ ตำแหน่ง เช่น
อาจทำให้กล้ามเนื้อเกี่ยวกับการหายใจอ่อนแรง ส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการหายใจลำบาก
อาจทำให้กล้ามเนื้อของลำไส้ใหญ่อ่อนแรง ส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการท้องผูก
อาจทำให้กล้ามเนื้อกระเพาะปัสสาวะอ่อนแรง ส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการปัสสาวะไม่ออก
เชื้อไวรัสอาจไปทำลายเซลล์ประสาทสั่งการบริเวณก้านสมอง (ควบคุมเกี่ยวกับการพูด การหายใจ การกลืนอาหาร และการไหลเวียนของเลือด) ส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการกลืนลำบาก พูดไม่ชัด
ในรายที่เป็นรุนแรงอาจทำให้เกิดอาการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อที่เกี่ยวกับระบบไหลเวียนของเลือด ส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการของระบบการไหลเวียนของเลือดล้มเหลว เช่น เกิดภาวะช็อก
Manual Link
แทงบอลออนไลน์ UFA23.com เว็บไซต์อันดับหนึ่ง
เว็บมาตรฐานระดับสากลการันตีด้วยประสบการณ์ในการดูแลและให้บริการเว็บ พนันออนไลน์ มานานหลายปี มั่นคงปลอดภัย 100%
|