หลายคนใส่หน้ากากอนามัย และใช้เจลแอลกอฮอล์เมื่อเดินทางไปทำธุระภายนอก ขณะกักตัวอยู่บ้านก็พยายามดูแลตัวเองด้วยการออกกำลังกายอยู่เสมอ
แต่นั่นก็อาจไม่พอสำหรับการป้องกันโรค COVID-19 สิ่งที่อาจเป็นแหล่งสะสมของไวรัส แต่คนส่วนใหญ่อาจไม่เคยนึกถึงมาก่อน มีอะไรบ้าง ไปดูกันเลย
โทรศัพท์
หลายคนทำความสะอาดมืออยู่อย่างสม่ำเสมอ แต่ไม่เคยทำความสะอาดโทรศัพท์ที่ใช้เลย แบคทีเรียและเชื้อไวรัสที่สะสมอยู่ในโทรศัพท์
จึงกลับมายังมืออีกครั้งโดยที่เราไม่รู้ตัว ดังนั้นจึงควรหมั่นทำความสะอาดหน้าจอโทรศัพท์ สามารถเลือกได้ตั้งแต่การใช้สเปรย์ทำความสะอาดหน้าจอโทรศัพท์
และหน้าจอคอมพิวเตอร์ที่มีขายอยู่ทั่วไปวิธีฉีด เช็ดทำความสะอาด หรือทำความสะอาดโดยใช้น้ำและสบู่ ซึ่งมีขั้นตอนดังต่อไปนี้
1. เตรียมผสมน้ำกับสบู่ในกะละมังขนาดเล็ก (แนะนำใช้สบู่ที่ใช้ในครัวเรือน)
2. ถอดเคสของโทรศัพท์ และปิดเครื่องก่อนทำความสะอาด
3. ใช้ผ้าสะอาดชุบน้ำสบู่ในกะละมัง และบีบให้หมาด
4. เช็ดโทรศัพท์อย่างทนุถนอมทุกพื้นที่ โดยเฉพาะหน้าจอที่ใช้อยู่บ่อยครั้ง ระมัดระวังไม่ให้น้ำเข้าไปในโทรศัพท์
จากนั้นให้ทำความสะอาดเคสแบบเดียวกัน
5. เช็ดให้แห้งด้วยผ้าขนหนู และปล่อยให้แห้งสนิทก่อนเปิดใช้งานอีกครั้ง หมั่นทำให้บ่อยครั้งเท่าที่จะทำได้
สุขภาพ
ขอบคุณภาพจาก https://pixabay.com/photos/ecommerce-computer-cash-e-commerce-2301933/
เงิน
ไม่ว่าจะรูปแบบของเหรียญ หรือธนบัตรล้วนแล้วแต่ผ่านมือคนมามากมาย จากงานวิจัยของคณะนักวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยอ็อกซ์ฟอร์ด
พบว่าบนธนบัตร 1 ใบ มีเชื้อแบคทีเรียสะสมเฉลี่ยถึง 26,000 ตัว ในช่วงแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสนี้ จึงเป็นไปได้ที่เงินจะกลายเป็นแหล่งสะสมของเชื้อโรค
และเป็นตัวแพร่กระจายที่สำคัญ ดังนั้นจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ทุกคนต้องระมัดระวังตัวเอง โดยสามารถป้องกันตัวเองได้หลายวิธี ดังนี้
1.หลีกเลี่ยงการสัมผัสโดยตรง
ควรมีถุงพลาสติกที่ใส่เงินแยกเอาไว้ ไม่เอาเงินสอดในกระเป๋ากางเกง หรือใส่ในกระเป๋าเสื้อ เพราะเสี่ยงที่จะเราหยิบจับโดยไม่รู้ตัว
ยิ่งบางคนมักจะใส่ผ้าเช็ดหน้าและธนบัตรในที่เดียวกันก็จะยิ่งเป็นอันตรายต่อการติดเชื้อ แต่หากสัมผัสเงินโดยตรงแล้ว
ก็ควรทำความสะอาดมือด้วยเจลแอลกอฮอล์หรือล้างมือให้สะอาดด้วยน้ำและสบู่ทันที
2.ทำความสะอาดเงินหลังได้รับ
เมื่อได้รับเหรียญหรือธนบัตรมา แล้วต้องการเก็บเงินนี้ไว้อีกระยะ การทำความสะอาดเงินก็ช่วยให้เราสบายใจยิ่งขึ้น
