[x] ปิดหน้าต่างนี้
ยินดีต้อนรับคุณ บุคคลทั่วไป   
English Chinese (Simplified) Chinese (Traditional) French German Italian Japanese Korean Portuguese Russian Spanish Vietnamese Thai     
ค้นหา   
เมนูหลัก
ติดต่อสอบถาม
blog สมาชิก
สถิติผู้เขียน blog 10 อันดับ
wave
[ มือใหม่ ]
2
admin
[ มือใหม่ ]
2
orean
[ มือใหม่ ]
2
KAT
[ มือใหม่ ]
1
yuy
[ มือใหม่ ]
1
aTon
[ มือใหม่ ]
1
fang
[ มือใหม่ ]
1
film
[ มือใหม่ ]
1
mild
[ มือใหม่ ]
1
Donus
[ มือใหม่ ]
1
บทความ blog ล่าสุดโดย
เพลงคริสต์มาสtortae
การดูแลรักษาสุภาพ ให้แข็งแรงaTon
ประเพณีวันเข้าพรรษาmild
พบจุดที่หนาวที่สุดในโลกเเห่งใหม่ !!orean
พบจุดที่หนาวที่สุดในโลกเเห่งใหม่ !!orean
อาเซียนDonus
การวาดภาพสีนำ้lovepop-123456
อาเซียนmikekung02
ลดความอ้วนสูตรนางเอก 5 กิโลกรัมใน 1 สัปดาห์yuy
ปรากฏการณ์ธรรมชาติMin-Mintra
ไลน์ โรงเรียนศรัทธาฯ

ติดต่อ สอบถาม

poll

   คุณคิดว่าเวปนี้เป็นอย่างไร


  1. ดีมาก
  2. ดี
  3. ปานกลาง
  4. แย่
  5. แย่มาก

  

   เว็บบอร์ด >> >>
ติดเชื้อ แบคทีเรียในช่องคลอด กับโรคแทรกซ้อนที่ผู้หญิงควรระวัง  VIEW : 766    
โดย 4876

UID : ไม่มีข้อมูล
โพสแล้ว : 1
ตอบแล้ว :
เพศ :
ระดับ : 1
Exp : 20%
เข้าระบบ :
ออฟไลน์ :
IP : 104.248.148.xxx

 
เมื่อ : เสาร์ ที่ 11 เดือน มกราคม พ.ศ.2563 เวลา 21:30:14   

 ติดเชื้อ แบคทีเรียในช่องคลอด กับโรคแทรกซ้อนที่ผู้หญิงควรระวัง
โดย จิดาภา ติยะสิริทานนท์
ทบทวนบทความโดย ทีม Hello คุณหมอ
ติดเชื้อ แบคทีเรียในช่องคลอด กับโรคแทรกซ้อนที่ผู้หญิงควรระวัง
การติดเชื้อแบคทีเรียในช่องคลอด (Bacterial vaginosis) เป็นการติดเชื้อในช่องคลอดที่ไม่รุนแรง เกิดขึ้นเมื่อแบคทีเรียที่มีอยู่ในช่องคลอดเสียสมดุล แม้การติดเชื้อแบคทีเรียในช่องคลอดจะไม่ใช่การติดเชื้อที่รุนแรง แต่หากไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง ก็อาจนำไปสู่โรคแทรกซ้อนที่อันตรายได้

อย่างไรก็ตาม หากคุณรู้จักสังเกตสัญญาณหรืออาการเบื้องต้นของการ ติดเชื้อ แบคทีเรียในช่องคลอด ก็จะช่วยให้สามารถเข้ารับการรักษาได้ทันท่วงที ลดความเสี่ยงในการเกิดโรคแทรกซ้อนต่างๆ ได้ เพื่อสุขอนามัยของคุณผู้หญิงทุกคนนะคะ

โรคแทรกซ้อนจากการ ติดเชื้อ แบคทีเรียในช่องคลอด
แม้การติดเชื้อแบคทีเรียในช่องคลอดจะพบได้ทั่วไปในผู้หญิงวัย 18-44 ปี แต่หากปล่อยทิ้งไว้ไม่รักษา ก็อาจนำไปสู่โรคหรือภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงบางชนิดได้ เช่น

มีโอกาสติดเชื้อเอชไอวีได้ง่ายขึ้น และเพิ่มความเสี่ยงในการติดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่นเพิ่มขึ้น เช่น โรคหนองในเทียม โรคหนองในแท้
หากเข้ารับการผ่าตัด เช่น การตัดมดลูก การทำแท้ง ก็จะเสี่ยงติดเชื้อหลังผ่าตัดมากขึ้น
เสี่ยงเป็นโรคแทรกซ้อนระหว่างตั้งครรภ์เพิ่มขึ้น เช่น การคลอดก่อนกำหนด ทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อย
เสี่ยงเกิดภาวะอุ้งเชิงกรานอักเสบ ซึ่งเป็นการติดเชื้อที่มดลูกและท่อนำไข่ ที่จะนำไปสู่การมีบุตรยาก
การติดเชื้อแบคทีเรียในช่องคลอด สังเกตได้อย่างไรบ้าง
คุณควรดูแลช่องคลอดเป็นประจำ เพื่อป้องกันไม่ให้ช่องคลอดติดเชื้อ หากคุณมีภาวะเหล่านี้ นั่นแปลว่าคุณมีความเสี่ยงในการติดเชื้อแบคทีเรียในช่องคลอด และควรรีบไปพบคุณหมอทันที ห้ามละเลยเด็ดขาด

