แพทย์ มธ. เผยวิทยาการอัลกอริธึ่ม (Algorithm) ใหม่ ใช้คู่ไฮ เซนซิทิฟ คาร์ดิแอค โทรโพนิน ที (High sensitivity cardiac troponin T) วินิจฉัยไว เร่งรักษา ลดอัตราการเสียชีวิต ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน หรือภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน นับเป็นสาเหตุการเสียชีวิตของผู้คนทั่วโลกในช่วงหลายปีที่ผ่านมา เฉพาะใน
ประเทศไทยในปี ในปี 2559 พบผู้เสียชีวิตด้วยโรคหลอดเลือดหัวใจ 19,030 คน คิดเป็นอัตราการเสียชีวิตอยู่ที่ 29.09 ต่อประชากรแสนคน ส่วนผู้ป่วยโรคหัวใจรายใหม่อยู่ที่ 98,148 ราย มีอุบัติการณ์อยู่ที่ 150.1 ต่อประชากรแสนคน และมีอัตราการเสียชีวิตที่เพิ่มขึ้นทุกปีอย่างต่อเนื่อง ตัวเลขทางสถิติจากกระทรวงสาธารณสุข (16 กันยายน
2561) พบว่า มีจำนวนคนไทยที่ป่วยด้วยโรคหัวใจและหลอดเลือด 432,943 คน มีอัตราการเสียชีวิตถึง 20,855 คนต่อปี หรือชั่วโมงละ 2 คน และด้วยจำนวนผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาที่มีจำนวนมาก ก่อให้เกิดปัญหาสถานการณ์ความแออัดของห้องฉุกเฉิน ซึ่งเป็นปัญหาด้านสาธารณสุข จากสถิติปี 2559 พบว่า ในประเทศไทยมีสถิติผู้ป่วยที่เข้ารับ
บริการการรักษาในห้องฉุกเฉินอยู่ที่ 458 :100,000 ประชากร ซึ่งสูงกว่าสหรัฐอเมริกา (421:100,000 ประชากร) ออสเตรเลีย (331: 100,000 ประชากร) และอังกฤษ (412 : 100,000 ประชากร) ทั้งนี้ ในประเทศไทยมีผู้ป่วยเข้ารับบริการในห้องฉุกเฉินเป็นจำนวนมากถึง 35 ล้านครั้งต่อปี และพบว่าเกือบร้อยละ 60 เป็นผู้ป่วยไม่ฉุกเฉิน (ข้อมูลจาก
คู่มือแนวทางการจัดบริการห้องฉุกเฉินที่เหมาะสมกับระดับศักยภาพสถานพยาบาล กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข พ.ศ.2562) การพบผู้ป่วยที่ไม่ฉุกเฉินที่เข้ารับบริการในห้องฉุกเฉินเป็นจำนวนมาก ไม่ส่งผลดีต่อการปฏิบัติงานของบุคลากรในห้องฉุกเฉินเพื่อให้การรักษาและดูแลผู้ป่วยฉุกเฉินซึ่งมีความจำเป็นเร่งด่วนมากกว่า ดังนั้น
เพื่อลดอัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วยภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน การพิจารณาคัดแยก (Triage) ว่าผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาในห้องฉุกเฉินเป็นผู้ป่วยฉุกเฉินที่แท้จริงหรือไม่ จึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง
รวบรวมเนื้อหาโดย UFA369 เว็บเกมส์ UFABET อันดับ 1 ของไทย
สมัคร แทงบอล และ คาสิโนออนไลน์ ที่ดีที่สุด
|