“กระดูกสันหลังคด” เพราะสะพายกระเป๋าเป้หนัก อันตรายของเด็กไทย
Jurairat N.
แบ่งปันเกร็ดความรู้เรื่องสุขภาพทั้งโรคภัยไข้เจ็บ วิธีออกกำลังกาย เคล็ดลับลดน้ำหนัก เพื่อสุขภาพที่แข็งแรง อยู่กินของอร่อยไปได้อีกนาน ๆ
กระดูกสันหลัง เป็นอวัยวะที่สำคัญในเรื่องของการพยุงร่างกาย การยืน เดิน นั่ง รวมไปถึงเป็นจุดเชื่อมต่อเส้นประสาทไปยังกะโหลกศีรษะ กระดูกสะบัก กระดูกเชิงกราน และกระดูกซี่โครง และยังเป็นที่อยู่ของไขสันหลังที่ทำหน้าที่ส่งความรู้สึกไปยังสมองอีกด้วย ดังนั้นหากกระดูกสันหลังมีความผิดปกติ อาจส่งผลกระทบต่อร่างกายในภาพรวมได้
โรคกระดูกสันหลังคด
โรคกระดูกสันหลังคด เป็นโรคที่เกิดขึ้นได้ทั่วไป และพบได้บ่อย โดยแบ่งออกเป็นหลายประเภทตามอาการ และลักษณะการคดงอของกระดูก เช่น คดงอเป็นรูปตัว C บริเวณด้านบน ด้านล่าง ตรงกลางหลัง หรือคดงอเป็นตัว S
สาเหตุของอาการกระดูกสันหลังคด
ส่วนใหญ่โรคกระดูกสันหลังคดไม่สามารถระบุสาเหตุได้อย่างชัดเจน แต่อาจมีสาเหตุได้จาก
อาการข้างเคียงจากโรคสมองพิการ
อาการข้างเคียงจากโรคกล้ามเนื้อเสื่อม
มีอาการบาดเจ็บ หรือติดเชื้อในกระดูกสันหลัง
การใช้งานกระดูกสันหลังในการแบกรับน้ำหนัก หรือก้มงอแผ่นหลังบ่อยๆ นานๆ
อาการของโรคกระดูกสันหลังคด
ไหล่ไม่เท่ากัน
กระดูกสะบักนูนไม่เท่ากัน
เอวไม่เสมอกัน
สะโพกสองข้างสูงต่ำไม่เท่ากัน
การรักษาโรคกระดูกสันหลังคด
ใส่เสื้อเกราะดัดหลัง สำหรับผู้ป่วยที่สันหลังยังคงมีการเปลี่ยนแปลงเพราะยังอยู่ในช่วงของการเจริญเติบโต เช่น ในวัยประถม เพื่อป้องกันไม่ให้กระดูกคดงอมากยิ่งขึ้นกว่าเดิม
ผ่าตัด สำหรับผู้ป่วยที่มีอาการคดงอของกระดูกชัดเจนรุนแรง ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อระบบประสาท
เด็กประถม-มัธยม เสี่ยงกระดูกสันหลังคดจาก “กระเป๋านักเรียน”
นักเรียนไทยที่ใช้กระเป๋าสะพายหลัง อาจมีความเสี่ยงกระดูกสันหลังคดงอตั้งแต่เด็ก หากบรรจุหนังสือหรือสิ่งของต่างๆ ในกระเป๋าสะพายหลังมากเกินไป
นพ. พนมกร ดิษฐสุวรรณ์ (หมอหมู) ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ อธิบายว่า
“ถ้าสะพายกระเป๋าเป้ที่มีน้ำหนัก 20% ของน้ำหนักตัวเด็ก จะมีโอกาสเกิดอาการ ปวดคอ ปวดหลังกระดูกสันหลังคด ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ และยังทำให้การทำงานของปอดลดลงอีกด้วย”
นั่นหมายความว่า หากเด็กประถมน้ำหนัก 20 กิโลกรัม ไม่ควรสะพายกระเป๋าหนักเกิน 2 กิโลกรัม หรือหากเป็นเด็กมัธยมน้ำหนัก 40 กิโลกรัม ไม่ควรสะพายกระเป๋าเป้ที่มีน้ำหนักเกิน 8 กิโลกรัม เป็นต้นในขณะที่ค่าเฉลี่ยของกระเป๋าของนักเรียนไทยอยู่ที่ 5.5-8 กิโลกรัม จึงอาจเป็นหนึ่งในสาเหตุของอาการบาดเจ็บที่หลังของเด็กๆ ได้ รวมถึงอาการกระดูกสันหลังคด
