ผศ.ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ รองคณบดีฝ่ายกิจการพิเศษและประชาสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว Thon Thamrongnawasawat
เรียกร้องให้ทุกภาคส่วนร่วมด้วยช่วยกันปกป้องฟื้นฟูปะการังน้ำตื้น ในพื้นที่เกาะหลีเป๊ะ จังหวัดสตูล หลังจากพบว่าขณะนี้ได้เกิดความเสียหายอย่างหนัก จากการที่มีคนนำเรือไปจอดในช่วงที่น้ำลด จนทำให้ปะการังแตกเสียหาย บางส่วนก็พลิกคว่ำ
โดยข้อความจาก ดร.ธรณ์ ที่ได้บอกเล่าเรื่องราวที่เกิดขึ้นระบุว่า #กอบกู้เกาะหลีเป๊ะ อาจารย์ Sakanan Plathong ส่งภาพของเครือข่ายจากเกาะหลีเป๊ะมาให้ดูว่า แนวปะการังน้ำตื้นเสียหายยับเยินขนาดไหน ? ผมพยายามกลั้นใจจะไม่ร้องกรี๊ดโวยวาย แต่จะพยายามอธิบายตามหลักวิชาการ
ปะการังเกาะหลีเป๊ะ
ปะการังเสียหายจริงไหม ?
ดูจากภาพคงไม่ใช่แค่เสียหาย แต่คงเป็นถึงขั้นถล่มทลาย ตายเกือบหมดสิ้น
ตายเพราะอะไร ?
ดูจากสภาพแล้ว ปะการังไม่ได้ฟอกขาว ยังอยู่ในน้ำตื้น ไม่มีรายงานพายุรุนแรงในพื้นที่ ปะการังตายแบบแตกหัก เชื่อว่าเกิดจากผลกระทบจากมนุษย์
ผลกระทบอะไร ?
อาจเป็นการนำเรือเข้าออกระหว่างน้ำตื้น/น้ำลง การเดินในพื้นที่แนวปะการังเพื่อสาเหตุต่างๆ ทำให้ปะการังอยู่ในสภาพแตกหักหรือพลิกคว่ำ
เพิ่งเป็นหรือเป็นนานแล้ว ?
ร่องรอยที่ปรากฏจากภาพ ดูแล้วเป็นลักษณะที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง อาจด้วยหลายสาเหตุดังที่บอกไว้เกิดร่วมกัน
แล้วเราควรทำอย่างไร ?
เกาะหลีเป๊ะเป็นพื้นที่กันออกจากอุทยาน แม้แนวปะการังรอบพื้นที่จะคงอยู่ในการดูแลของอุทยาน แต่จำเป็นต้องมีการทำงานร่วมกันของหลายฝ่าย แน่นอนว่าอุทยานคงต้องเป็นหลัก แต่หน่วยอื่นๆ รวมทั้งผู้ประกอบการ/คนในพื้นที่ ต้องให้ความสนับสนุน ไม่สามารถจะจัดการโดยอุทยานตามลำพังได้
จัดการอย่างไร ?
1. ทุกฝ่ายยอมรับว่ามีความเสียหายเกิดขึ้นจริง
2. ทำการสำรวจพื้นที่เสียหายให้ชัดเจน ทั้งทางอากาศและทางภาคพื้น เปรียบเทียบฐานข้อมูลเดิม ฯลฯ
3. ตรวจสอบสาเหตุที่ทำให้เกิดความเสียหาย เพื่อหาวิธีจัดการกับสาเหตุต่างๆ ซึ่งอาจต้องมีหลายวิธี
4. ระหว่างนี้ ทำแผนแม่บทในภาพรวมของอุทยานตะรุเตา ฯลฯ เพื่อเป็นแนวทางในภาพรวม
5. วางแผนการดำเนินการร่วมกัน โดยใช้ทั้งมาตรการและความร่วมมือจากหลายฝ่าย
6. หน่วยงานที่เกี่ยวข้องออกมาตรการ ยกระดับการดูแลรักษาพื้นที่ ฯลฯ
ยากแค่ไหน ?
บอกได้เลยว่ายากมาก การทำอะไรเพียงชั่วครั้งคราว ไม่สามารถแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นได้ การนำวิธีจากที่อื่นมาใช้ ต้องคำนึงถึงสภาพพื้นที่ การใช้ประโยชน์ และการจัดการ ไม่สามารถจะนำมาครอบสวมลงได้ทันที
กรณีอ่าวมาหยา เกาะยูง หรือเกาะตาชัย มีความแตกต่างออกไป เพราะเป็นเขตอุทยานแบบเบ็ดเสร็จพื้นที่ก้ำกึ่งในลักษณะหลีเป๊ะ ฯลฯ จะจัดการได้ยากกว่า
ควรไปทางไหน ?
ผมรู้จักท่านปลัดทั้งกระทรวงทรัพยากรฯ และกระทรวงท่องเที่ยวเป็นอย่างดี ทราบดีว่าท่านมีความรู้ ประสบการณ์ และความสามารถในการจัดการเรื่องทรัพยากร/การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน
ผมเชื่อว่าการทำงานแบบบูรณาการทั้งสองกระทรวง ร่วมกับคนในพื้นที่ มีความเป็นไปได้แต่จะเป็นไปได้แค่ไหน ขึ้นกับท่านรมต.ทั้งสองกระทรวง ผู้มีอำนาจสั่งการให้เกิดผลปฏิบัติให้เกิดการเริ่มต้นก้าวแรก
นี่ไม่ใช่งานที่จะจบได้ในเวลาอันสั้น ไม่ใช่แค่การสืบหา/จัดการผู้กระทำผิด เพราะเป็นปัญหาที่เกิดจากการใช้ประโยชน์จากหลายฝ่าย
ภารกิจกอบกู้หลีเป๊ะไม่ง่ายแน่นอน แต่ถ้าเราไม่เริ่มก้าวแรก ทุกอย่างจะพินาศต่อไปเรื่อยๆ สุดท้าย เกาะสวยที่สุดในทะเลใต้ จะจางหายไปจากความทรงจำ การฟื้นฟูจะเกิดขึ้นไม่ได้ ตราบใดที่ปัญหายังคงอยู่ อธิบายตามหลักการไปหมดแล้ว ถึงเวลาอธิบายโดยใช้อารมณ์บ้าง
<p>
<a href="https://ufa23.com/แทงบอลออนไลน์/"><b>แทงบอลออนไลน์</b></a>
UFA23.com เว็บไซต์อันดับหนึ่ง<br>
เว็บมาตรฐานระดับสากลการันตีด้วยประสบการณ์ในการดูแลและให้บริการเว็บ
<a href="https://ufa23.com/"><b><i>พนันออนไลน์</i></b></a>
มานานหลายปี มั่นคงปลอดภัย 100%
</p>
|