สำหรับเหรียญ ทำความสะอาดด้วยน้ำและสบู่ หลังจากนั้นใช้ผ้าหรือทิชชู่ซับให้แห้ง แล้วนำไปตากแดดก่อนใช้
สำหรับธนบัตร ให้ใช้สำลีชุบแอลกอฮอล์ล้างแผลที่มีความเข้มข้นอย่างน้อย 70% บีบหมาดๆ เช็ดคราบสกปรกและแบคทีเรียที่อยู่บนผิวธนบัตร
หลังจากนั้นใช้ผ้าหรือทิชชู่ซับให้แห้งก่อนนำไปใช้งาน หรือใช้วิธีง่ายกว่านั้นด้วยการนำธนบัตรไปตากแดดสักระยะ เพื่อให้รังสี UV
และความร้อน ช่วยฆ่าเชื้อโรค เท่านี้ก็ไม่ต้องเป็นกังวลกับเชื้อไวรัสที่จะติดมา
3. ป้องกันตัวเองโดยการไม่ใช้เงินสด
ปัจจุบันสังคมไทยกำลังเข้าสู่สังคมไร้เงินสด ทำให้มีทางเลือกในการใช้จ่ายมากขึ้น ผู้สูงอายุสามารถหลีกเลี่ยงการใช้เงินสด
ด้วยการเลือกโอนเงินผ่าน internet banking หรือใช้การแสกน QR code จ่าย ผ่านทางพร้อมเพย์
สุขภาพ
ขอบคุณภาพจาก https://pixabay.com/photos/ec-cash-card-payment-money-cashless-1750490/
บัตรเครดิต บัตรเอทีเอ็มหรือคีย์การ์ดต่าง ๆ
บัตรที่ใช้ในชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะเป็น บัตรเครดิต บัตรเอทีเอ็ม คีย์การ์ดที่ใช้เแตะเข้าคอนโด หรือบัตรโดยสารประจำทางทั้ง
บัตร MRT บัตร BTS เป็นอีกหนึ่งแหล่งสะสมของเชื้อโรคที่หลายคนไม่ค่อยสนใจทำความสะอาดมากนัก
ทั้งที่บัตรเหล่านี้ล้วนมีโอกาสที่จะสัมผัสกับสารคัดหลั่งของผู้ติดเชื้อไวรัส COVID-19 ดังนั้นเมื่อใช้งานบัตรต่างๆ
เสร็จสิ้นก็ควรจะทำความสะอาด ขั้นตอนวิธีระวังตัวเองจากเชื้อไวรัสที่ติดมากับบัตรและวิธีทำความสะอาดมีดังต่อไปนี้
1. ใช้ถุงมือจับบัตร
หากทำงานที่ต้องหยิบจับบัตรต่างๆ ตลอดทั้งวัน แนะนำให้ใส่ถุงมือเพื่อป้องกัน แต่ขีดเส้นใต้ว่าต้องระมัดระวัง
ไม่ให้เผลอเอามือที่สวมถุงมือมาจับหน้า จับตา เมื่อใช้งานเสร็จก็ควรทำความสะอาดมือและถุงมือที่ใช้ด้วยน้ำและสบู่
2. ทำความสะอาดด้วยการฉีดสเปรย์แอลกอฮอล์
หลังจากใช้บัตรเสร็จก็ควรฉีดสเปรย์ใส่บัตรทั้งสองด้านและทิ้งไว้ให้แอลกอฮอล์แห้ง เพื่อฆ่าเชื้อโรค
3. ทำความสะอาดด้วยน้ำอุ่นผสมสบู่ หรือน้ำอุ่นผสมน้ำยาฆ่าเชื้อ
ถูทำความสะอาดให้ทั่วเป็นเวลา 20 วินาทีขึ้นไป แล้วนำไปล้างน้ำเปล่า ผึ่งให้แห้งหรือจะใช้ผ้าซับให้แห้งก็ได้
เท่านี้ก็จะช่วยให้มั่นใจได้ว่าบัตรจะปลอดจากเชื้อโรค
https://thaigoodherbal.com/3-%e0%b9%81%e0%b8%ab%e0%b8%a5%e0%b9%88%e0%b8%87%e0%b8%82%e0%b8%ad%e0%b8%87%e0%b9%84%e0%b8%a7%e0%b8%a3%e0%b8%b1%e0%b8%aa-%e0%b8%97%e0%b8%b5%e0%b9%88%e0%b8%95%e0%b9%89%e0%b8%ad%e0%b8%87%e0%b8%a3/
|