อาการที่อาจเกิดขึ้นได้ หากสะพายกระเป๋าหนักเกินไป
ในเด็กอาจส่งผลอันตรายไปถึงกระดูกสันหลังคด ในวัยเด็กและผู้ใหญ่ที่ใช้กระเป๋าหนักเกินไป หรือทำงานที่ต้องใช้งานกระดูกสันหลังอย่างหนัก เช่น คนแบกข้าว น้ำแข็ง กรรมกรต่างๆ แม้กระทั่งคนที่ต้องแบกของหนักบ่อยๆ เช่น ช่างภาพ ตากล้อง อาจมีอาการปวดหลัง ปวดไหล่ รวมไปถึงปวดคอ ปวดศีรษะ และปวดขาได้ และยังอาจอันตรายถึงหมอนรองกระดูกกดทับเส้นประสาท หรือเสียบุคลิกจากการเดินตัวเอียงได้
ลักษณะกระเป๋าสะพายหลังที่ดี ไม่ส่งผลเสียต่อสุขภาพกระดูกสันหลังของเด็ก
ในวัยผู้ใหญ่ อาจลดอาการปวดต่างๆ ได้ด้วยการบังคับตัวเองงดเว้นการใช้กระเป๋าหนัก แบกของหนักโดยไม่มีตัวช่วยเป็นระยะเวลานานๆ รวมถึงไม่ก้มๆ เงยๆ เป็นเวลานานอีกด้วย
ในวัยเด็กที่ใช้กระเป๋านักเรียน ควรใช้กระเป๋าสะพายหลังตามวิธีดังนี้
กระเป๋าควรทำจากวัสดุที่มีน้ำหนักเบา
ความกว้างของกระเป๋าต้องไม่กว้างเกินไหล่ของเด็ก และความสูงของกระเป๋าเมื่อเด็กนั่งลง ต้องไปสูงเกินกว่าไหล่ของเด็กเช่นกัน
จัดตารางสอนของเด็กให้ดี หยิบหนังสือและสมุดเท่าที่ใช้เรียนในวันนั้นๆ
ไม่ใส่ของในกระเป๋าให้หนักเกินไป หรือไม่ควรหนักเกิน 10% ของน้ำหนักตัว (เช่น น้ำหนัก 40 กิโลกรัม ไม่ควรสะพายกระเป๋าหนักเกิน 4 กิโลกรัม) ถ้าเด็กสะพายแล้วต้องโน้มตัวมาข้างหน้า แสดงว่ากระเป๋าหนักเกินไป
จัดวางของในกระเป๋าให้ของที่หนักที่สุดอยู่กึ่งกลางของกระเป๋าให้มากที่สุด แล้วเกลี่ยน้ำหนักในส่วนของอื่นๆ ให้เท่ากันทั่วกระเป๋า
หากจำเป็นต้องเดินสะพายกระเป๋านานๆ ควรหาเวลานั่งพักระหว่างทางบ้าง เพื่อลดภาระในการใช้หลังรับน้ำหนัก
ลักษณะของกระเป๋าสะพายก็สำคัญ ควรเลือกกระเป๋าที่มีสายสะพายใหญ่ราว 6 เซนติเมตร มีความนุ่ม มีบุนุ่มรองรับน้ำหนักด้านหลัง หรือมีการออกแบบเพื่อช่วยลดทอนน้ำหนักลงแผ่นหลังได้ดียิ่งขึ้น
ปรับความยาวของสายสะพายหลังให้เท่ากันทั้งสองข้าง ไม่รั้งสั้น หรือปล่อยสายยาวเกินไป ให้ตำแหน่งของกระเป๋าอยู่ที่กลางหลัง ไม่ดึงขึ้นสูงเกินไป และให้ก้นของกระเป๋าอยู่ไม่ต่ำกว่าเอว จะช่วยลดภาระการรับน้ำหนักของกระดูกสันหลังได้บ้าง และควรมีสายคาดเอวที่ช่วยให้กระเป๋าไม่แกว่งเวลาเดิน เพื่อกระชับกระเป๋าให้แนบกับหลังตลอดระยะเวลาในการเดิน
หากหนังสือเรียนมีขนาดใหญ่ และหนักมาก สามารถถ่ายเอกสารในส่วนที่จะเรียนไปบางส่วนได้
ขอขอบคุณ
ข้อมูล :หมอหมู Bloggang
ทางเข้า ufabet เว็บที่มีเกมส์เยอะที่สุด
|