นักวิจัยในสหรัฐฯ คิดค้นยา สำหรับโรคเหงา อยู่ระหว่างทดลองใช้ในคน ยันไม่ใช่ยาเพื่อ "รักษา" แต่เพื่อช่วยลดความหวาดกลัวของคนเหงา ขณะที่บางคนเห็นค้าน ความเหงาไม่ควรรักษาด้วยยา
ยารักษาโรคเหงา
ท่ามกลางสภาพสังคมที่ "คนเหงา" มีจำนวนเพิ่มขึ้นในทุกขณะ จนกลายเป็นวิกฤตการณ์ที่คนส่วนมากเริ่มหันมาให้ความสนใจ เพราะความเหงานั้นนับเป็นสภาวะทางอารมณ์ที่อาจพัฒนาไปสู่ปัญหาด้านสุขภาพจิตและร่างกายหลายประการ ซึ่งหากมีความเหงารุนแรงก็อาจนำไปสู่โรคซึมเศร้าได้
ด้วยเหตุนี้ ทีมนักวิจัยในสหรัฐอเมริกาจึงได้เกิดความคิดที่จะค้นคว้าหายา มาใช้รับมือกับโรคเหงา โดยอยู่ระหว่างการค้นคว้าและทดลองในกลุ่มอาสาสมัคร แม้จะมีผู้เชี่ยวชาญบางกลุ่มที่ออกมาโต้แย้ง มองว่าความเหงานั้นไม่สมควรได้รับการรักษาด้วยยาก็ตาม
จากรายงานของเว็บไซต์ CTV News เมื่อวันที่ 13 สิงหาคม 2562 เผยว่า นักวิจัยจากห้องปฏิบัติการของ Brain Dynamics ในมหาวิทยาลัยชิคาโก อยู่ระหว่างการทดสอบนำยาเม็ด ที่ใช้ฮอร์โมนเพรกนิโนโลน (pregnenolone) อันเป็นฮอร์โมนที่ร่างกายผลิตขึ้นตามธรรมชาติ มาเป็นส่วนประกอบในยาดังกล่าว หลังพบว่าเพรกนิโนโลนมีส่วนเชื่อมโยงกับการลดความเครียด
โดยจากการทดลองฉีดเพรกนิโนโลนในหนูทดลอง ที่ถูกแยกเดี่ยวออกมา ในสภาพซึ่งจัดให้มีความคล้ายคลึงกับคนที่มีความเหงา พบว่าหนูทดลองนั้นมีการตอบสนองต่อภาวะคุกคามหรือความตึงเครียดลดลง
และในตอนนี้ทีมนักวิจัยก็จะทำการทดลองในมนุษย์ โดยให้กลุ่มอาสาสมัครทดลองใช้ยาในรูปแบบยาเม็ด อันมีส่วนประกอบของฮอร์โมนเพรกนิโนโลน ในปริมาณแบบสุ่ม ตลอดช่วง 8 สัปดาห์ พร้อมทำการบันทึกกิจกรรมทางสมองของอาสาสมัคร ขณะที่ให้พวกเขาจ้องมองรูปภาพการแสดงสีหน้าทางอารมณ์ต่าง ๆ หรือภาพธรรมชาติ
ดูบอลสด
ดูบอล
ต้องที่ zonedooball.com
|