ตกขาวผิดปกติ
อาการทั่วไปที่เกิดขึ้นบ่อยที่สุด คือ ตกขาวมีกลิ่น แบคทีเรียในช่องคลอดมักมาพร้อมกับตกขาวสีเทาหรือสีเข้ม บางครั้งคุณอาจพบว่า ช่องคลอดของคุณมีกลิ่นคาวปลา ซึ่งกลิ่นอาจแย่กว่าเดิมหลังจากมีเพศสัมพันธ์ นอกจากตกขาวผิดปกติแล้ว บางครั้งการติดเชื้อแบคทีเรียในช่องคลอดก็อาจทำให้คุณรู้สึกคันในช่องคลอดได้ด้วย

รู้สึกแสบขณะปัสสาวะ
ผู้หญิงบางคนรู้สึกแสบขณะปัสสาวะ ความรู้สึกเจ็บปวดอาจเริ่มตั้งแต่ขณะที่ปัสสาวะ หรือหลังปัสสาวะ หากความเจ็บปวดเกิดขึ้นภายนอกช่องคลอดอาจเป็นเพราะช่องคลอดอักเสบหรือระคายเคืองคันบริเวณด้านนอกช่องคลอด

รู้สึกเจ็บระหว่างมีเพศสัมพันธ์
การติดเชื้อแบคทีเรียในช่องคลอด อาจส่งผลให้คุณรู้สึกเจ็บปวดหรือแสบขณะมีเพศสัมพันธ์ได้ หากคุณรู้สึกเจ็บปวดจนทนไม่ไหว หรืออาการที่เป็นทำให้รู้สึกไม่มีความสุขกับการมีเพศสัมพันธ์ ควรไปโรงพยาบาลเพื่อเข้ารับการวินิจฉัยอย่างเหมาะสม

ค่าความเป็นกรดด่างในช่องคลอดไม่สมดุล
หากช่องคลอดของคุณยังอยู่ในภาวะปกติ จะมีค่าความเป็นกรดด่างหรือค่าพีเอช (pH) อยู่ที่ 3.8 ถึง 4.5 แต่หากค่าความเป็นกรดด่างในช่องคลอดสูงกว่า 4.5 จะทำให้แบคทีเรียชนิดไม่ดีมีโอกาสเจริญเติบโตได้มากขึ้น คุณจึงเสี่ยงติดเชื้อแบคทีเรียในช่องคลอดมากขึ้น

อย่างไรก็ตาม การตรวจไม่ได้ยืนยันว่าคุณเป็นโรคนี้ วิธีที่จะยืนยันได้ดีที่สุดก็คือ การทดสอบการปนเปื้อนจุลินทรีย์ (swab test) แพทย์จะนำตัวอย่างตกขาวไปตรวจเพิ่มเติม

บางครั้งการติดเชื้อแบคทีเรียในช่องคลอดก็ไม่ก่อให้เกิดอาการใดๆ ผู้หญิงบางคนที่ติดเชื้อแบคทีเรียในช่องคลอดอาจไม่พบสัญญาณหรืออาการบ่งชี้อย่างชัดเจน ทำให้ไม่ทราบว่าตัวเองติดเชื้อนี้อยู่ จึงไม่ได้รับการรักษาอย่างเหมาะสม จนกลายเป็นโรคหรือภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ ที่รุนแรงได้ในที่สุด ฉะนั้นหากคุณมีอาการใดๆข้างต้น ควรรีบไปปรึกษาแพทย์ทันที แพทย์จะได้ตรวจวินิจฉัยอย่างถูกต้องและเข้ารับการรักษา

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

อ่านเพิ่มเติม:

โรคติดต่อจากการมีเพศสัมพันธ์ คุณเสี่ยงแค่ไหน กรุ๊ปเลือดอาจบอกได้
8 สิ่งที่ควรทำหลังมี เพศสัมพันธ์ เพื่อสุขอนามัยที่ดีที่คุณไม่ควรละเลย
ช่องคลอดมีกลิ่น ปัญหาจุดซ่อนเร้นกับวิธีรับมือง่ายๆ
ติดเชื้อ แบคทีเรียในช่องคลอด ส่งผลยังไงกับคุณแม่ตั้งครรภ์
Share now :

แจกเครดิตฟรี ไม่ต้องฝาก ถอนได้ 2019
กับเว็บเกมส์ UFABET อันดับ 1 ในเอเชีย