ประเภทของคาร์โบไฮเดรต
คาร์โบไฮเดรตสามารถจำแนกตามโมเลกุล แบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท คือ
น้ำตาลโมเลกุลเดี่ยว หรือ โมโนแซ็กคาไรด์ (monosaccharide) จัดเป็นคาร์โบไฮเดรตที่มีโมเลกุลเล็กที่สุด เมื่อรับประทานเข้าไปแล้วจะดูดซึมจากลำไส้ได้เลย โดยไม่ต้องผ่านการย่อย ตัวอย่างของน้ำตาลประเภทนี้ได้แก่ กลูโคส (glucose), ฟรักโทส (fructose), กาแล็กโทส (galactose) และทั้งกลูโคสและฟรักโทสต่างก็เป็นน้ำตาลที่พบได้ในผัก ผลไม้ และน้ำผึ้ง น้ำตาลส่วนใหญ่ที่พบในเลือด คือ กลูโคส ซึ่งเป็นตัวให้พลังงานที่สำคัญแก่ร่างกาย
น้ำตาลโมเลกุลคู่ หรือ ไดแซ็กคาไรด์ (disaccharide) จัดเป็นคาร์โบไฮเดรตที่ประกอบไปด้วยน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยว 2 ตัวมารวมกัน น้ำตาลชนิดนี้เมื่อรับประทานเข้าไป น้ำย่อยในลำไส้เล็กจะย่อยออกเป็นน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยวก่อน ร่างกายจึงจะสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ น้ำตาลโมเลกุลเดี่ยวที่สำคัญทางด้านอาคาร คือ แล็กโทส (lactose) ที่ประกอบด้วยกลูโคสและกาแล็กโทส และซูโครส (sucrose) ที่ประกอบด้วยกลูโคสและฟรักโทส, และมอลโทส (maltose)
น้ำตาลโมเลกุลใหญ่ หรือ โพลีแซ็กคาไรด์ (polysaccharide) จัดเป็นคาร์โบไฮเดรตที่มีโมเลกุลใหญ่และมีสูตรโครงสร้างที่ซับซ้อน ซึ่งประกอบไปด้วยน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยวจำนวนมากกว่า 10 หน่วยขึ้นไปมารวมตัวกันอยู่ โดยเชื่อมต่อกันด้วยพันธะไกลโคซิติกชนิดต่าง ๆ โพลีแซ็กคาไรด์ที่สำคัญทางอาหาร คือ แป้ง (starch), ไกลโคเจน (glycogen), เซลลูโลส (cellulose), ไคติน (chitin), ลิกนิน (lignin), เพกติน (pectin), อินนูลิน (inulin), เฮปาริน (heparin) ฯลฯ โดยไกลโคเจนจะพบได้ในอาหารจำพวกเนื้อสัตว์และเครื่องในสัตว์ ส่วนแป้งและเซลลูโลสจะพบได้ในพืช แม้ว่าทั้งแป้ง ไกลโคเจน และเซลลูโลสจะประกอบไปด้วยกลูโคสเหมือนกัน แต่ลักษณะของการเรียงตัวของกลูโคสจะต่างกัน ทำให้สูตรโครงสร้างต่างกัน และเฉพาะแป้งและไกลโคเจนเท่านั้นที่น้ำย่อยในลำไส้สามารถย่อยได้
รวบรวมเนื้อหาโดย UFABET เว็บเกมส์อันดับ 1 ของไทย
- มีเกมส์ให้เล่นมากที่สุด
- มีบริษัทรับประกัน ปลอดภัยมั่นใจได้
- มีพนักงานพร้อมให้บริการ 24 ชั่วโมง
|