[x] ปิดหน้าต่างนี้
ยินดีต้อนรับคุณ บุคคลทั่วไป   
English Chinese (Simplified) Chinese (Traditional) French German Italian Japanese Korean Portuguese Russian Spanish Vietnamese Thai     
ค้นหา   
เมนูหลัก
ติดต่อสอบถาม
blog สมาชิก
สถิติผู้เขียน blog 10 อันดับ
wave
[ มือใหม่ ]
2
admin
[ มือใหม่ ]
2
orean
[ มือใหม่ ]
2
KAT
[ มือใหม่ ]
1
yuy
[ มือใหม่ ]
1
aTon
[ มือใหม่ ]
1
fang
[ มือใหม่ ]
1
film
[ มือใหม่ ]
1
mild
[ มือใหม่ ]
1
Donus
[ มือใหม่ ]
1
บทความ blog ล่าสุดโดย
เพลงคริสต์มาสtortae
การดูแลรักษาสุภาพ ให้แข็งแรงaTon
ประเพณีวันเข้าพรรษาmild
พบจุดที่หนาวที่สุดในโลกเเห่งใหม่ !!orean
พบจุดที่หนาวที่สุดในโลกเเห่งใหม่ !!orean
อาเซียนDonus
การวาดภาพสีนำ้lovepop-123456
อาเซียนmikekung02
ลดความอ้วนสูตรนางเอก 5 กิโลกรัมใน 1 สัปดาห์yuy
ปรากฏการณ์ธรรมชาติMin-Mintra
ไลน์ โรงเรียนศรัทธาฯ

ติดต่อ สอบถาม

poll

   คุณคิดว่าเวปนี้เป็นอย่างไร


  1. ดีมาก
  2. ดี
  3. ปานกลาง
  4. แย่
  5. แย่มาก

  

   เว็บบอร์ด >> >>
เภสัชกรหนุ่ม ออกแบบฉลากยาใหม่ หวังคนไข้เข้าใจง่าย พลิกโฉมวงการสาธารณสุข  VIEW : 906    
โดย แล้วไง

UID : ไม่มีข้อมูล
โพสแล้ว : 5
ตอบแล้ว :
เพศ :
ระดับ : 1
Exp : 100%
เข้าระบบ :
ออฟไลน์ :
IP : 27.254.130.xxx

