ติดต่อ สอบถาม
คุณคิดว่าเวปนี้เป็นอย่างไร
ย้ำงบประมาณและบุคลากร คงไม่ใกล้เคียงกับของญี่ปุ่น แต่จะเน้นที่คุณภาพให้เกิดประโยชน์สูงสุด เบื้องต้นจะคัดเอาแบบเนื้อๆ เน้นเฉพาะกีฬาที่มีแข่งในโอลิมปิกเกมส์ ราวๆ 19-20 ชนิด มาเก็บตัวฝึกซ้อมที่ศูนย์ฝึกฯ หัวหมาก ส่วนที่เหลือจะกระจายไปตามศูนย์ภูมิภาค ทั้ง มวกเหล็ก-เชียงใหม่-ชลบุรี คณะผู้บริหารจากการกีฬาแห่งประเทศไทย (กกท.) นำโดย นายอภิชาติ จีระพันธุ์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ในฐานะหัวหน้าคณะ พร้อมด้วย คุณหญิงปัทมา ลีสวัสดิ์ตระกูล กรรมการโอลิมปิกระหว่างประเทศ (ไอโอซีเมมเบอร์) และ ดร.ก้องศักด ยอดมณี ผู้ว่าการ กกท. เดินทางไปศึกษาดูงาน ที่สถาบันวิทยาศาสตร์การกีฬาแห่งประเทศญี่ปุ่น (JISS) และศูนย์ฝึกกีฬาแห่งชาติญี่ปุ่น (Ajinomoto National Training Center : Ajinomoto NTC) ในกรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ระหว่างวันที่ 30 ม.ค.-1 ก.พ.62 ล่าสุด เมื่อวันที่ 1 ก.พ. คณะผู้บริหารวงการกีฬาของไทย ได้ไปยังที่สถาบันวิทยาศาสตร์การกีฬาแห่งประเทศญี่ปุ่น (JISS)
ภายหลังการเยี่ยมชมและรับฟังการบรรยายจากวิทยากรของสถาบันวิทยาศาสตร์การกีฬาแห่งประเทศญี่ปุ่น แล้วนั้น “บิ๊กก้อง” ดร.ก้องศักด ยอดมณี เปิดเผยว่า การมาศึกษาดูงานครั้งนี้เราได้ไปเห็นอุปกรณ์และเครื่องไม้เครื่องมือ ตลอดจนเทคโนโลยีที่ทันสมัยของ JISS ที่จะสาารถนำไปปรับใช้กับของ กกท. ซึ่งเรามีโครงการที่จะขออนุมัติงบประมาณจาก บอร์ด กกท. จำนวน 850 ล้านบาท ขณะเดียวกันในวันที่ 13 ก.พ.นี้ จะเสนอขออนุมัติจาก บอร์ด กกท. ในการจัดตั้งคณะอนุกรรมการโรงพยาบาลกีฬาอีกด้วย เพื่อให้การทำงานของศูนย์ฝึกกีฬาแห่งชาติและศูนย์วิทยาศาสตร์การกีฬา มีความสอดคล้องและเดินหน้าพัฒนานักกีฬาไปในทิศทางเดียวกัน
“ที่สถาบันวิทยาศาสตร์การกีฬาแห่งประเทศญี่ปุ่น ได้รับงบประมาณปีละ 600 ล้านบาท ภายในมีเครื่อง MRI 2 เครื่อง มีเครื่องเอ็กซเรย์ 1 เครื่อง มีแพทย์ประจำ 8 คน โดยเป็นแพทย์ที่สามารถผ่าตัดได้ 6 คน รวมบุคลากรด้านการแพทย์ 30 คน และนักกายภาพบำบัดอีก 30 คน ที่สำคัญคือ เมื่อนักกีฬาบาดเจ็บก็ไม่ต้องไปเข้าคิวรอรักษาที่โรงพยาบาลข้างนอกแต่อย่างใด ซึ่งจุดนี้ กกท.เองก็จะนำมาเป็นต้นแบบด้วย เรื่องของงบประมาณและบุคลากรคงไม่เทียบเท่ากับญี่ปุ่น แต่เราจะเน้นเรื่องของคุณภาพที่จะทำให้อย่างเต็มที่ที่สุด” บิ๊กก้อง ย้ำ ผู้ว่าการ กกท. กล่าวต่อว่า ศูนย์ฝึกกีฬาแห่งชาติ ที่ตนเคยพูดไปว่าทั้งของไทยและญี่ปุ่น มีลักษณะคล้ายกันตรงที่ขนาดของพื้นที่ ซึ่งเราจะต้องใช้ประโยชน์จากข้อจำกัดให้เกิดความคุณค่าสูงสุดนั้น จุดนี้ก็ต้องมองไปที่เรื่องของการกำหนดชนิดกีฬาที่จะมีอยู่ในศูนย์ฝึกกีฬาแห่งชาติ ที่ กกท.หัวหมาก ด้วย ซึ่งในเบื้องต้นจะเน้นไปที่กีฬาที่มีแข่งขันในโอลิมปิกเกมส์ เป็นอันดับแรก ตามมาด้วยเอเชี่ยนเกมส์ เพื่อให้นักกีฬาได้พัฒนาได้เต็มศักยภาพ คาดว่าจะมีประมาณ 19-20 ชนิดกีฬา ส่วนกีฬาอื่นๆ นอกเหนือจากนี้ก็จะกระจายไปตามศูนย์ต่างๆ ในภูมิภาค อาทิ มวกเหล็ก, เชียงใหม่ และชลบุรี เป็นต้น ซึ่ง กกท. จะเข้าไปปรับปรุงเพิ่มศักยภาพให้กับศูนย์ภูมิภาคด้วย ทั้งนี้ สิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ภายในศูนย์ฯ จะไม่ได้แค่ตอบโจทย์ให้กับนักกีฬาปกติเท่านั้น แต่จะต้องรองรับนักกีฬาคนพิการไปพร้อมๆ กันอีกด้วย สนันสนุนโดย ufabet ศึกษาวิธีการใช้งาน ufabet