 
เมื่อ : อังคาร ที่ 24 เดือน กันยายน พ.ศ.2562 เวลา 21:05:00   

เภสัชกรหนุ่ม ออกแบบฉลากยาใหม่ หวังคนไข้เข้าใจง่าย พลิกโฉมวงการสาธารณสุข นายณัฐกรณ์ ศรีบุรมย์ หรือ คุณบ๊อบ เภสัชกรจากโรงพยาบาลชุมชนแห่งหนึ่งใน อ.นาแก จ.นครพนม โพสต์รูปฉลากยาที่มีลักษณะแปลกตาซึ่งเป็นผลงานที่ตนร่วมออกแบบ ลงในเฟซบุ๊ก เมื่อวานนี้ (22 ก.ย.) พร้อมกับบอกว่า เป็นฉลากยาแบบใหม่ ที่เริ่มทดลองในโรงพยาบาลที่ตนทำงาน โดยหวังว่าจะทำให้คนไข้เข้าใจและให้ความร่วมมือในการทานยามากขึ้น ฉลากยาดังกล่าว เป็นผลงานที่ร่วมออกแบบกับอดีตรักษาการณ์ผู้อำนวยการโรงพยาบาลที่ตนทำงานอยู่ นายพีรพงษ์ กุนอก ทั้งยังไม่ได้มีแค่ตัวอักษรเหมือนฉลากยาแบบทั่วไป แต่มีการใช้สัญลักษณ์และสีสันเข้ามาช่วยให้การอ่านฉลากน่าดูและเข้าใจง่าย ประกอบตัวหนังสือแบบเดิมที่ตัวใหญ่ ไม่ต้องเพ่งสายตาอ่าน ไม่ใช่แค่นั้น ยังมีคิวอาร์โค้ด ที่คนไข้สามารถใช้โทรศัพท์มือถือสแกน เพื่อเข้าไปอ่านรายละเอียดของยาเพิ่มเติมด้วยตัวเอง หวังคนไข้ร่วมมือรับประทานยา คุณบ๊อบ ให้สัมภาษณ์กับ sanook.com ว่า ตนเป็นผู้สนใจด้านเทคโนโลยีการแพทย์อยู่แล้ว และเห็นว่าฉลากยาแบบใหม่ที่ออกแบบสวยงาม เรียบง่าย และมีคิวอาร์โค้ด จะช่วยแก้ปัญหาจากการใช้ฉลากยาแบบเดิม ที่ไม่เพียงแต่ไม่น่าสนใจแล้ว ยังมีพื้นที่จำกัดที่จะอธิบายความสำคัญของยาที่คนไข้ได้รับกลับบ้าน ปัญหานี้เมื่อบวกกับการที่เภสัชกรไม่มีเวลามากพอที่จะอธิบายตัวยาให้คนไข้ฟัง ทำให้ความร่วมมือรับประทานยาน้อยลงไปด้วย "ปัญหาอย่างเช่น คนไข้เบาหวานจะได้ยาลดความดันกลับบ้านไปด้วย แต่คนไข้ไม่อยากกิน เพราะคิดว่าตัวเองไม่มีอาการความดัน แต่ที่จริงแล้ว หมอสั่งจ่ายยานี้ให้ เพราะยาตัวนี้ช่วยป้องกันไม่ให้ไตเสื่อม แต่ฉลากแบบเดิมบอกไม่ได้" คุณบ๊อบ กล่าว เสียงตอบรับดี คนไข้ชมเข้าใจง่าย ฉลากยาแบบใหม่นี้แม้ยังอยู่ในขั้นทดลองใช้ที่โรงพยาบาลที่ตนทำงาน แต่คุณบ๊อบบอกว่า หลังจากโพสต์ไปเมื่อวานนี้ ก็มีโรงพยาบาลแห่งอื่น 4-5 แห่งแสดงความสนใจเข้ามาแล้ว ส่วนคนไข้ต่างก็บอกว่า เข้าใจง่าย ทานยาตามที่หมอสั่ง ป้องกันความเสี่ยงระยะยาว คุณบ๊อบ พูดต่อไปว่า นอกจากน่าใช้และทำให้แพทย์หรือเภสัชการสื่อสารกับคนไข้ผ่านฉลากได้มากขึ้นแล้ว การทำให้คนไข้รู้ว่ายาที่กินไป มีประโยชน์อย่างไร ยังช่วยลดงบประมาณของภาครัฐที่เสียไปด้วย เพราะยาทุกเม็ดจะได้ใช้อย่างมีประสิทธิภาพและคุ้มค่า ผู้ป่วยเองก็จะได้ประโยชน์จากการทานยาให้ครบ เพราะยาบางตัวที่คนไข้ได้กลับบ้าน จะช่วยป้องกันภาวะอาการแทรกซ้อนจากการรักษาที่ยังไม่เกิดขึ้น เหมือนที่ยกตัวอย่าง ยาที่สั่งจ่ายให้คนไข้เบาหวานข้างต้น ฉลากยา สะท้อนปัญหาสาธารณสุขไทย นอกจากฉลากยา ที่คุณบ๊อบต้องการเปลี่ยนแปลงแล้ว สิ่งหนึ่งที่คุณบ๊อบมองว่าควรจะเกิดในประเทศไทย คือ การนำระบบ "ใบสั่งยา" เหมือนประเทศพัฒนาแล้วหลายประเทศมาใช้ ซึ่งใบสั่งยาที่ว่านี้ คือ การที่แพทย์ระบุตัวยาในการรักษา แล้วให้คนไข้นำไปซื้อกับร้านขายยาด้านนอกได้ เพราะจะช่วยให้โรงพยาบาลไม่ต้องรับภาระงานทั้งหมด เภสัชกรรายนี้ตั้งข้อสังเกตว่า เมื่อคนไข้ต่างมุ่งหน้าไปรับยาที่โรงพยาบาลเหมือนทุกวันนี้ ทำให้รายได้ไม่กระจายไปยังร้านขายยาของเภสัชกรทั่วไป ในทางกลับกัน ร้านขายยาที่เป็นของกลุ่มทุนใหญ่เท่านั้น ที่ยังพอทำธุรกิจต่อไปได้ สมัครเว็บไซต์ แทงบอลออนไลน์ ที่ดีที่สุด
*ราคาดีที่สุด *ค่าคอมสูงที่สุด *บริการดีที่สุด *คนเล่นเยอะที่สุด
สมัครวันนี้รับสิทธิ์พิเศษมากมาย UFA23 พร้อมให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง